หยุด!สัมพันธ์ประกันภัยสั่นคลอนธุรกิจทั้งระบบ
เริ่มจากต้นตอ คำสั่งยุติการขาย "ธนสินประกันภัย" เมื่อต้นปีของกรมการประกันภัย ข้ามมาถึง การเข้าควบคุม "สหประกันชีวิต" ขุมทรัพย์ของบรรดากลุ่มสหกรณ์ จนผ่านมาถึง การสั่งหยุดขายชั่วคราวของ "สัมพันธ์ประกันภัย" ในช่วงเวลาเพียง 4 เดือน หลังจากนั้น ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตทั้งระบบก็ถูกสั่นคลอนฐานราก เพราะผลจากการขาดความเชื่อมั่น....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 สิงหาคม 2550)
"ประกันชีวิตไทย-เทศ"เจรจาสงบศึกสมานฉันท์เบรกจ่ายค่าต๋งองค์กรอิสระ
ธุรกิจประกันชีวิตโลกตะวันออก และทุนตะวันออก เปิดโต๊ะ"เจรจาสงบศึก"ชั่วคราว ผนึกกำลังภายในเบรกจ่ายค่าต๋ง "องค์กรอิสระ" หน่วยงานที่จะเข้ามามีบทบาทแทน "กรมการประกันภัย" ในอนาคตชนิดถึงลูกถึงคน ตั้งคำถาม ปัญหาคือ ใครสมควรจ่าย?..." ....ฝ่ายธุรกิจ หรือ ฝั่งผู้บริโภค.... เดินเกมวิ่งเต้นต่อรองเฮือกสุดท้าย ก่อนจะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ท้ายที่สุดบทสรุปคือ ผู้บริโภคก็ต้องจ่ายทั้งขึ้นทั้งล่อง...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กรกฎาคม 2550)
"สุจินต์ หวั่งหลี"หมวกใบเก่าบนเก้าอี้เดิมขับเคลื่อน"ประกันภัย"เผชิญหน้าโลกเสรี
เมื่อโลกหมุนไปตามวงล้อ "โลกาภิวัตน์" ธุรกิจประกันวินาศภัย ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในโลก "ยุคไดโนเสาร์" จำเป็นต้องปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ สมาคมประกันชีวิตถึงกับมองว่า ความเจริญของสังคมนิยมวัตถุ คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ เกิดคดีฟ้องร้องจนเกือบจะท่วมศาล ขณะเดียวกัน กลุ่มคน "หัวหมอ" หรืออาชีพทนายความก็ผุดเป็นห่าฝน ประกันวินาศภัยยุคนายกสมาคมคนใหม่ "สุจินต์ หวั่งหลี" จึงต้องเผชิญหน้ากับสภาพตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กรกฎาคม 2550)
สงครามชิงพื้นที่ประกันชั้น3+1เดือดสร้าง"ทางเลือก"ให้เป็น"ทางรอด"
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3+ 1 พิเศษเริ่มระบาด "ธุรกิจประกันภัย" เข้าแถวยาวเหยียดทยอยปล่อยสินค้าใหม่ ที่มีหน้าตาไม่ต่างจากประกันชั้น 1 สู่ตลาด หลังสัญญาณเตือนมาร์จิ้นรถป้ายแดงถอยหลังลงคลอง ยอดขายรถใหม่ดิ่งนรก สงครามช่วงชิงอาณาเขตประกันภัยรถใหม่เดือดยิ่งกว่า "ทะเลเพลิง" ขณะที่ผู้บริโภคต่ออายุน้อยลง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ...การหันมา "ปักธง" สินค้าใหม่ประกันภัยชั้น 3+1 พิเศษราวกับนัดหมายกันไว้ จึงเป็นทั้งการสร้างทางเลือกและโอกาสรอดไปพร้อมๆกัน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 มิถุนายน 2550)
"ธนชาตประกันภัย"ออกนอกรั้วยืมมือแบงก์ขยาย"เบี้ยรถยนต์"
