Biggest Move Biggest Change
ภาพสาขาขนาดย่อมของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่กระจายเป็นสีสันไปตั้งอยู่ตามย่านชุมชนต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า หรือปั๊มน้ำมัน มิเพียงเป็นการสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการ แต่ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดในการทำธุรกิจธนาคาร และพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินของผู้บริโภคครั้งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ของไทยเลยทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549)
แคมเปญ 0% ส่งท้ายปี
ต้องถือว่าช่วงไตรมาส 4 เป็นโค้งสุดท้ายที่เร้าใจ มีสีสันและน่าจับตามองมากที่สุดของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ เพราะปัจจัยลบที่ทยอยปรากฏขึ้นมามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ภาวะขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ย จนถึงตัวเลขเงินเฟ้อ ทำให้ทั้งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินต้องพลิกตำรางัดกลยุทธ์มาใช้เพื่อช่วงชิงลูกค้าให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
ยุทธศาสตร์สร้างเครือข่าย
การแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนจากการใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นสิ่งล่อใจไปสู่การออกสินเชื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็เล็งเห็นถึงเทรนด์นี้และเป็นที่มาของการจับมือกับพันธมิตรเพื่อเจาะตลาดให้ตรงเป้ายิ่งขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548)
ชาลอต โทณวณิก "จาก banker สู่ entertainer"
ไม่ว่าจะเป็นโชค จังหวะ โอกาส หรือฝีมือ "ชาลอต โทณวณิก" ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนภาพใหม่ของธนาคาร ที่เคยได้ชื่อว่าอนุรักษนิยมที่สุด ไปสู่การเปลี่ยนแปลงของความเป็น retail banking ที่สร้างสีสันได้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2547)
GECF ผู้ปลุกสีสันตลาด Consumer Finance
GECF ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เล่นรายแรกที่สามารถกระตุ้นตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในประเทศไทยให้คึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อ 4-5 ปีก่อน และทำให้ตลาดนี้ เป็นเหมือนเค้กกอนใหญ่ที่ดึงดูดผู้เล่นอีกหลายรายให้ต้องกระโจนเข้ามาขอร่วมรับส่วนแบ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547)
Prima Vest ได้เวลาบุก
ในจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา คนส่วนใหญ่จะรู้จักแต่ชื่อของ บลจ.เอเจเอฟ ที่เน้นการทำตลาดเชิงรุก แต่หลังจากนี้ไป ชื่อของ บลจ.พรีมาเวสท์ จะเป็นที่รู้จักของผู้ลงทุนมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2547)
เมื่อธุรกิจขาดเงินทุน AJF ช่วยคุณได้
บทบาทของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะที่สภาพคล่องกำลังล้นแบงก์
นอกจากการออกกองทุนมาดูดสภาพคล่องออกไปแล้ว ยังมีบทบาทอื่นที่ผู้จัดการกองทุนเหล่านี้ยังสามารถเล่นได้อีก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546)
จุดจบแบงเกอร์ไทย โฉมใหม่อุตสาหกรรมธนาคาร
14 สิงหาคม เป็นวันที่หลายคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ แม้จะมีข้าวแพลมออกมาเป็นระยะๆ
เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยตัวเอง
และแนวทางการดำเนินการธนาคาร 4 แห่ง ที่รัฐบาลประกาศเข้ายึดอำนาจการบริหารและการถือหุ้นเมื่อ
23 ม.ค. (ธ.ศรีนคร) และ 6 ก.พ. 2541 (ธ.นครหลวงไทย, ธ.มหานคร และ ธ.กรุงเทพฯ
พาณิชย์การ) แต่ปฏิบัติการจริงๆ เริ่มได้หลังเจรจาปรึกษากับเจ้าที่ไอเอ็มเอฟและเอดีบี
- เจ้าของเงินกู้รายใหญ่ของประเทศไทยตอนนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)