คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ... ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.5-5.7
โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ สำหรับในระยะที่เหลือของปี คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนที่สำคัญคือการเติบโตของรายได้ในภาคเกษตรและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ในขณะที่ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจที่สำคัญคือความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 เมษายน 2551)
เส้นทางเศรษฐกิจและโอกาสในการเชื่อมโยงโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่ากรอบความร่วมมือ GMS เป็นโอกาสสำคัญสำหรับไทยในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ โดยเฉพาะในเส้นทาง R3A และ R9 อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจ GMS ยังมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาด้านกฎระเบียบ ปัญหาการขาดศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 มีนาคม 2551)
ความเหลื่อมล้ำของรายได้...อุปสรรคต่อความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในสังคมไทยเป็นเรื่องสำคัญที่อาจทำให้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ และยังอาจนำไปสู่ปัญหาสังคมและคุณภาพชีวิตในที่สุด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 มีนาคม 2551)
โครงการ 12.26 ล้านล้านบาทของรัฐบาล … ประเด็นความท้าทายด้านการคลัง
โดยสรุปแล้ว เมื่อพิจารณาถึงแผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะข้างหน้า ในขณะที่ การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายเงินตามกรอบที่วางไว้ที่อาจจะไม่สามารถจะครอบคลุมหรือชดเชยภาระทางการคลังได้ทั้งหมด ในขณะที่ รัฐบาลเองก็เผชิญกับข้อเรียกร้องให้พิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 มีนาคม 2551)
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอ...ความเสี่ยง Stagflation เพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation อาจทำให้การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของเฟดเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 12 มีนาคม 2551)
เศรษฐกิจไทยหลังรัฐบาลใหม่ ... ความคาดหวังและประเด็นที่ต้องติดตาม
ภาพรวม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 โดยประเมินว่า ปัญหาราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2551 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.7-4.0 เศรษฐกิจไทย อาจขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยมีค่ากลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.6 และมีช่วงกรอบประมาณการระหว่างร้อยละ 4.0-5.2
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 25 กุมภาพันธ์ 2551)
ย้อนรอยภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ...ไทยเตรียมรับมือ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดการเงินจะต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดเนื่องจากปัญหาความไร้เสถียรภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังค่าเงินดอลลาร์ฯ ตลอดจนตลาดการเงินอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 4 กุมภาพันธ์ 2551)
จับตาเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตซับไพร์ม
ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ บรรยายพิเศษ เรื่อง "จับตาเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตซับไพร์ม" โดยกล่าวถึงแนวโน้มและทิศทางการปรับตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการเคลื่อนไหวของเงินทุนในโลกที่มีผลต่อตลาดเงินและตลาดทุนไทย
(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4 กุมภาพันธ์ 2551)