TMB ตามหลังคู่แข่งอยู่ 2 ก้าว เสียงแข็งดี DBS ไม่คิดครอบงำ
"แบงก์ทหารไทย"(TMB) เชื่อผู้คนคงเข้าใจและไม่คิดว่าทุนสิงคโปร์ "ดีบีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง"ที่ถือหุ้น 16%จะเข้าครอบงำ โลโก้ที่ก่อตั้งมาโดย 3 เหล่าทัพ ยอมรับหลังรีแบรนดิ้งองค์กร ยังอยู่ห่างคู่แข่งอย่าง แบงก์กรุงศรีฯและเคแบงก์ตระกูล K ฮีโร่ถึง 2 ก้าว ขณะที่ปี 2549 เตรียมเทงบไปกับการปลุกปั้น "อิมเมจ" แบงก์ทหารไทยให้ทันสมัยและมีสีสัน....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มีนาคม 2549)
"HSBC"ออกสตาร์ทรับเงินฝาก กวาดเรียบฐานลูกค้าระดับกลาง-บน
HSBC เปิดเกมตลาดเงินฝากปล่อยแคมเปญ "บัญชีเงินฝากทันใจ"อีกนวัตกรรมที่ใช้การจ่ายดอกเบี้ยเร็วเป็นลูกเล่นสำคัญในการดึงฐานลูกค้าระดับกลางถึงบน และเป็นการย้ำถึงแบงก์ที่ให้บริการครบวงจร หลังจากภาพลักษณ์ที่ผ่านมาหนักไปทางบริการด้านบัตรเครดิต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
รัฐบาลใช้แบงก์เฉพาะกิจจนเพี้ยน ธอส.ดอกเบี้ยแพงสุด หวั่น ธ.ก.ส.ซ้ำรอย
รัฐใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเต็มสูบ หลังแบงก์กรุงไทยสะดุด เปิดทางทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ หวั่นหากเกิดปัญหาหนีไม่พ้นเอาเงินภาษีประชาชนอุด ขณะที่โครงสร้างเริ่มเปลี่ยน ธอส.กลายเป็นแบงก์ที่ดอกเบี้ยกู้บ้านลอยตัวสูงสุด ขัดหลักการส่งเสริมคนมีรายได้ปานกลาง-น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เกรงเข้าสูตรยิ่งจนยิ่งจ่ายแพง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
"TMB BANK"ล้อเริ่มหมุน ถอดเครื่องแบบทหาร-ขรก.หัวเก่า
กระบวนการควบรวมระหว่าง 3 สถาบันการเงิน คือ IFCT ธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุ คือสาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกรรมแทบทุกอย่างของ TMB แบงก์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของ "ธนาคารทหารไทย"ต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว แต่ล้อก็เริ่มจะหมุนได้อีกครั้งในวัยครบรอบวันเกิด 48 ปี เพียงแต่จะต่างกันตรงที่ ปีนี้ "ทหารไทย" ได้จัดฉลองวันเกิด พร้อมๆไปกับการ "รีแบรนดิ้ง" รื้อภาพลักษณ์แบงก์สามเหล่าทัพโลโก้คนหัวเก่า แล้วสวมภาพลักษณ์ใหม่ที่หลายคนก็คาดไม่ถึง...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
ไทยธนาคารหนุนประหยัดพลังงาน ต้นทุนสำคัญที่กัดกินภาคธุรกิจ
การประหยัดและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น กลายเป็นเรื่องที่ได้ยินค่อนข้างมากในช่วงนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญของต้นทุนพลังงานที่แนวโน้มทะยานขึ้นสูงจนคาดเดาได้ยากว่าจะหยุดอยู่ที่ใด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น และบางแห่งที่รับรู้ผลกระทบได้รวดเร็ว ได้เตรียมการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการประหยัดพลังงาน หรือหาวิธีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในระยะยาว และเป็นที่มาของสินเชื่ออนุรักษ์พลังงาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
จากถนนลูกรังสู่เส้นทางลาดยาง BTเปิดรับทุนนอกเสริมเขี้ยวเล็บ
