โตโยต้าผงาด “TAQA Award 2008”
โตโยต้าคว้ารางวัลยานยนต์ยอดนิยมส่งท้ายปี ด้วยการเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคทั้งกลุ่มผู้ใช้รถใหม่ และ การบริการหลังการขาย หลังผลสำรวจชี้ชัดคะแนนความพึงพอใจสูงลิ่ว ด้วยการซิว 7 รางวัลจาก 11 รางวัล TAQA Award 2008 หรือธุรกิจยานยนต์ยอดนิยม มากกว่าทุกแบรนด์รถยนต์ที่ถูกสำรวจ ส่วน 4 รางวัลที่เหลือ เชฟโรเลต, บีเอ็มดับเบิลยู, อีซูซุ และ ฟอร์ด แบ่งกันไปค่ายละรางวัล
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 พฤศจิกายน 2551)
แปลงสูตรลัด 4 องค์กร ผลิตคนเปี่ยมความสุข
*Healthy Organization รอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากพนักงานสร้างได้อย่างเห็นผล
*"Toyota Way." พื้นฐานความรักแบบตะวันออกพร้อมผลิบานทุกมุมโลก
*"ซีพี ออลล์" ปูทางคนรุ่นใหม่ผ่านครอบครัวปัญญาภิวัฒน์ ด้าน "SCG" วางเส้นทางโกอินเตอร์
*"สมบูรณ์" กรุยทางธุรกิจวางคุณสมบัติพนักงาน Head , Heart , Heands on , Guts
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กันยายน 2551)
“พลังงานทางเลือก” จุดเปลี่ยนเกมค่ายรถ มะกัน-ญี่ปุ่นใครจะคว้าชัยในเวทีใหม่
- การแข่งของค่ายรถภายใต้ “หัวรบ” ใหม่ จะส่งให้ผู้ตามกลายเป็นผู้นำได้หรือไม่
- เชฟโรเลต – โตโยต้า – ฮุนได บุกก่อน ค่ายมาทีหลังจะรับมืออย่างไร
- “พลังงานทางเลือก” อาจจุดชนวนให้โครงสร้างการแข่งขันเปลี่ยนหมด เมื่อคนสนใจความประหยัดมากกว่าแบรนด์
- ใครออกรถป้ายแดงให้อดใจอีกนิด ปลายปีรถประหยัดพลังงานมีให้เลือกตรึม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 สิงหาคม 2551)
ปาเจโร ระเบิดลูกใหม่ ทิ้งบอมบ์คู่แข่งข้ามสายพันธุ์
*-มิตซูบิชิ เดินหมากเด็ดด้วยกลยุทธ์ Cross Segment
*-ปูทางขยายฐานลูกค้ารับ มิตซูบิชิ ปาเจโรสปอร์ตใหม่
*-โตโยต้า ชิ่งตลาด PPV เพิ่มรุ่น-ออปชั่น ข้ามไปกินเค้กก้อนเดียวกับฮอนด้าซีอาร์วี-เชฟโรเลต แคปติวา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 สิงหาคม 2551)
หวั่นพิษน้ำมันฉุดปิกอัพดิ่งเหวค่ายรถงัด Peer to Peer ดึงลูกค้า
พิษราคาน้ำมันแพงกระทบชิ่งตลาดรถปิกอัพเมืองไทย ส่งผลให้ยอดขายรวมรถในเซ็กเมนท์นี้ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 0.7% สถานการณ์เดียวกันกับช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ทำเอาอีซูซุค่ายรถยนต์รายใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์ปิกอัพเพียงอย่างเดียวต้องปรับกลวิธีการตลาดดันยอดขายยกใหญ่ ทั้งการใช้ยุทธ์วิธี Peer to Peer หรือการให้ลูกค้าหาลูกค้า และสื่อสารการตลาดในเรื่องประสิทธิภาพความประหยัดของเครื่องยนต์คอมมอนเรล อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2551)
Yaris Me-ทีด้า ลาติโอ กลยุทธ์การปรับตัวของมวยรอง
