เปิดแผน SCIB ปี 2548
อรุณ จิรชวาลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย เปิดการแถลงข่าวนโยบายธนาคารในปี 2548 ด้วยการบอกว่าธนาคารจะสานต่อแนวทางธนาคารครบวงจร หรือ Universal Bank ที่ทำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาต่อไป เพราะเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องพิสูจน์ได้จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นโดยลำดับ ขณะเดียวกันผู้ลงทุนก็ให้ความเชื่อมั่นในหุ้นธนาคารนครหลวงไทยมากขึ้น ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งจำนวนนักลงทุนก็มากขึ้นด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
อรุณ จิรชวาลา The Journey Man
ไม่น่าเชื่อว่ากว่าที่ อรุณ จิรชวาลา จะได้ก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ตัวจริงของธนาคารนครหลวงไทย เขาได้วนเวียนทำงานอยู่ในแวดวงธนาคารมาแล้วถึง 6 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
เครือข่าย SCIB
ถือเป็นการจัดกระบวนความพร้อมอีกครั้งหนึ่งของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ในการดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบาย Universal Banking เมื่อมีการแนะนำบริษัทในเครือ 4 บริษัท ต่อสื่อมวลชนในงานแถลงผลประกอบการครึ่งปี ที่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
The Real Universal Banking
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์แทบทุกแห่งต่างประกาศตัวกันปาวๆ ว่าจะเบนเข็มไปสู่การเป็น Universal Banking แต่กลับมีธนาคารเพียงไม่กี่แห่งที่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และผู้บริโภคทุกคนสามารถจับต้องได้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
SCIS : Model ใหม่ของธุรกิจหลักทรัพย์
หลายคนอาจสงสัยว่าสาขาของ SCIB จะสามารถถูกใช้เป็นจุดขายให้กับธุรกิจหลักทรัพย์ของ บล.นครหลวงไทย (SCIS) ได้อย่างไร แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต การส่งคำสั่งซื้อหรือขายหุ้นโดยผ่านทางสาขาธนาคาร มิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากอีกต่อไปแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
สาขาแห่งความทันสมัย
การปรับแต่งรูปแบบสาขาใหม่ของ SCIB เริ่มต้นเมื่อปี 2546 โดยเริ่มจากสาขาที่อยู่ในกรุงเทพฯ 120 แห่งก่อน รูปแบบใหม่ดังกล่าว SCIB ได้บริษัท FRCH จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ออกแบบให้ แต่เป็นการออกแบบตั้งแต่สมัยที่ยังไม่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินคือก่อนปี 2540
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
ผู้อยู่เบื้องหลังการ Re-Branding
คำว่า SCIB ในอดีต เคยยอมรับแค่เป็นชื่อย่อบนกระดานหลักทรัพย์ของธนาคารนครหลวงไทย คนที่จะเรียกขานชื่อนี้ ส่วนใหญ่คือนักเล่นหุ้น แต่หลังจากนี้ไป คำดังกล่าวจะถูกใช้ให้เป็นเสมือนแบรนด์ของธนาคารเก่าแก่ที่เพิ่งจะมีอายุครบ 63 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
The Innovative Asset Management
แม้เอ็มเอฟซีจะเป็น บลจ.ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่เป็นจุดที่ได้เปรียบในภาวะที่การแข่งขันกำลังทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างในปัจจุบัน ในวันนี้ เอ็มเอฟซีจึงจำเป็นต้องหาจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นจุดขายของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
ความเสี่ยงของแบงก์ใช่ว่ามีเฉพาะสินเชื่อ
คนส่วนใหญ่ยังคิดว่างานบริหารความเสี่ยงในสถาบันการเงิน มีจุดโฟกัสใหญ่อยู่ที่เรื่องของการปล่อยสินเชื่อ แต่ความจริงในการทำงานทุกกระบวนการล้วนมีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น หลายคนอาจสงสัยเมื่อเห็นผังโครง สร้างการบริหารงานของธนาคารนครหลวง ไทย เพราะในเมื่อได้มีการตั้งฝ่ายบริหารความเสี่ยงขึ้นมาแล้ว ทำไมจึงต้องแยกฝ่าย
บริหารความเสี่ยงสินเชื่อออกมาอีกต่างหาก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546)
วิชิต แสงทองสถิตย์ กับประสบการณ์หลากหลาย
วิชิต แสงทองสถิตย์ ถือเป็นผู้บริหารที่ยังอยู่ในรุ่นหนุ่ม อายุเพียง 41
ปี แต่สำหรับประสบการณ์การทำงานในสถาบันการเงินของเขา ถือได้ว่าสัมผัสกับงานมาแล้วแทบทุกด้าน
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546)