อสังหาฯ พังพาบ รัฐหมดน้ำยางัดตำราเก่าสู้
เมื่อภาวะการเมืองไทย และราคาน้ำมันในตลาดโลก ตกอยู่ในห้วงของความไม่แน่นอน แต่อสังหาริมทรัพย์ไทยก็ยังคงชะลอตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่ำถึงขีดสุด มีการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ปีนี้อยู่ที่ 4-4.5% เท่านั้น และอาจจะมีการลดต่ำลงกว่านี้ แม้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงแล้วก็ตาม แต่ปัจจัยหลายด้านก็ยังไม่กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในการลงทุนเท่าที่ควร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
"ธอส."ฉีกภาพ"แบงก์ข้าราชการ"ยกเครื่ององค์กรขึ้นเทียบชั้นเอกชน
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่ "ธนาคารอาคารสงเคราะห์"(ธอส.) จะสลัดคราบความเป็น"แบงก์ข้าราชการ" ขึ้นไปยืนเทียบเคียง "แบงก์เอกชน"ได้ จะว่าด้วยสถานะที่ต่างกันก็ไม่เชิง โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการที่แบงก์ยุคใหม่นี้ถือเป็นไม่เด็ดของการแข่งขันเลยทีเดียว เทียบกับ"ธอส."แล้วก็ไม่ต่างจากเต่าที่ไล่ตามกระต่าย ซึ่งนั่นหมายความว่า หากเต่ายังไม่ลดละความพยายาม...สักวันคงตามทันและอาจก้าวนำไปข้างหน้าได้ ส่วนตอนนี้เต่าจะมีชะตากรรมอย่างไร....คงต้องขึ้นอยู่กับ "ขรรค์ ประจวบเหมาะ"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 กุมภาพันธ์ 2550)
ขุดราก"ธอส."ค้นหาประชานิยมไร้ประโยชน์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อ้อมแอ้มไม่ชี้ชัดโครงการประชานิยมที่ควรโละ ยังมั่นใจว่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะบ้านเอื้ออาทรช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยได้จริง แต่โครงการดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในนโยบายประชานิยมเท่านั้น ยังคงมีหลายนโยบายที่ ธอส. สนองให้กับรัฐบาลชุดเก่า และบางเรื่องถึงกับต้องเฉือนเนื้อตัวเอง แต่ขณะนี้ยังไม่มีโครงการที่จะเสนอยุบเลิก แม้ "ขุนคลัง" ได้เปิดโอกาสว่าโละนโยบายเน่าทิ้ง ส่วนดีเก็บไว้และขยายผลใหกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น ด้านผลประกอบการไตรมาส 3 แม้จะออกมาไม่สวยหรู กำไรหดแต่เมื่อไม่ขาดทุนก็พอใจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
ธ.ก.ส.-ธอส.เข้าตาจนเฉือนเนื้อเลือดสาดใบสั่ง"โยกเงินฝากรัฐ"อุ้มลูกหนี้"พูดง่ายทำยาก"
เมื่อหนทางการโยกเงินฝากของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ 2 ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ อย่าง "ธ.ก.ส."และ"ธอส.จะกลายเป็นภาพเลือนรางลงทุกที แต่ด้วยภาระหน้าที่ทำให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเอง แม้เลือดในตายังไม่กระเด็นแต่ก็พอมีแผลให้รู้สึกเจ็บๆ คันๆ เพราะเงินกองทุนที่รัฐหวังว่าจามารถโยกเข้ามาได้นั้นถูกปิดกั้นจากข้อผูกมัดที่มิอาจดึงเงินดังกล่าวมาใช้ได้ง่าย ๆ ทำให้ธนาคารเฉพาะกิจรัฐทั้ง 2 แห่ง ต้องพึ่งพาลมหายใจตัวเองเป็นหนทางสุดท้ายที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
รัฐบาลใช้แบงก์เฉพาะกิจจนเพี้ยน ธอส.ดอกเบี้ยแพงสุด หวั่น ธ.ก.ส.ซ้ำรอย
รัฐใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเต็มสูบ หลังแบงก์กรุงไทยสะดุด เปิดทางทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ หวั่นหากเกิดปัญหาหนีไม่พ้นเอาเงินภาษีประชาชนอุด ขณะที่โครงสร้างเริ่มเปลี่ยน ธอส.กลายเป็นแบงก์ที่ดอกเบี้ยกู้บ้านลอยตัวสูงสุด ขัดหลักการส่งเสริมคนมีรายได้ปานกลาง-น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เกรงเข้าสูตรยิ่งจนยิ่งจ่ายแพง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
บสก.จ้องเสียบบริหารหนี้ธอส.หลังคว้า NPLs 5,000 ล้านบาท
ธอส.เปิดทางมืออาชีพบริหาร NPLs 29,000 ล้านบาท หลังโละหนี้ 2 กอง เกือบ 5,000 ล้านบาท ด้านบสก.ขานรับเล็งรับบริหารหนี้ธอส. รอแก้พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ 2541ผ่านสภาฯ หลังครม.ไฟเขียว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 ธันวาคม 2548)
ธอส.แชมป์ดอกเบี้ยกู้บ้าน
นับเป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 2 เดือนที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสำหรับผู้ขอกู้บ้านขยับขึ้นไปที่ 7% มีผลตั้งแต่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้ซื้อบ้านที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการเดียวกันอย่างธนาคารพาณิชย์รายใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤศจิกายน 2546)
ดอกเบี้ยกู้บ้าน ธอส.แซงหน้าแบงก์พาณิชย์ ลูกค้าลอยตัวรับกรรมจ่ายแพงกว่า0.5%
ดอกเบี้ยบ้านพ่นพิษภายในกันยายนเดือนเดียว ธอส.ปรับขึ้น 0.5% ส่งผลดอกเบี้ยกู้โดดไปที่ 6.75% สูงกว่าแบงก์พาณิชย์อยู่ 50 สตางค์ ส่งผลลูกหนี้ ธอส.ต้องจ่ายแพง-เป็นหนี้นานกว่า เหตุต้นทุนสินเชื่อแพงกว่าแบงก์ทั่วไป ผู้ที่ยังต้องผ่อนบ้านอยู่อาจจะรู้สึกแปลกใจว่า ใบเสร็จรับเงินที่แจ้งมาในช่วง 1-2 เดือนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าภายในรอบ 30 วัน ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เบ็ดเสร็จผู้กู้ต้องแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 0.5%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)