บลจ.กสิกรไทยฉวยจังหวะวิกฤต เสนอแนวคิดกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพ
ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน สัจธรรมที่คนในแวดวงตลาดหุ้นซาบซึ้ง เมื่อมืออาชีพและมือสมัครเล่น
ณ วันนี้บอบช้ำไม่แพ้กัน บลจ.กสิกรไทยปรับนโยบายการลงทุนดูความเสี่ยงอันดับหนึ่ง
ผลตอบแทนค่อยตามมา พร้อมหนุนกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพให้เกิดขึ้น ท่ามกลางภาวะวิกฤตที่ผู้คนต้องการออมระยะยาวเสริมความมั่นใจใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปีละ 3 แสนเป็นแรงดึงดูด
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540)
"โทนี่และปั้น"
"โทนี่" ในที่นี้คือชาติศิริโสภณพนิชและ "ปั้น" ก็คือบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพและแบงก์กสิกรไทยตามลำดับ ทั้งสองคนนั้นอาจจะถูกมองอย่างริษยาว่าต่างก็เกิดมาบนกองเงินกองทอง เพราะทั้งสองนามสกุลนั้นหลายคนแปลว่า "เงิน" หรือ "รวย"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)
รีเอ็นจิเนียริ่ง กสิกรไทย งานชิ้นเอกของบัณฑูร ล่ำซำ
" รีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่เรื่องคาถาวิเศษ ซึ่งเป่าลงไปแล้วองค์กรนั้นจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่ไม่ดีเป็นดี จริง ๆ แล้ว เรื่องทั้งหมดคือเรื่องของ Management of Change พอลงมือทำแล้วจึงรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นมันวุ่นวายเหนื่อยยาก และเจ็บปวดขนาดไหน ภาพคนที่ทำการปลี่ยนแปลงคือผู้ร้ายไม่ใช่พระเอกขี่ม้าขาว"
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538)
"REENGINEERING กสิกรไทยสู่ธนาคารแห่งศตวรรษใหม่"
2538 จะเป็นปีที่ธนาคารกสิกรไทยครบรอบ 50 ปี เป็นปีที่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเริ่มต้นในปีนี้ภายใต้แนวคิดเรื่อง
"REENGINEERING กระบวนการทำงาน" จะเริ่มปรากฏผล และเป็นปีที่ธนาคารจะเผยโฉมดีไซน์ภายในสำนักงานใหม่ในโทนสีเขียว โดยเฉพาะสาขาของธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครประมาณ 120 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
"สนามเป้า : เป้าหมายแรกของ TFB
สาขาถือเป็นหน่วยงานหลักของธนาคาร เป็น OUTLET หรือจุดขาย เป็นตัวหารายได้ให้ธนาคาร
บริการส่วนใหญ่ที่มีให้ลูกค้าคือบริการระบบบัญชีเรื่องเกี่ยวกับเงินฝาก เงินกู้
และบริการต่าง ๆ ที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่นเรื่องบัตรเครดิต
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
กสิกรไทย บริษัท ลูกหนัง จำกัด (มืออาชีพ)
ทีมฟุตบอลของธนาคารกสิกรไทย นับเป็นทีมระดับสโมสรของประเทศทีมแรกที่ได้แชมป์การแข่งขันในระดับนานาชาติ เบื้องหลังของความสำเร็จของทีมคือการบริหารและจัดการที่ใช้หลักการเดียว กับการทำธุรกิจแบบมืออาชีพ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537)
"สมาร์ทการ์ด เงินอิเลคทรอนิคส์"
บัตรเครดิตกสิกรไทยอัจฉริยะ หรือ TFB SMART CARD เป็นบัตรที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิคส์ในรูปของไมโครชิปบรรจุข้อมูล
และรหัสของบัตรแทนการใช้แถบแม่เหล็กที่ติดบนบัตรเครดิตทั่วไป ไมโครชิปจะถูกฝังอยู่มุมซ้ายของบัตร มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1.5 คูณ 1.5 เซนติเมตร ไมโครชิปสีเหลืองทองหนึ่งชิ้นบรรจุหน่วยความจำถึง 8 KB หรือประมาณ 5,000 ตัวอักษร
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2536)
ปีนี้ไม่มี "บัญชา ล่ำซำ"
จากมิถุนายน 2536 อันเป็นวาระขึ้นสู่ปีที่ 49 ของธนาคารกสิกรไทย แต่ปีนี้ไม่มี
"บัญชา ล่ำซำ" อยู่ร่วมชื่นชมความสำเร็จขององค์กรที่เขามีส่วนสร้างขึ้นมากับมือด้วยผู้หนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536)
"ธนาคารกสิกรไทย สาขาพนมเปญ"
กิจการธนาคารในกัมพูชาอีกแห่งหนึ่งที่จะทวีบทบาทมากขึ้นในอนาคตก็คือ ธนาคารกสิกรไทยพนมเปญ
ซึ่งกำลังดำเนินการปรับปรุงบูรณะสำนักงานชั่วคราวอยู่ ขณะนี้ทางธนาคารได้รับอนุญาตให้เข้าไปเปิดสำนักงานถาวรได้แล้ว ทว่ายังต้องรอการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)