แบรนด์“เมืองไทยประกันชีวิต”ถมทุกพื้นที่ว่างสีบานเย็น ประกาศศักดิ์ดาผ่าน“บอลลีกไทย”
นอกจากจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดอย่าง เร็ว แรง “สาระ ล่ำซำ” ยังไม่ยอมตกกระแสหลังจับสัญญาณได้ว่า “บอลลีกไทย” กำลังเป็นเทรนใหม่มาแรงในสังคมไทย และด้วยเหตุนี้จึงนำ แบรนด์ “เมืองไทยประกันชีวิต”เข้าสนับสนุนสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษเมืองไทย กับทีม "อีสานกูปรีอันตราย" แน่นอนจากนี้ไปทั้งชื่อ “เมืองไทยประกัน”หรือสีชมพูบานเย็นประจำองค์กรแห่งนี้ก็จะผงากอยู่ในสนาม ฟุตบอล และอัฒจันทร์ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เป็นอีกยุทธศาสตร์ของถมพื้นที่ว่างให้เต็มไปด้วยแบรนด์ขององค์กรแห่งนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 มีนาคม 2553)
'เมืองไทยประกันชีวิต'เดินยุทธศาสตร์ครึ่งปีหลัง เตรียมกองทัพสีชมพูตีตลาดกลุ่มลูกค้าสูงอายุ
กองทัพสีชมพูของ 'เมืองไทยประกันชีวิต' เริ่มเดิมยุทธศาสตร์ในครึ่งปีหลังเพื่อกระตุ้นยอดขาย ด้วยการส่งกรมธรรม์คุ้มครองโรคร้ายเอาใจลูกค้าสูงวัยโดยเฉพาะ ขณะที่แม่ทัพใหญ่ 'สาระ' เผยที่มาของโครงการ 'เมืองไทย สูงวัย สบายใจ' เพราะเห็นสัญญาณว่าปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม Aging Society หนึ่งยุทธศาสตร์ครึ่งปีหลังกองทัพสีชมพูจึงพุ่งเป้าไปยังลูกค้าสูงอายุ สำหรับภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไตรมาส 2ยังขยายตัวต่อเนื่อง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 สิงหาคม 2552)
ประกันชีวิตแข่งโชว์สเต๊ปเร่งขยายฐานลูกค้าตีคลาดสุขภาพหลังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน
ตลาดประกันชีวิตครึ่งปีหลังยิ่งคึกคัก หลังจับทางความต้องการลูกค้าถูกจุด เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญความเสี่ยงด้านสุขภาพรอบด้านอีกเพียบจากโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ ล่าสุดไข้หวัดใหญ่2009 ที่ระบาดไปทั่วโลกจนสร้างความตื่นกลัวต่อทุกสังคม งานนี้ 'เมืองไทยประกันชีวิต' และ 'เอไอเอ'เล่นเกมรุก เพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ให้ลูกค้าเมื่อป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ด้าน 'เอเอซีพี' เปิดตัวครึ่งหลังด้วยแบบประกันชีวิตสำเร็จรูป มั่นใจโดนทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่วนพรูเด็นเชียล ออกแผนออมสั้น จุดเด่นคุ้มครองโรคร้ายแรง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 มิถุนายน 2552)
"เมืองไทยฯ"พลิกยุทธศาสตร์ล้อเศรษฐกิจ แต่งทีม"ซูเปอร์เอเจนซี่"โกยเบี้ยทุกตลาด
"เมืองไทยประกันชีวิต" ปรับกลยุทธ์ล้อไปกับภาวะเศรษฐกิจ ผ่าตัด ทีมผู้บริหาร จับกุม"หัวใจ"หลักของธุรกิจประกันชีวิตยุคใหม่ รองรับสารพัดช่องทางหลากหลาย ไม่จำกัดขอบเขตพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย โฟกัสการจัดแต่งทีม "ซูเปอร์ เอเจนซี่" ที่จะมีถึง 20,000 ชีวิตในปีนี้ ลงคลุกตลาดทุกกลุ่ม ตั้งแต่ บน ลงล่าง นับจากชนชั้นรากหญ้า ไปจนถึงกลุ่ม "ไฮเอนด์" เพื่อรองรับการเปิดตลาด สินค้าลงทุน "ยูนิต ลิงค์" คู่ต่อสู้ที่จะปะทะสินค้าแบงก์ และกองทุนรวมโดยตรง ประเดิมเปิดตัวช่วงไตรมาส 2 ปีนี้...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กุมภาพันธ์ 2552)
จุดเปลี่ยน"สถาบันการเงิน"ลูกค้าทวงถามหาความมั่นคง
"อาฟเตอร์ช็อก" วิกฤตการเงินอเมริกา ลุกลามทั่วโลก กลายเป็นบทเรียนและจุดเปลี่ยนสถาบันการเงิน ลูกค้าทวงถาม "ความมั่นคงทางการเงิน" กับภาคธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงภาคการธนาคาร ที่กำลังถูกจับตาความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะแบงก์ที่มีหุ้นส่วนใหญ่เป็นทุนอิมพอร์ตจากต่างชาติ ต้องยื่นหน้าออกมาชี้แจงฐานะการเงินและสภาพคล่องเป็นรายตัว ผ่านสื่อทุกแขนง...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2551)
เปิดกระเป๋านับเม็ดเงินธุรกิจประกันชีวิตไตรมาสแรกขยายตัวสวนทางเศรษฐกิจ
แง้มกระเป๋าธุรกิจประกันชีวิตไตรมาสแรก นับเม็ดเงินขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.69% มีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 51,201.2 ล้านบาท ขณะที่ เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ อยู่ที่ 14,704.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.75% สวนทิศเศรษฐกิจชะลอตัว เหตุผลปัจจัยหลักมากจากธุรกิจประกันชีวิตโดยรวมได้ปรับโฉมเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ดึงดูดใจลูกค้าและ การพัฒนาสินค้าใหม่ๆให้ตรงกับความต้องการ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มิถุนายน 2551)
"เมืองไทยประกันชีวิต"ปักธงรบ ย้ำโล้โก้ "ความสุข"ที่จับต้องได้
มุมมองและความกล้าที่จะคิดนอกกรอบกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของแบรนด์"เมืองไทยประกันชีวิต" ไปแล้ว แถมยังใช้จุดต่างจากส่วนนี้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการวางแผนรบเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาด ที่แม้วันนี้ยังคงเหลือพื้นที่ในการแย้งเค้กอีกมากก็ตาม แต่องค์กรแห่งนี้ก็มิได้หยุดยั้งที่จะปฏิบัติการเชิงรุกเร่งเครื่องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ด้วยการโชว์จุดเด่นเรื่อง "ความสุข" เป็นที่ตั้ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 มกราคม 2551)
เมืองไทยประกันชีวิตพึ่ง"ธ.ก.ส."สานกลยุทธ์ต่อยอดตลาดรากแก้ว
สำหรับ"เมืองไทยประกันชีวิต"การคบ"ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร" (ธ.ก.ส.) เป็นพันธมิตร ดูจะกลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง ด้วยสามารถแทรกซึมความรู้การทำประกันชีวิตลงสู่ฐานรากแก้วผ่านองค์กร พนักงานของ "ธ.ก.ส." ที่ชาวรากแก้วให้ความไว้วางใจ ถือเป็นความโชคดีในระยะยาวสำหรับการเจาะตลาดขนาดใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)