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่ "ธนชาติประกันภัย" ไม่เคยทำตลาดประกันภัยรถยนต์โดยลำพัง ส่วนใหญ่จะตัดพอร์ตจากธุรกิจ เช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มก้อนเครือ "แบงก์ธนชาต"เป็นหลัก แต่ก็มีสัดส่วนเพียง 40% ส่วนที่เหลือจะเป็นการ "ล็อคสเป็ค" ของค่ายรถยนต์ ในขณะที่แบงก์ต่างๆก็หันมาเปิดเคาท์เตอร์ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ด้วยตนเอง ทำให้สงครามรบพุ่งประกันภัยในช่วงหลังๆต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไป โดยเฉพาะธนชาตประกันภัยจากที่เคยผูกติดเฉพาะตลาดเช่าซื้อของแบงก์ธนชาต มาเป็นการกระโดดออกนอกรั้วรอบขอบชิดที่ปิดกั้นตลาดของธนชาตประกันภัยไปด้วยในตัว โดยมีสาขาแบงก์เป็นตัวผลักดัน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 เมษายน 2550)
เมืองไทยประกันชีวิตพึ่ง"ธ.ก.ส."สานกลยุทธ์ต่อยอดตลาดรากแก้ว
สำหรับ"เมืองไทยประกันชีวิต"การคบ"ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร" (ธ.ก.ส.) เป็นพันธมิตร ดูจะกลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง ด้วยสามารถแทรกซึมความรู้การทำประกันชีวิตลงสู่ฐานรากแก้วผ่านองค์กร พนักงานของ "ธ.ก.ส." ที่ชาวรากแก้วให้ความไว้วางใจ ถือเป็นความโชคดีในระยะยาวสำหรับการเจาะตลาดขนาดใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
"ไอเอ็นจีประกันชีวิต"โฟกัสสินค้าบำนาญ
"ไอเอ็นจีประกันชีวิต" วิเคราะห์แนวโน้มประกันชีวิตคงขยายตัวไม่ถึง 6% โดยส่วนใหญ่ผู้คนจะหันไปทำประกันสุขภาพ และออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณอายุมากขึ้น เชื่อมีเม็ดเงินจำนวนมากที่พร้อมจะไหลไปในจุดที่ให้ดอกผลและผลตอบแทนดี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
"เอเอซีพี"พลิกตำราประกันชีวิต
"อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต" หรือ "เอเอซีพี" น่าจะเป็นเพียงไม่กี่รายที่สร้างตลาดและแบรนด์ผ่าน "โมเดลการขาย" ที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากเจ้าอื่นๆ เริ่มต้นจากใช้พอร์ตลงทุนเป็นตัวทำตลาดผ่านสินค้าที่ทำให้น่าสนใจ ไม่มีการใช้งบลงทุนไปกับการโฆษณา แต่จะใช้วิธีจ่ายคอมมิชชั่นตัวแทนจนไม่มีใครจะปฏิเสธได้ลง หรือการเปิดช่องทางขายใหม่ๆ ผ่านรูปแบบการขายไม่ซ้ำแบบใคร โดยไม่แคร์ว่าต้องเกาะกลุ่มพันธมิตรเพียงฝั่งเดียวเหมือนในอดีต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
รอปาฏิหาริย์เพิ่มลดหย่อนภาษี3แสน
นายกสมาคมประกันชีวิต "สาระ ล่ำซำ" ออกแรงผลักดันเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจาก 50,000 เป็น 300,000 เทียบเท่าธุรกิจกองทุนเต็มกำลังไล่หลังเพื่อนบ้านที่วิ่งไปไกลหลายก้าว ยอมรับคนส่วนใหญ่เริ่มมองเห็นการซื้อประกันชีวิตเป็นการบริหารค่าใชจ่าย ของชนชั้นระดับกลางถึงบน ขณะที่ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตใต้ร่มแบงก์เร่งเครื่องหนัก กระตุ้นการขยายตลาดอัตราสูง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)