หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์
สกู๊ปปกฉบับนี้เป็นเรื่องบริษัท ไทยออยล์ จำกัด ซึ่งทีมข่าวได้เจาะลึกเข้าไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการกันทีเดียว
สกู๊ปข่าวชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนข้อมูลและภาพประกอบเป็นอย่างดีจากไทยออยล์
ซึ่งต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และที่สำคัญทีมงานได้สัมภาษณ์พูดคุยกับคุณจุลจิตต์
บุณยเกตุกว่า 2 ชั่วโมง ร่ายยาวรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์ รอพิสูจน์ฝีมือ จุลจิตต์
การประกาศพักการชำระหนี้ของบริษัทไทยออยล์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2541 ต้องถือเป็นการเสียเครดิตเรื่องการเงินครั้งแรกของบริษัทชั้นนำ
ที่มีประวัติความน่าเชื่อถือทางการเงินดีที่สุดในประเทศไทย บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
เพียง 20 ล้านบาท แต่สามารถใช้เครดิตกู้เงินมาขยายธุรกิจและสร้างสินทรัพย์มูลค่าสูงถึง
103,369 ล้านบาท และสร้างภาระหนี้สินเป็นจำนวนถึง 73,000 ล้านบาท ผู้คนต่างกล่าวขานว่าเป็น
"เรื่องน่าทึ่งอย่างมาก" อีกเรื่อง หนึ่งในวิกฤติฟองสบู่แตกครั้งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
ไทยออยล์: ตำนานน้ำมันไทยที่ควรจดจำ
เส้นทางสู่ความตกต่ำด้วยการขาดทุนอย่างย่อยยับของสุดยอดโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์
บริษัทกลั่นน้ำมันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น very very top ของภูมิภาคเอเชีย
เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อสำหรับบุคคลภายนอกที่มองศักยภาพไทยออยล์ในระดับซูเปอร์แมน
ไม่ว่าในแง่ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ผลการดำเนินงานที่เติบโตแบบระเบิดพรวดพราดไปพร้อมๆ
กับตลาดน้ำมันโลกเข้าสู่ยุครุ่งเรือง หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ช่ำชองของผู้บริหารในแต่ละยุคล้วนแล้วมีฝีมือระดับพระกาฬ
ไม่ว่าจะเป็น เชาว์ เชาว์ขวัญยืน, เกษม จาติกวณิช หรือจุลจิตต์ บุณยเกตุ ภาพเหล่านี้ส่งผลให้สถาบันการเงินทั่วโลกยินดียื่นมือเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
เชาว์ เชาว์ขวัญยืน: เทวดาตกสวรรค์
เจา กวาง ยุง คือ ชื่อจีนของ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ผู้ก่อตั้งบริษัท ไทยออยล์
จำกัด โรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
เกษม จาติกวณิช: สุดยอดนักบริหาร
"ซุปเปอร์เค" คือฉายา เกษม จาติกวณิช ผู้ที่มีฝีมือการบริหารงานอันเยี่ยมยุทธ์
ชีวิตเขาทั้งชีวิตดูเหมือนจะมีแต่คำว่างานเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
ไทยออยล์: ก้าวย่างสู่อิสรภาพ
ไทยออยล์ ต้องเข้าจดทะเบียน ในตลาด หลักทรัพย์ฯ ปีนี้เพื่อ เตรียม รับมือสภาวะการแข่งขัน
อย่างรุนแรง เนื่องจากมาตรการเปิดเสรีโรงกลั่น การระดม ทุนจากตลาดหุ้น จะช่วย
เสริมฐานะ งบดุล โดยเฉพาะเงินกองทุน ของไทยออยล์ ให้แข็งขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
"เบนซินไร้สารตะกั่ว HCFC-123 และ HFC-134a ตัวการสำคัญช่วยลดมลพิษในอากาศ
85% ของปริมาณสารตะกั่วในเขตกทม. ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมลภาวะมาจากการใช้น้ำมันเบนซินชนิดที่มีสารตะกั่ว
และการลดลงของปริมาณก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศเกิดจากการใช้สาร CFC ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความเย็น
วิธีที่จะช่วยลดมลพิษของโลกได้ก็ด้วยการใช้สารทดแทนอื่นๆ คือ เบนซินไร้สารตะกั่ว
HCFC-123 และ HFC-134a
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
"อิสรภาพราคา 8.7 พันล้านบาทของไทยออยล์"
ดีลการซื้อโรงกลั่นหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 ของไทยออยล์จากกระทรวงอุตสาหกรรมสำเร็จลุล่วงไปแล้วในวินาทีสุดท้ายของรัฐบาลอานันท์ 2 โดยเป็นการซื้อขายตามราคาประเมินต่ำสุดของคณะกรรมการประเมินมูลค่าโรงกลั่นของกระทรวงอุตสาหกรรมคือ 8,764,245,647.86 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่บริษัทผู้ประเมินฯ ทำการประเมินไว้ถึงเท่าตัว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"บางจากฯ เข้าตลาดหุ้น ชัยชนะเหนือไทยออยล์"
การที่บางจากฯ เฉือนโค้งขอเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ก่อนไทยออยล์โดย ครม. ไฟเขียวให้ในวันประชุมรอบรองสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ทั้งที่ไทยออยล์ได้รับอนุมัติมาก่อนนั้น นับเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บางจากฯ จะผันตัวเองสู่เป้าหมายสนามค้าปลีกอย่างเต็มที่ ภาพครั้งนี้จึงเป็นเหมือนชัยชนะครั้งใหม่ของบางจากฯ...? ทำไม..? แล้วไทยออยล์จะเข้าตลาดได้ด้วยหรือไม่..?
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)