"มังกรพลัดถิ่น กอร์ดอน วู ฤาจะพาโฮปเวลล์สิ้นหวังที่เมืองไทย"
พลันที่สุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแถลงผลงานในรอบ 6
เดือนที่ผ่านมาหลังการเข้ารับตำแหน่ง สิ่งที่ดูเหมือนเป็นความภูมิใจของรัฐมนตรีหนุ่มผู้นี้ก็ตรงที่
สามารถเร่งรัดโครงการระบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่จากโครงการที่หลายคนแทบจะสิ้นหวังอย่าง
"โฮปเวลล์" ได้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
พันธบัตร 900 ล้านบาทของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2517 แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ 2535 ในสมัยของนายก อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งได้มีการก่อตั้ง "องค์การรถไฟฟ้ามหานคร" หรือ "รฟม." ขึ้น เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
แนวเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร
แนวเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครทั้งหมดจะอยู่ใต้ดิน โดยเริ่มต้นจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปตามแนวถนนพระราม 4 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรัชดาภิเษกที่สี่แยกคลองเตย ตัดลอดถนนสุขุมวิท ไปตามแนวถนนอโศกถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้ายไปทางถนนลาดพร้าว ผ่านสถานีขนส่งหมอชิต เลี้ยวขวาไปตามถนนกำแพงเพชร สิ้นสุดที่สถานีรถไฟบางซื่อ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
"ไมโครแคช" ทางเลือกใหม่ของคนกรุง
ปัจจุบัน ผู้ที่ใช้บริการรถไมโครบัสคงจะทราบดีว่า การให้บริการบนรถนั้นเพียบพร้อมแค่ไหนทั้งมีทีวีดูแก้ง่วง หนังสืออ่านแก้รถติดเพื่อแลกกับค่าบริการจำนวน 30 บาท นอกจากนี้ ยังมีบริการชำระค่าโดยสารแทนเงินสดในรูปคูปอง ล่าสุด ได้มีบริการใหม่จากไมโครบัสที่อยู่ในรูปกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
ซีทราน-อันดามัน ปริ๊นเซส เจ้าหญิงเหนือไฟใต้น้ำ
เริ่มมีข่าวกระเส็นกระสายมาว่า "ซีทรานปริ๊นเซส" ขาดทุน พัฒนา นายเรือ ผู้รับผิดชอบปฏิเสธ แต่ก็ยอมรับว่า ธุรกิจเรือสำราญกำลังอยู่ในภาวะลำบาก เช่นเดียวกับ "อันดามัน ปริ๊นเซส" ที่ไม่ปฏิเสธความจริงข้อนี้ เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจพาฝันที่มีผู้ประกอบเพียง 2 รายและมีแต่เรื่องสวยๆ
งามๆ ?
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539)
ปฏิรูปรถเมล์ ปฏิบัติการท่าดีทีเหลว
19 ขวบปีที่เกิดองค์กรเช่น ขสมก.ขึ้นมา เพื่อเป็นระบบขนส่งมวลชนของคนจนที่ดีที่สุดเท่าที่จะพอหาได้ในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนให้ องค์กรหลุดพ้นจากภาวะขาดทุนมหาศาล มีการกระทำมานับครั้งไม่ถ้วน รวมถึงการปฏิรูปรถเมล์ ที่เชื่อกันว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาจราจรและลดภาระขาดทุนของขสมก.ได้อย่างชงัดนัก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539)
Fleet View ถึงรถจะเก่าแต่เทคโนโลยีล้ำยุค
เหตุที่ขสมก.ต้องแบกรับภาระขาดทุนอันหนักอึ้งในทุนวันนี้นั้น นอกจากการบริหารงานที่ไร้ทิศทางแน่นอน การขาดวิธีควบคุมเม็ดเงินที่รั่วไหลขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การขาดแนวทางควบคุมการเดินรถให้ใช้รถได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ก็เป็นข้อสำคัญที่ทำให้ขสมก.ต้องมีสภาพเช่นนี้ ด้วยตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว ในสมัยของผอ.ขสมก.คนปัจจุบันจึงได้มีความพยายามแสวงหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาอุดข้อบกพร่องในส่วนนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539)
จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า
ทันทีที่บีทีเอสตอกเสาเข็มต้นแรก เพื่อวางรากฐานราก โครงการ "รถไฟฟ้าธนายง"
ความวิตกกังวลของคนกรุงเทพฯ ก็คือ การจราจรจะต้องถึงจุดวิกฤตแน่ ไม่เพียงเท่านั้น
ยังมีคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะเส้นทางก่อสร้างที่ต้องผ่านสิ่งปลูกสร้างเดิม
ซึ่งแม้แต่บีทีเอส ก็ยังไม่มีคำตอบ ว่าจุดวิกฤตเหล่านั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ชดช้อย โสภณพนิช "เราไม่ได้หวังจะล้มโครงการ"
ท่ามกลางกระแสต่อต้านรถไฟฟ้ายกระดับ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชื่อของสุภาพสตรีผู้มีความเกี่ยวข้องกับแบงก์ใหญ่อันดับหนึ่งของไทยอย่างคุณชดช้อย โสภณพนิช จะต้องเข้าไปแทรกในทุกอณูของข่าวเรื่องนี้ ด้วยความเป็นผู้มีความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาแต่ไหนแต่ไร
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ไต่สวนสาธารณะ มิติใหม่ของการเปิดเผยข้อมูล
การไต่สวนสาธารณะคดีประวัติศาสตร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อองค์คณะผู้พิพากษา ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี และรองอธิบดี เข้าประจำที่องค์คณะได้ชี้แจงเป็นการล่วงหน้าก่อนว่า การไต่สวนเป็นกระบวนการของศาลที่หวังจะให้เกิดการประนีประนอมระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อมิให้คดียืดเยื้อต่อไปในครั้งแรก มีผู้เข้าฟังประมาณ 100 คน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)