ถอดรหัส Make THE Difference : TMB
จุดเด่นของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ นอกจากโดดเด่นชวนให้คนดูติดตามในแต่ละตอน ว่าเด็กๆเหล่านี้เขาจะตั้งทีมฟุตบอลขึ้นมาได้อย่างไร พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคอะไรบ้าง และในที่สุดพวกเขาบรรลุฝันที่วางไว้หรือไม่ สิ่งสำคัญ คือ ข้อความ Make THE Difference
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มีนาคม 2554)
TMB เพิ่มมิติบัญชีเงินเดือน ขยายแชร์ฐานลูกค้ารายย่อย
ในตลาดเงินฝากธนาคารทั้งระบบ กว่า16 ล้านบัญชีของเป็นบัญชีเงินฝากของเหล่าบรรดาลูกจ้างและข้าราชการที่เปิดไว้กับธนาคารเพื่อใช้รับเงินเดือน ขนาดของตลาดดังกล่าวที่ยิ่งใหญ่มหาศาล แต่กลับยังไม่มีผู้เล่นรายใดลงมาทำตลาดนี้อย่างจริงจัง กลายเป็นโอกาสของทีเอ็มบีที่จะใช้ผลิตภัณฑ์บัญชีเงินเดือนรูปแบบใหม่เป็นบันไดไปสู่การต่อยอดทำ Cross-selling
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ธันวาคม 2553)
ทีเอ็มบีต่อยอดกลยุทธ์ค่าต๋ง “บุฟเฟต์” เพิ่มแพ็คเก็จเหมาจ่ายเจาะรายกลาง
จากยุทธศาสตร์ “การชูผลิตภัณฑ์เป็นตัวนำ” เพื่อมุ่งไปสู่การเพิ่มจำนวนฐานลูกค้า ยังคงเป็นลูกเล่นที่นักการตลาดแห่งทีเอ็มบีนำมาใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ ของธนาคารอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางของทุกผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวออกมาตั้งอยู่บนโจทย์ที่ “แหวกกรอบ”
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ตุลาคม 2553)
ทหารไทย-CIMB อุดช่องโหว่ลูกค้าหายงัดโปรโมชั่นดูดลูกค้า'ฟรี-ดอกเบี้ยสูง'
2 แบงก์กลางเปิดฉากดูดลูกค้ากลับ งัดโปรโมชั่นแรงล่อใจ แบงก์ทหารไทยเน้นฟรีค่าธรรมเนียมและบริการ ส่วน CIMB จับบัตรเงินฝากบวกอนุพันธ์ล่อใจดอกเบี้ยอาจได้ถึง 5.35% นักการเงินแนะหากมีความพร้อมก็คุ้มค่า แต่ถ้าทำตามเงื่อนไขไม่ได้ต้องชั่งใจให้ดี โดยเฉพาะของฟรีที่ขอสิทธิเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้ง
(ASTVผู้ัจัดการรายสัปดาห์ 8 มิถุนายน 2552)
“TMB”กางตำรารบภายใต้เงา“ING” เปิดศึกทำสงครามชิงฐานลูกค้ารายย่อย
นับครั้งแรกของแบงก์ทหารไทยที่จะลงมาเล่นตลาดรายย่อยอย่างจริงจัง โดยมีแบ๊คอัพใหญ่ของกลุ่มพลังสีส้ม“ไอเอ็นจี” เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ตั้งแต่การจัดวางกองกำลังจนกระทั่งกำหนดแผนยุทธศาสตร์พิชิตส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจการเงิน ซึ่งภายหลังจากที่จัดแถวองค์กรแห่งนี้จนเข้ารูปเข้ารอยแล้ว แบงก์ทหารไทยภายใต้เงาไอเอ็นจีก็พร้อมสำหรับการลงทำศึกใหญ่เพื่อช่วงชิงพื้นที่ตลาดลูกค้ารายย่อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 เมษายน 2552)
TMBใต้เงาสิงโตINGติดเทอร์โบ"รีเทล แบงกิ้ง"