เส้นทางเดินของไทยธนาคารเมื่อ 5 ปีก่อน ไม่ได้ต่างอะไรไปจากถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อแห่งอุปสรรคของการเดินทาง ทำให้การก้าวไปข้างหน้าแต่ละครั้งต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่ถึงวันนี้ หลุมบ่อแห่งถนนลูกรังกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นถนนลาดยางหลังจัดการกับCAP หมดสิ้นภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ธนาคารเดินหน้าได้เต็มสูบ ขณะเดียวกันก็ปรับผังองค์กรรองรับแผนธุรกิจ และเจรจาหาผู้ร่วมทุนใหม่เสริมความแข็งแกร่งไทยธนาคาร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
Customer Centric Bank
การแข่งขันของธนาคารในอดีตไม่ได้มีการใช้กลยุทธ์ที่หวือหามากนัก นอกจากชูจุดขายในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย โดยไม่ได้มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ หรือมีบริการอะไรที่จะตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า ประกอบกับธนาคารเองให้ความสำคัญกับลูกค้ารายใหญ่มากกว่า ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย นอกจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ารายใหญ่ หมั่นออกเยี่ยมเยียนลูกค้าบ่อยๆ ก็เท่านั้นเอง แต่ภายหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารหลายราย ทำให้ลูกค้าเหล่านี้ชะลอการใช้จ่าย และหลังปี 2540 ลูกค้ารายใหญ่ที่มีฐานะทางการเงินที่ดีต่างพากันเร่งคืนเงินกู้ให้กับธนาคารเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่สูงถึง 16% ในช่วงเวลานั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
เบื้องหลัง-เบื้องลึก กำเนิด K-Heroes
มีสักกี่คนที่รู้ว่า KHeroes หรือ ยอดมนุษย์ตัวเขียวของธนาคารกสิกรไทยที่โลดแล่นอยู่บนจอแก้วในขณะนี้จะมีที่มาจากเด็กชายตัวเล็กๆที่เป็นลูกของเสี่ยปั้น-บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
โบรกฟันธงหุ้น KBANK 85 บาท
หลังจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2540 รัฐบาลได้เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสถาบันการเงินด้วยการเพิ่มสำรองหนี้จัดชั้นแต่ละประเภท ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งมีภาระที่ต้องออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุนมาใช้ในการตั้งสำรอง ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต่างมุ่งจัดการกับปัญหาหนี้ที่เกิดจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หลังจากนั้นความเคลื่อนไหวในเชิงธุรกิจของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็เงียบหายไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
เฮดจ์ฟันด์สหรัฐฯบุกเอเชียกันใหญ่
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า มีกองทุนเฮดจ์ฟันด์สหรัฐฯจำนวนเพิ่มมากขึ้น กำลังออกตั้งหลักแหล่งในต่างแดน โดยเฉพาะแถบเอเชีย ในช่วงที่อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์ซึ่งกำลังเติบโตเต็มที่แล้ว มีการแผ่ขยายตัวออกสู่ทั่วโลกมากขึ้น อีกทั้งมองหาโอกาสนอกหนือจากตลาดอเมริกา เพื่อพยายามเพิ่มผลตอบแทนซึ่งกำลังเรียวเล็กลง ตามรายงานของสมาชิกในแวดวงนี้หลายคนระบุว่า วาณิชธนกิจ แบร์ สเติร์นส์ กำลังวางแผนเปิดกองทุนมูลค่า 450 ล้านดอลลาร์เพื่อลงทุนในบรรดาเฮดจ์ฟันด์ซึ่งชำนาญพิเศษในตลาดเอเชีย โดยจะจัดสรรเงินกว่าครึ่งหนึ่งเข้าไปในญี่ปุ่น และก็เล็งเป้าที่จีนกับอินเดียด้วย หรือตอนสิ้นเดือนที่แล้ว เทรมองต์ แคปิตอล กองทุนใหญ่ที่มุ่งลงทุนในกองทุนอื่นๆ โดยมีเงินอยู่ในพอร์ตบริหารถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นรายล่าสุดที่ประกาศว่าจะเปิดออฟฟิศในฮ่องกง เพื่อให้บริการแก่ตลาดในย่านริมแปซิฟิกซึ่งกำลังเติบโต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)