"สุขภาพ" ตลาดพันล้าน
ความสุขของคนเราอย่างหนึ่งก็คือ การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังประจำตัว
โดยทั่วไปแล้ว ในยามที่ร่างกายปกติก็มักจะไม่ค่อยมีใครเห็นคุณค่าในเรื่องนี้เท่าไรนัก
จนกว่าจะล้มป่วยลงนั่นแหละ จึงจะรู้ซึ้งถึงพุทธภาษิตที่ว่า "อโรคยา
ปรมา ลาภา"
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536)
"เฉลิม หาญพาณิชย์ ทำ รพ. ชานเมือง "ต้องใหญ่เท่านั้นจึงจะรอด"
ในวัย 37 ปีวันนี้หลายคนอาจจะเพิ่มเริ่มต้นชีวิตธุรกิจโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสายวิชาชีพบริการสาธารณสุข
แต่สำหรับหมอเฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการและแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์
เริ่มจะประสบความสำเร็จกับกิจการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ที่บากบั่นต่อสู้มานานกว่า
8 ปีจนสามารถขยายกิจการออกมาเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองคือโรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
ขายระบบบริหารโรงพยาบาลธุรกิจใหม่ของ รพ.สำโรงการแพทย์
บทเรียนจากการบริหารงานที่ล้มลุกคลุกคลานในอดีตของโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่ทำให้ผู้บริหารโรงพยายาลแห่งนี้เกิดแนวความคิดที่สร้างระบบการบริหารงานที่ลงตัวแล้วในปัจจุบัน
ให้เป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับโรงพยาบาลด้วยการให้บริการที่ปรึกษาด้านการวางระบบบริหารโรงพยาบาล
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534)
สมชาติ โลจายะ "หมอโรคหัวใจที่มีหัวทางการบริหาร"
อาชีพการเป็นหมอ มีเสน่ห์หอมหวานมากสำหรับสังคมไทย ในฐานะเป็นอาชีพที่สามารถไต่เต้าบันไดฐานะทางสังคมได้รวดเร็วกว่าอาชีพอื่นๆ
เหตุนี้ทำให้หมอกลายเป็นคนที่มีความสามารถทางวิชาชีพและบุคลิกภาพสูงมากๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534)
หุ้นโรงพยาบาลมีความเสี่ยงน้อย แต่ราคาไม่หวือหวา
ผลพวงของภาวะสงครามในอ่าวเปอร์เซีย ได้เริ่มแสดงออกมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
จากฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานงวดสิ้นสุดปี 2533 ของบริษัทจดทะเบียนและรับอนุญาตที่ได้ทยอยรายงานมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งปรากฏว่า ส่วนใหญ่จะมีตัวเลขกำไรสุทธิลดต่ำลงมากกว่าที่เคยทำได้ในปี
2532 แทบทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2534)
ต่อต้านร.ร.แพทย์รังสิตยกระบบแพทย์พาณิชย์จะเฟื่องฟูเข้าอ้าง
วิทยาลัยรังสิตเป็นเอกชนเจ้าแรกที่เปิดสอนคณะแพทย์จึงถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกรรมการบางท่านในแพทย์สภา
กรอบเหตุผลของการต่อต้านอยู่ที่ ความหวั่นเกรงในระบบแพทย์พาณิชย์จะเฟื่องฟู
เป็นอันตรายต่อประชาชน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการผลิตแพทย์ที่กำลังขาดแคลนของเอกชน จริง ๆ แล้วเรื่องนี้อยู่ที่ต่างกันในการคิดมากกว่าประเด็นด้านกฎหมาย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532)
รพ.สยาม VS. บีโอไอ
บริษัทการแพทย์สยาม ในฐานะผู้บริหารโรงพยาบาลสยามได้มอบหมายให้สำนักงานทนายความคนึง-ปรก
แอสโซซิเอทเป็นผู้ดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) เป็นเงิน 100 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530)
โรงพยาบาลสยามธุรกิจเยียวยาที่คนถึงเครื่องมือเพียบ
โรงพยาบาลแห่งนี้เริ่มต้นด้วยความยากลำบาก ขาดเงินทุน ทำเลที่ตั้งไม่ใช่ย่านชุมชนหากแต่เป็นท้องทุ่งชานกรุงเทพฯ
แต่ก็มีแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความตั้งใจที่เด็ดเดี่ยวในการพัฒนาคนและเครื่องมือทางการแพทย์
อย่างไม่หยุดนิ่ง และสิ่งนี้จริง ๆ ที่ทำให้ผงาดขึ้นมาให้บริการคนไข้ได้อย่างน่าเลื่อมใส
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529)
โรงพยาบาลลานนาไทย 10 ปีแห่งความพยายามสร้างชื่อ
การประกวดผลงานการตลาดดีเด่นประจำปี 2528-2529 ที่ผ่านมานั้นปรากฏผลออกมาว่า “โรงพยาบาลลานนา” โดยบริษัทเชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด เป็นผู้คว้ารางวัลที่ 1 ประเภทสินค้าบริการไปอย่างเฉียบขาดจากโปรเจกต์ที่ร่วมเข้าประกวดแข่งขันอีก 3 ราย มี “โครงการบริการซักเสื้อผ้า”
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2529)