"ธนาคารทหารไทย" ภายใต้เงา "สิงโตสีส้ม" ค่าย ING กรุ๊ป จากเนเธอร์แลนด์ ปรับภูมิทัศน์ พลิกมิติจากแบงก์ สัญลักษณ์ "ท็อปบูท" มาเป็น ติดเครื่องยนต์เทอร์โบ ลงสนามแข่ง "ฟอร์มูล่า วัน" เร่งรายได้จากฝั่ง "รีเทล แบงกิ้ง" ผ่าน "ไอเอ็นจีประกันชีวิต" และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน "ไอเอ็นจี" ไล่ตามหลังแบงก์อื่นที่ ล่วงหน้าไปนานจนแทบไม่เห็นฝุ่น....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤษภาคม 2551)
"คลัง"เปิดช่องหาเงินถม"ทหารไทย" "ไอเอ็นจีกรุ๊ป"ส่งทูตทาบทามแบงก์
เหมือนเสี่ยงตายเมื่อ"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"เดินเข้าพบ "รมว.คลัง"เอ่ยปากสนใจเข้าถือหุ้น"ทหารไทย"แบงก์ที่ถมเงินเท่าไรก็ไม่เต็ม แถมยังมีปัญหาการเมืองภายในองค์กรหลุดรอดให้กังวลเป็นระยะ แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่ประเด็นที่ "สิงโตส้ม"จากเนเธอร์แลนด์วิตก เมื่อเทียบผลและประโยชน์อันพึงได้กลับมาเมื่อลงทุนในแบงก์ทอปบูทแห่งนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 สิงหาคม 2550)
โศกนาฏกรรม“แบงก์ทหารไทย”ผู้ถือหุ้น “พิฆาต”บอร์ดบริหาร
คงสุดทนกับแผนบริหารจัดการ“แบงก์ทหารไทย”ที่ไม่เคยสักครั้งสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น ถึงกับทำให้รายย่อยเกิดอาการบันดาลโทสะระเบิดอารมณ์กลางเวทีประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประหนึ่งการลงดาบหวังผลทำลายล้างบอร์ดบริหารที่ปฏิบัติงานไม่ได้ดั่งใจ ผลงานขาดทุนสะสมอย่างไรก็เป็นเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีกำไรจากการดำเนินงานแต่ยังไม่มากพอยาไส้ แถมแผนล้างหนี้ยังถูกตีกลับ ยิ่งทวีความไม่พึงใจให้รายย่อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 พฤษภาคม 2550)
ปฏิบัติการสิงโตทะเล-"คลังกามิกาเซ่" "ห้ามเลือด" แบงก์ทหารไทย
แบงก์สัญลักษณ์ "ท็อปบูท" กลายเป็นเพียงแบงก์เดียว ที่เลือดยังไหลนองพื้นไม่หยุด และการปฏิบัติการพลีชีพด้วยการเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง "ผู้ถือหุ้นใหญ่" ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เพื่อเข้าโอบอุ้มตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีทีท่าจะไปตลอดรอดฝั่ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)
เศรษฐกิจซบเซาแต่ภาคการเงินไม่เซื่องซึมสมรภูมิช่วงชิงฐานลูกค้ารายย่อยยังดุเดือด
เศรษฐกิจที่มีกลิ่นอายของความเซื่องซึมมิได้ลดอุณหภูมิการแข่งขันของภาคการเงินให้เย็นลงแต่ประการใด...ความร้อนแรงดุเดือดในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดโดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อยยังดำเนินต่อไปภายใต้โอกาสที่ไม่เอื้ออำนวยนัก แต่ถึงกระนั้นทุกสถาบันต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้คู่แข่งเข้ามาช่วงชิงเค้กของตน....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)