นโยบายจับคนผิด "หม่อมอุ๋ย" "ถ้าผมจะทำ ต้องชนะ"
แนวคิดที่แตกต่างกันของผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันกับผู้ว่าคนก่อนเริ่มปรากฏให้เห็นเพิ่มขึ้นอีก
หลังจากที่ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ประเภท 14 วัน จากระดับ
1.5% เป็น 2.5% ไปเมื่อ 3 เดือนก่อน เพื่อให้โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของระบบเป็นรูป
เป็นร่าง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า ธปท.คนใหม่ ในภาวะการเงินที่ล่อแหลม
การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ประเภท 14 วัน จากระดับ 1.5%
เป็น 2.5% ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก ภายหลังการเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 20 ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544)
Inflation Targeting
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลัง "หน้ามืด" มองเห็น Inflation Targeting เป็น "ยาวิเศษ"
ที่จะฟื้นคืนความน่าเชื่อถือของตนเอง (Cre-dibility) หาได้ สำเหนียกว่าความน่าเชื่อถือเกิดจากเหตุปัจจัยนาน
ัปการ มิได้เกิดจากความ สำเร็จในการดำเนินนโยบายเพียงโสดเดียว ในประการสำคัญ
ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายแก้ "ปัญหา" ในสิ่งที่มิได้เป็นปัญหา …
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
Rules of the Game กับการปฏิรูปธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังเร่งรุดปฏิรูปองค์กร ฟื้นคืนความน่าเชื่อถือ (Credibility)
ของตนเอง ทั้งนี้ด้วยการยกเครื่ององค์กร แก้กฎหมาย และปรับบทบาทหน้าที่ โดยที่การจำกัดบทบาทเฉพะด้านการรักษาเสถียรภาพ
ของราคาและการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นคืนความน่าเชื่อถือดังกล่าวนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
แบงก์ชาติแนะนำบริหารเงินส่วนบุคคล
หากเป็นสมัยก่อนที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองและตลาดหุ้นก็ดีวันดีคืนนั้นคำพูดที่ว่า "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" เป็นคำพูด
คุ้นหู ครั้นเศรษฐกิจฟุบคนรวยมีจำนวนลดน้อยลง แน่นอนว่ามีคนหันมาเล่นหวยมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
"ใครว่าแบงก์ชาติไม่ไฮเทค"
เป็นที่สงสัยกันอย่างมากว่าปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติมีความทันสมัยมากน้อยแค่ไหน
เพราะแบงก์ชาติเป็นองค์กรของรัฐ ดังนั้นความทันสมัยนั้นอาจด้อยกว่าองค์กรเอกชน
เรื่องนี้ เสาวณี สุวรรณชีพ ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ซึ่งเข้ามาดูแลด้านเทคโนโลยีให้กับแบงก์ชาติมาประมาณ
20 ปีแล้ว เปิดเผยถึงวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีของแบงก์ชาติว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี
2520 ด้วยเมนเฟรม ที่นำเข้ามาใช้ทำงานในลักษณะที่เป็น Centralize
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ฉีดภูมิคุ้มกันธุรกิจค้าเงิน
ขณะที่การเจรจาเปิดเสรีทางการเงินกำลังจะเปิดฉากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ในฐานะผู้คุมกฎทางการเงินของประเทศได้พยายามวางรากฐานโครงสร้างของสถาบนการเงินไทย
ให้เป็นปึกแผ่นแข็งแกร่งสามารถต้านทานกับการถาโถมเข้ามาของต่างชาติ ซึ่งมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันกว่าไทยหลายเท่าตัว
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
"วิจิตร-เอกกมล" ถอยหลังเป็นหกล้ม!
เพื่อนร่วมอาชีพท่านหนึ่งได้เขียนถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย วิจิตร
สุพินิจอย่างเห็นอกเห็นใจว่า ถูกรุมกระทืบในกรณีที่สั่งปลดเอกกมล คีรีวัฒน์ออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการแบงก์ชาติ
ทันทีทันควันที่ถูกสั่งปลดจากเลขาธิการ ก.ล.ต. โดยสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)