รถยนต์มวยรองปรับตัวรับศึกหนัก โตโยต้ายาริส ฟุ่งเป้าจับตลาดวัยรุ่นถาวร ด้วยกลยุทธ์ Co-Creative ดึงวัยรุ่นมีส่วนร่วมออกแบบ WRAP ตัวรถ หลังโปรเจ็กต์ออกแบบเบาะนั่งประสบความสำเร็จ หวังต้านความแรงของฮอนด้า แจ๊สใหม่ ในตลาดคอมแพ็กต์คาร์ ส่วนทีด้า ซีดาน มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าครอบครัว ด้วยการใช้ Emotional Function ในสมรภูมิรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2551)
Celebrity War โตโยต้าสวนปลายคางอีซูซุ
*ศึก 2 คู่ฟัดตลาดปิกอัพอัดกันมันหยด เมื่ออีซูซุส่ง 4 หนุ่มถล่มหวังทวงบัลลังก์แชมป์คืน
*โตโยต้าบ่ยั่น ใช้กลยุทธ์ Celeb Testimonial เกทับขย่มคู่แข่ง
*จับตามวยยกนี้ใครเป็นฝ่ายกำชัยระหว่างเพลงเพื่อชีวิต กับลูกทุ่ง-สตริง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 พฤษภาคม 2551)
กลยุทธ์การตลาด: Yaris Me โตโยต้าทำ Mass Customize
สงครามรอบใหม่ของรถขนาดเล็กรุ่นเริ่มต้นกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ...วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวโตโยต้ายาริส รุ่นเจ เกียร์ธรรมดา ราคาเริ่มต้นที่ 524,000 บาท ส่วนเกียร์อัตโนมัติต้องเพิ่มเงินอีกประมาณคันละ 35,000 บาท พร้อมกันนี้ได้จัดรายการส่งเสริมการขาย และกิจกรรมทางการตลาด ภายใต้แนวคิด “ยาริส มี” Yaris Me เป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาด ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมการตลาด ที่สะท้อนถึงความโดดเด่นเป็นพิเศษของยาริส อย่างไร?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 มีนาคม 2551)
ตัวต่อตัว:วีออสVSซิตี้ ซีร์เอ็กซ์ศึกนี้โตโยต้ากำชัยเหนือคู่แข่งหลายขุม
โตโยต้า วีออส และฮอนด้า ซิตี้ ซีร์เอ็กซ์ เป็นคู่หนึ่งที่น่าสนใจของตลาดรถยนต์ เนื่องจากเป็นรถในกลุ่มคอมแพ็กต์ มีราคาค่าตัวระดับ 5-6 แสนบาท เป็นรถยนต์นั่งสำหรับกลุ่มคนที่พึ่งเริ่มทำงาน จนถึงมีรายได้ปานกลาง เมื่อเทียบแบบตัวต่อตัวของทั้ง 2 รุ่น เซ็กเมนท์นี้โตโยต้ากินตลาดแบบขาดลอย โดยในปีที่ผ่านมา ทำยอดขายมากกว่าฮอนด้าราวๆ 3 เท่าตัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 มีนาคม 2551)
CAR FOCUS: ยุทธวิธี การตลาด
สิ่งที่โหดร้ายที่สุดของสังคมมนุษย์ในอดีตคือ สงคราม หมายถึงการยกพหลพลโยธาเข้าห้ำหั่นกันตรงๆ ฝ่ายใดที่ตกตายมากกว่าหรือเสียขวัญเสียกำลังใจมากกว่า ก็จะเป็นฝ่ายยอมแพ้พ่ายแก่คู่ต่อสู้ ฝ่ายที่ชนะก็จะสามารถกระทำการต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ ทั้งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันนานมา หรือจะตราการกระทำขึ้นมาใหม่ย่อมขึ้นอยู่แก่ใจของฝ่ายชนะ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)