ถึงเวลาปรับเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนไทย
ท่ามกลางวิกฤติการเงินของโลกที่เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้างแล้ว นอกจากการทยอยปิดตัวลงของกิจการส่งออกจำนวนไม่น้อย เราเริ่มเห็นภาพนักท่องเที่ยวระดับสูงตามเมืองท่องเที่ยวลดลงมากกว่าครึ่งอย่างชัดเจนและส่อเค้าย่ำแย่ลงไปอีกจนถึงสิ้นปี แน่นอนว่าย่อมส่งผลโดยตรงต่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ในหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552)
Core Banking เทคโนโลยีที่เต้นผิดจังหวะของ ธอส.
ผู้จัดการโครงการ บริษัทอินโฟซิส เทคโนโลยี จำกัด ต้องขนทีมงานมาทำงานใกล้ชิดกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากที่ระบบ Core Banking ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงประสิทธิผลในการทำงาน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551)
ภารกิจแรกใน ธอส.
นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนภารกิจที่ขรรค์ ประจวบเหมาะ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
คือการเก็บกวาดขยะที่คั่งค้างอยู่ในธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545)
จบศึกภาคแรกใน ธอส.
ในที่สุดสงครามที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 ปีในธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระหว่างสิริวัฒน์ พรหมบุรี อดีตกรรมการผู้จัดการ กับศักดา ณรงค์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการก็จบลง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543)
เครดิต อินชัวรันส์ ทางสว่างธุรกิจอสังหาฯ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กำลังศึกษาแนวทางปล่อยสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เครดิต อินชัวรันส์ หรือในอเมริกาเรียกว่ามอร์ทเกท อินชัวรันส์ (Mortage Insurance) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะสามาระให้วงกู้ได้สูงกว่า 80% ของมูลค่าการซื้อขาย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543)
ระวัง! ระเบิดเวลาในธอส.
สิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ถูกกระหน่ำซัดด้วยข้อร้องเรียนและข้อกล่าวหาในเรื่องของการทุจริตมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา
1 ปีเต็มของการขึ้นไปรับตำแหน่ง ถึงแม้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ศึกแย่งเก้าอี้ภายในจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เรื่องบานปลายขึ้น
แต่บางเรื่องที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องก็มีความเป็นไปได้ จนต้องยอมรับว่า สิริวัฒน์เป็นผู้บริหารที่กำลังถูกจับตามองมากที่สุดรายหนึ่งในปี
2541
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
ใครจะเป็นเบอร์ 1 ในธอส. คนต่อไป
คนใน ธอส. รู้กันดีว่าสงครามแย่งตำแหน่งเก้าอี้ ใน ธอส. นั้นเปิดฉากอย่างชัดเจนเมื่อครั้ง
สิทธิชัย ตันพิพัฒน์ อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนาคารอาคาร สงเคราะห์เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง
เมื่อปี 2539 ในช่วง เวลานั้นมีรองกรรมการผู้จัดการ 4 คนที่มีสิทธิขึ้นไปนั่ง
ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทนคือ ประดับ ธัญญคุปต์, ศักดา ณรงค์, สิริวัฒน์
พรหมบุรี และกรองสิญจน์ กนิษฐสุต
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
จับตามอง สิริวัฒน์ พรหมบุรี
สิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการธนาคารสงเคราะห์กำลังรับศึกใหญ่ๆ อยู่หลายด้าน
ที่ชัดๆ ก็คือจะบริหารพอร์ตสินเชื่อเพื่อการเคหะ ที่มีวงเงินนับแสนล้านบาทไม่ให้กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพได้อย่างไร
ในช่วงเวลาที่ความสามารถในการชำระหนี้ของคนลดลงอย่างรวดเร็ว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)
ธอส.ช่วยด้วย!
ธนาคารเล็กๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นขวัญใจคนยาก และในหลายปีก่อนได้ก้าวกระโดดขึ้นเป็นที่พึ่งสำคัญของคนเคยรวยด้วยนั้น
มาในปี 2541 มีการตั้งเป้ากวาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งตลาดที่คาดว่าจะมีอีกประมาณ
1 แสนล้านบาทเข้าไว้ในพอร์ตฯ ดังนั้นมาตรการบริหารสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์
เพื่อให้หนี้เสียน้อยที่สุด รวมทั้งกลยุทธ์ต่างๆ ในการหาแหล่งเงินเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืนอยู่ต่ำกว่าอัตราในตลาด
จึงยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างน่าสนใจ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541)