วิสิฐ ตันติสุนทร แห่งเอไอเอดาวรุ่งบริหารพอร์ตหมื่นล้าน
ตำแหน่งรองประธานภูมิภาคฝ่ายการลงทุนของวิสิฐ ตันติสุนทร ที่นั่งอยู่บนชั้น
12 ของตึกเอไอเอในประเทศไทย มีภารกิจดูแลครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์การลงทุนที่สำคัญๆ
ที่บริษัทแม่ "เอไอจี" หว่านเม็ดเงินมหาศาลลงไปในธุรกิจดั้งเดิมด้านประกันชีวิตและประกันภัย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
"เปิดเสรีประกันภัย 5 ปี ใครแน่ใครอยู่"
นับแต่นี้ไปจะเกิดภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธุรกิจประกันภัยไทยจากความสำเร็จด่านแรก ที่สหรัฐอเมริกาผลักดันให้ไทยเปิดเสรีทางการเงินอย่างครบวงจร… นั่นก็คือ การผลักดันให้กลุ่มประเทศภาคีสมาชิกลงนามตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากร (GATT) ในรอบอุรุกวัยวันที่ 15 ธันวาคม ศกนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536)
"กองทุนประกันภัยตัวเอง กลยุทธ์บริหารเงินปตท."
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นมา การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท.มีหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้นมา
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจพลังงานอันเป็นกิจการหลักของ ปตท.หน่วยงานนี้ก็คือ
กองทุนประกันภัยตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
"ประกันสังคม 2 ปี การเริ่มต้นเพื่อวันหน้า"
ถึงวันนี้ คนไทยจำนวนหนึ่งเริ่มมีความคุ้นเคยกับการมีกฎหมายประกันสังคม
ที่มีอายุครบ 2 ปีเมื่อต้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าระยะเวลา 2 ปีของการใช้กฎหมายฉบับนี้ดูเหมือนว่าจะเป็น
2 ปีแห่งความไม่เข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้ก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
ถ้าไม่เลิกทะเลาะกันภายใน 5 ปีอาคเนย์ฯ พัง ! ? !
ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นระหว่างกลุ่มศรีกาญจนา และกลุ่มพันธมิตรบุญยรักษ์
- นิวาตวงศ์ เพื่อช่วงชิงอำนาจการบริหารที่อาคเนย์ประกันภัย มันเป็นเรื่องความขัดแย้งและการหวาดระแวงในกลุ่มของผู้ถือหุ้นแบบโบราณคร่ำครึตลอดระยะเวลา 4 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534)
เดสมอนด์ ซูลลิแวน ผู้เชี่ยวชาญการประเมินความเสียหาย
มีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่รู้จักธุรกิจรับประเมินความเสียหาย ( loss adjuster)
ด้วยความที่ธุรกิจนี้มีส่วนผูกพันกับธุรกิจประกันภัย หลายคนจึงเข้าใจว่าการประเมินความเสียหายเป็นเพียงงานในหน้าที่
หนึ่งของเจ้าหน้าที่บริษัทประกันแต่สำหรับต่างประเทศธุรกิจนี้ กลายเป็นสถาบันกลางที่มีบทบาทและได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากบริษัทผู้รับประกัน
และประชาชนผู้เอาประกัน แต่ในปัจจุบันธุรกิจนี้กำลังแพร่กระจายเข้ามาในเมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534)
ยักษ์ใหญ่โคโลญฯ รีมาแล้ว ค่าใบอนุญาตไม่ถึงล้านบาท
ธุรกิจทางด้านนายหน้าประกันภัยดูราวกับเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงสักเท่าไหร่แม้ว่าจะมีบริษัทนายหน้าประกันภัยเป็นจำนวนมากถึง
167 แห่ง และมูลค่าของตลาดนี้ถ้าคิดจากเบี้ยประกันก็ตกปีหนึ่งหลายพันล้านบาท
ส่วนค่าคอมมิชชั่น ซึ่งเป็นรายรับของบริษัทนายหน้าฯ ตกราว 200-300 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2533)
เอ.ไอ.เอ
ในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรม มาสู่อุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น เป็นภาวะที่ต้องการเงินทุนอย่างมากสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างสูงไม่วาจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533)
กรุงเทพประกันภัยไม่สะเทือนผลเรือจม
กว่าจะมาเป็นบริษัทประกันภัยอันดับหนึ่งทุกวันนี้ กรุงเทพประกันภัยมีอายุมาแล้ว
40 ปี ด้วยทุนจดทะเบียนแรกสุด 5 ล้านบาท ชื่อว่า "เอเชียพาณิชย์"
ต่อมาในปี 2507 กิจการได้เติมโตมากขึ้นจนต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20 ล้านบาท
ถือว่าเป็นบริษัทวินาศภัยที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุดในขนาดนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)
ประกันภัยเรือไทย "ฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสีย"
เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา สมาคมเจ้าของเรือไทย จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง
"การประกันภัยที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของเรือไทย"
โดยจัดขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียล จุดประสงค์หลักนั้น เพื่อชี้แจงในสาระสำคัญของตัวกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับการประกันภัยของเจ้าของเรือ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)