ถามคนสงขลา?!
ย้อนรอยทิศทางการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสงขลาตามแนวคิดการผลักดันของรัฐบาลเกือบสิบปีมานี้มีบทกวีชื่อว่า “ถามคนสงขลา” ถูกนำเสนอในรูปแบบการอ่านบทกวีในเวที รวมถึงตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งได้ชี้ประเด็นสอดรับกับ “คณะทำงานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูล สู่การเป็นจังหวัดอตุสาหกรรมหนัก” ที่ว่ารัฐจะยกเอา “มาบตาพุด” และ “สมุทรปราการ” มามอบให้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
“โลจิสติกส์” หรือ “อุตสาหกรรม”?!
การชี้แจงแผนดัน “แลนด์บริดจ์” ของหน่วยงานรัฐที่แยกส่วนโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง รถไฟขนสินค้ารางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ รวมถึงท่อส่งน้ำมัน-ก๊าซข้ามคาบสมุทร ซึ่งเป็นไปแบบให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนและพยายามบิดเบือน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ที่วางไว้พร่ามัวเสมอมา แต่เวลานี้ชาวสงขลา-สตูลทราบดีแล้วว่าระหว่าง “โลจิสติกส์” ข้ามโลกกับ “อุตสาหกรรม” ในพื้นที่นั้น แท้จริงแล้วรัฐบาลต้องการอะไรกันแน่!!
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
จิ๊กซอว์ต่อภาพอนาคต 'สงขลา-สตูล'
เครือข่ายภาคประชาชนที่เพิ่งถูกตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดคือ “คณะทำงานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูล สู่การเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ที่ประกอบขึ้นจากบุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจาก 2 จังหวัดพื้นที่สร้างแลนด์บริดจ์ ร่วมกันจิ๊กซอว์ต่อภาพอนาคตท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ เพียงชั่วเดือนสองเดือนมานี้ก็ได้ร่วมกันจัดทำ “เอกสารชี้แจงความจริง” ภายใต้ชื่อ “สงขลา-สตูล กำลังก้าวไปสู่จังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ออกแจกจ่ายเผยแพร่ไปแล้วจำนวนมาก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
Land bridge Landslide?!
ความตื่นตัวถึงทิศทางการพัฒนาของเครือข่ายภาคประชาชนบนแผ่นดินด้ามขวานเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น เข้มแข็ง และคึกคักยิ่งเวลานี้ โดยเฉพาะคนภาคใต้ตอนล่างพื้นที่เป้าหมายสร้าง Land bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ได้หยิบแนวคิด Southern Seaboard ไปพินิจพิเคราะห์จนได้ข้อสรุปว่า รัฐกำลังเร่งผลักดันให้ “สงขลา-สตูล” ก้าวไปสู่ “จังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ซึ่งจินตนาการได้ถึงการยกเอา “มาบตาพุด-สมุทรปราการ-แม่เมาะ” ไปรวมกันไว้ที่นั่น... แล้วอนาคตของลูกหลานจะเป็นอย่างไร?!
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
กังวลนกเขาอาเซียนจะไม่ขัน
“จะนะ” เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แต่กลับขึ้นชื่อลือชาในความเป็นแหล่งเพาะพันธุ์นกเขาชวาในระดับภูมิภาคอาเซียน สร้างวงจรธุรกิจต่อเนื่องให้คนในพื้นที่มูลค่าปีละนับพันล้านบาท ตามแผนปลุกปั้นโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดจะผลักดันให้แผ่นดินนี้กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แล้วอนาคตนกเขาชวาที่จะนะจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
ปรากฏการณ์อุตสาหกรรมเข้าไปไล่ที่มรดกโลก
รัฐบาลไทยเตรียมการมานานแล้วที่จะนำ 17 อุทยานฯ และ 1 เขตห้ามล่าสัตว์ป่ารวมเป็น “พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน”
แล้วไปขอขึ้นทะเบียนเป็น “แหล่งมรดกโลก” แต่แล้วเวลานี้ก็มีแผนจะสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราด้วย ซึ่งไม่เพียงกระทบต่อ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา” และ “อุทยานแห่งชาติตะรุเตา” เท่านั้น แต่แผนปั้นเป็นมรดกโลกก็น่าจะกระเทือนไม่แพ้กัน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
อะไรสำคัญกว่ากัน? พลังงานหรือการท่องเที่ยว
การเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายรักษ์อ่าวไทย” ต่อต้านกลุ่มทุนขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล ด้วยหวาดหวั่นผลกระทบแหล่งท่องเที่ยวชื่อกองโลกอย่างเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งกำลังจะฟ้องศาลปกครองและอาจจะซ้ำรอย “คดีมาบตาพุด” ในพื้นที่โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดนั้น เรื่องนี้กระทบแผนพัฒนาโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดเข้าอย่างจัง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
Landbridge คุ้มจริงหรือ?
ตามกรอบการพัฒนาโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยเสนอแนวทางการพัฒนาให้รัฐบาลเลือก 2 แนวทางคือ 1. ใช้โครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนำการพัฒนา 2. ใช้ภูมิภาคเป็นตัวนำการพัฒนา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
เมกะโปรเจกต์ เมกะวาระซ่อนเร้น
พลันที่แสงแรกของวันสาดส่อง ผู้คนที่อยู่บริเวณหาดคอเขาในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช หากผันสายตาออกไปในทะเลก็จะเห็นเรือสีเขียวขนาดใหญ่ที่มีเสากระโดงตระหง่านอยู่ 3 เสา ลอยลำอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
พลัง (งาน) ข้ามโลก เซาเทิร์นซีบอร์ด
ความคึกคักในการขับเคลื่อน “โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด” ที่จะใช้ “แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล” เป็นโครงสร้างพื้นฐานทะลุทะลวงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วนั้น มีภาพของพลังในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนพลังงานโลก หรือกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลข้ามโลกหนุนช่วยรัฐไทยอยู่เบื้องหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)