ประกันครึ่งปีแรกโตต่อเนื่อง
ในปี 2553 ธุรกิจประกันภัยจะสามารถเติบโตได้ทั้งในด้านเบี้ยประกันภัยรับ สินทรัพย์ และเงินกองทุน โดยเบี้ยประกันภัยรับของธุรกิจประกันภัยจะสามารถเติบโตได้ประมาณ 15% โดยเป็นเบี้ยประกันภัยประมาณ 423,158 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กันยายน 2553)
เบอร์รองไล่ล่าผู้นำแบงก์แอสชัวรันส์ งัดเงินฝากควบประกันเจาะทุกเซกเมนต์
ความได้เปรียบด้านช่องทางการขายของบริษัทประกันที่อยู่ในเครือเดียวกับธนาคาร ด้วยการขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ และนโยบายของแบงก์ในยุคนี้ที่หันมาเน้นการหารายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้นจากเดิมที่เน้นรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยเป็นหลัก ทำให้เราได้เห็นการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้นของธุรกิจประกัน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ สิงหาคม 2553)
เปิดโรดแมปเอเชียประกันภัย พลิกประกันสู่สินค้าสะดวกซื้อ
เส้นทางเอเชียประกันภัยพิชิตเป้า 3,000 ล้านปี 54 เดินกลยุทธ์ต่อเนื่องหนีคู่แข่งเจาะตลาดน่านน้ำสีคราม เปิดตัวกรมธรรม์ “กันชน” จ่ายค่าซ่อม 1 แสน อุดช่องว่างประกันชั้น 3 เดิมที่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี เร่งยกเครื่องระบบ-ช่องทางขายครั้งใหญ่ กระจายหน้าร้านสู่ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 สิงหาคม 2553)
สัญญาณดอกเบี้ยเริ่มขยับ ฉุดธุรกิจประกันชะลอตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ชะลอตัวลง 14.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับในช่วง 4 เดือนแรกที่เติบโต 17.1% จากปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากการหดตัวของธุรกิจใหม่ในเดือน พ.ค. จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองมากกว่าที่คาด ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในเดือน มิ.ย. 2553 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวด้วยเลขสองหลักอีกครั้ง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 สิงหาคม 2553)
แบรนด์“เมืองไทยประกันชีวิต”ถมทุกพื้นที่ว่างสีบานเย็น ประกาศศักดิ์ดาผ่าน“บอลลีกไทย”
นอกจากจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดอย่าง เร็ว แรง “สาระ ล่ำซำ” ยังไม่ยอมตกกระแสหลังจับสัญญาณได้ว่า “บอลลีกไทย” กำลังเป็นเทรนใหม่มาแรงในสังคมไทย และด้วยเหตุนี้จึงนำ แบรนด์ “เมืองไทยประกันชีวิต”เข้าสนับสนุนสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษเมืองไทย กับทีม "อีสานกูปรีอันตราย" แน่นอนจากนี้ไปทั้งชื่อ “เมืองไทยประกัน”หรือสีชมพูบานเย็นประจำองค์กรแห่งนี้ก็จะผงากอยู่ในสนาม ฟุตบอล และอัฒจันทร์ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เป็นอีกยุทธศาสตร์ของถมพื้นที่ว่างให้เต็มไปด้วยแบรนด์ขององค์กรแห่งนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 มีนาคม 2553)
"แบงก์-ประกันชีวิต"ธุรกิจน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าจับคู่สร้างพันธมิตรดีกว่าหัวเดียวกระเทียมลีบ
เป็นกระแสที่เกิดขึ้นมาพักใหญ่และยิ่งชัดเจนมาขึ้นกับการที่ แบงก์และภาคประกันภัยต่างจับคู่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน เพราะเป็นการตกลงในผลประโยชน์ที่ได้ทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายแบงก์ได้ค่าธรรมเรียม ฝ่ายประกันภัยเพิ่มช่องทางขายสินค้า ขณะเดียวกันฐานลูกค้าจากสองธุรกิจยังสามารถขยายผลใปสู่การนำเสนอสินค้าทางการเงินที่หลากหลายได้ ล่าสุด
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กุมภาพันธ์ 2553)
จุดเปลี่ยนธุรกิจประกันวินาศภัย แข่งขันแรงทั้งการตลาดและสินค้า
ตลาดประกันวินาศภัยยุคใหม่ต่างจากเดิม การแข่งขันรุนแรงทั้งด้านการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในสังคมวง กว้าง ขณะเดียวกันก็พยายามสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่การออกสินค้าที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม หรือการทำสินค้าให้เป็นแพคเกจเพื่อง่ายต่อการซื้อ
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 ตุลาคม 2552)
เอเชีย'ขุมทรัพย์'ของ'นิวยอร์คไลฟ์'ยึดหลักปักฐานเก็บกินผลผลิตยาว
'นิวยอร์คไลฟ์' บริษัทประกันชีวิตสัญชาติของพญาอินทรี ยึดหลักปักฐานมั่นในภูมิภาคเอเชียอย่างไม่คิดถอยทัพกลับดินแดนถิ่นเดิม หลังหว่านพืชหวังผลไว้นานโดยเฉพาะในประเทศไทยที่ตอนนี้ดอกผลกำลังงอกเงยออกมาจนเห็นเป็นรูปธรรมให้บริษัทแม่จากต่างแดนได้เริ่มเก็บเกี่ยว ขณะที่อินเดีย นิวยอร์คไลฟ์กระโจนเข้าไปลงทุนเป็นอีกประเทศ เพราะเห็นศักยภาพสูง ทั้งกำลังซื้อและจำนวนประชากร ปัจจุบันแม้จะยังไม่คืนทุนให้ผู้หว่านพืชก็ตาม แต่ระยะยาวรับรองผลว่าได้กำไรชัวร์
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กันยายน 2552)