ธนาคาร "ไทย"
สาขาธนาคารกสิกรไทยในเมืองใหญ่ ซึ่งแน่นไปด้วยตึกราม หาไม่ยากอย่างที่คิด นอกจากธนาคารแห่งนี้จะเปลี่ยนโลโกใหม่ เติมวงสีแดงล้อมรอบรวงข้าว ส่งให้มองเห็นแต่ไกลแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่มีความ "พิเศษ" ไม่เหมือนใครที่สังเกตเห็นง่ายที่สุดอีกด้วย.. ธงชาติไทย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
วิกฤติการณ์ภัทรธนกิจ กับบัณฑูร ล่ำซำ
ในวันแถลงข่าวเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 ธนาคารกสิกรไทยประกาศเข้าถือหุ้น 49% ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างยิ่งนั้น ประกอบด้วย บรรยงค์ ล่ำซำ (ประธานธนาคารกสิกรไทย) โพธิพงษ์
ล่ำซำ (ประธานกรรมการภัทรธนกิจ) และวิโรจน์ นวลแข (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารภัทรธนกิจ) โดยปราศจากเงาของ
บัณฑูร ล่ำซำ (กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย)นั้น มีความหมายที่ชัดเจนเป็นที่รู้ๆ กัน 2 ประการ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
โชคดีของบัณฑูร ล่ำซำ
แม้จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยล้ำหน้ากว่าหลายๆ
อุตสาหกรรม แต่แบงเกอร์ชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ ก็ยอมรับว่า เขามีความเฮงหรือโชคดีหลายอย่างในช่วง
6 ปีครึ่งที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคารกสิกรไทย จำกัด
(มหาชน)
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)
"ประเทศเข้าสู่สภาวะสงคราม มันต้องมีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด"
คำพูดข้างต้นฟังดูน่าจะเป็นความเห็นของนักการทหาร มากกว่านักการธนาคารหัวใหม่อย่าง
บัณฑูร ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทย ซึ่งสถานะของธนาคารของเขาในเวลา แม้จะเพิ่มทุนสำเร็จ
แต่หากสถานการณ์โดยรวมของระบบธนาคารและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะ "ควงสว่าน"
ลงทุกวันเช่นนี้ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารอื่นๆ ที่เพิ่มทุนได้แล้ว ก็ไปไม่รอดเหมือนกัน!
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)
"โทนี่และปั้น"
"โทนี่" ในที่นี้คือชาติศิริโสภณพนิชและ "ปั้น" ก็คือบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพและแบงก์กสิกรไทยตามลำดับ ทั้งสองคนนั้นอาจจะถูกมองอย่างริษยาว่าต่างก็เกิดมาบนกองเงินกองทอง เพราะทั้งสองนามสกุลนั้นหลายคนแปลว่า "เงิน" หรือ "รวย"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)
รีเอ็นจิเนียริ่ง กสิกรไทย งานชิ้นเอกของบัณฑูร ล่ำซำ
" รีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่เรื่องคาถาวิเศษ ซึ่งเป่าลงไปแล้วองค์กรนั้นจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่ไม่ดีเป็นดี จริง ๆ แล้ว เรื่องทั้งหมดคือเรื่องของ Management of Change พอลงมือทำแล้วจึงรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นมันวุ่นวายเหนื่อยยาก และเจ็บปวดขนาดไหน ภาพคนที่ทำการปลี่ยนแปลงคือผู้ร้ายไม่ใช่พระเอกขี่ม้าขาว"
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538)
"REENGINEERING กสิกรไทยสู่ธนาคารแห่งศตวรรษใหม่"
2538 จะเป็นปีที่ธนาคารกสิกรไทยครบรอบ 50 ปี เป็นปีที่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเริ่มต้นในปีนี้ภายใต้แนวคิดเรื่อง
"REENGINEERING กระบวนการทำงาน" จะเริ่มปรากฏผล และเป็นปีที่ธนาคารจะเผยโฉมดีไซน์ภายในสำนักงานใหม่ในโทนสีเขียว โดยเฉพาะสาขาของธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครประมาณ 120 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
"บัณฑูรจะทำอะไรต่อไปในแบงก์กสิกรไทย"
การบริหารธนาคารกสิกรไทยที่มีสินทรัพย์ประมาณ 300,000 ล้านบาท เป็นมรดกชิ้นสุดท้ายที่บัณฑูร-ลูกชายคนเดียวของเขา
พร้อมกับจัดการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงในธนาคารแห่งนี้เพื่อกรุยทางให้บัณฑูรบริหารงานอย่างปลอดโปร่งโล่งใจ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535)