ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ ... ตอกย้ำภาวะเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย
การปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือในรอบนี้นั้น มีสาเหตุหลักมาจาก ความยืดเยื้อของปัญหาทางการเมืองในประเทศ โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่ต้องจับตาเป็นพิเศษในระยะถัดไป คือ ฐานะของภาคต่างประเทศ (การส่งออก ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน ตลอดจนฐานะทางการคลังของรัฐบาล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 4 ธันวาคม 2551)
ไพร์มเมอริกาจัดการประชุม ASPF I & ASPF II
ไพร์มเมอริกา จัดการประชุม ASPF I & ASPF II (Asia Funds Partners’ Meeting) ณ โรงแรมโอเรียลเต็ล โดยมี ดร.สมศจี ศิกษมัต จากธนาคารแห่ง ประเทศไทย ให้เกียรติเข้าร่วมบรรยายสรุปภาพรวมทิศทางของเศรษฐกิจไทย
(โอเอซิส มีเดีย, บจก. 30 พฤศจิกายน 2551)
ธนาคารแห่งประเทศไทย บ่งชี้เศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงแรงกว่าคาดในไตรมาส 4/2551
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งด้านการลงทุนและการบริโภคอาจยังคงซบเซาต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาการเมืองในประเทศและความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมาก
(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1 ธันวาคม 2551)
ผลกระทบจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ต่อแรงงานไทยในอุตสาหกรรมการผลิต
จากผลกระทบของวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลทางอ้อมต่อการส่งออก เศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปี 2552 อัตราการว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2 – 2.6 หรือคิดเป็นจำนวนคนว่างงานประมาณ 8.5 แสนถึง 1 ล้านคน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 พฤศจิกายน 2551)
สูญญากาศนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ... รอความชัดเจนหลังบารัค โอบามาเข้ารับตำแหน่ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงช่วงก่อนการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายบารัค โอบามาและสมาชิกสภาคองเกรสชุดใหม่นั้น ตลาดการเงิน อาจยังคงต้องเผชิญกับความผันผวนในระดับสูง เนื่องจากไม่สามารถคาดหวังได้ว่า จะมีการเร่งผลักดันมาตรการ/นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญออกมาในช่วงสูญญากาศนี้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 พฤศจิกายน 2551)