ไฟเขียวถอน UCOM พ้นตลท.
บอร์ดยูคอมเห็นชอบเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังดันแทคเข้าจดทะเบียนภายในปีนี้ เผยจะได้รับเงินจากการขายหุ้น 4,199 ล้านบาท หวังนำเงินไปชำระคืนเงินกู้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยยูคอมฯ เข้าเกณฑ์โฮลดิ้ง คอมปานี ระบุให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน TAC ไม่ต่ำกว่า 51% โบรกฯ เผยมาร์เกตแคป TAC สูงถึง 7 หมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 11 ตุลาคม 2549)
ยูบีทีปิดฉากบริการสื่อสารความเร็วสูง
ยูบีทีบริษัทร่วมทุนยูคอมกับทีโอที 1 ใน 4 บริษัทย่อยของยูคอม ที่ตระกูลเบญจรงคกุลเสนอซื้อจากเทเลนอร์ ถึงกาลอวสาน หลังจากที่ส่งหนังสือถึงทีโอที ขอเลิกกิจการและพร้อมโอนลูกค้าจำนวน 2,000 รายให้ทีโอทีให้บริการต่อ ด้าน"ธีรวิทย์" ชี้เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ทีโอทีพร้อมสรุปขั้นตอนการโอนลูกค้าภายในเดือนนี้
(ผู้จัดการรายวัน 15 พฤศจิกายน 2548)
แทคยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหุ้นไทย หลังเข้าเทรดไซส์ใกล้เคียงชินฯ
แทคเดินหน้าเข้าจดทะเบียนตลาดหุ้นไทย ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต.แล้ว ส่วนการกระจายหุ้นต้องรอทำเทนเดอร์ฯที่สิงคโปร์ก่อนคาดเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะมีขนาดใกล้เคียงกับหุ้นชินคอร์ปอร์เรชั่นแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ตลท. แขวน SP หุ้น UCOM ต่อ รอบริษัทแจงเทนเดอร์ฯหุ้น TAC ที่สิงคโปร์ ส่วน บิ๊ก UCOM เตรียมประชุมบอร์ด 31 ต.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2548)
มวยคู่ใหม่"เทเลนอร์-เอไอเอส"
การขายหุ้นยูคอมของตระกูลเบญจรงคกุล ทิ้งฐานที่มั่นบริษัทอายุกว่า 40 ปีที่รุ่นพ่อก่อร้างสร้างตัว จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายวิทยุสื่อสารโมโตโรล่า งานประมูลภาครัฐ เป็นเรื่องที่น่าตกใจและคาดไม่ถึง แต่หากมองในแง่ดี อาจเป็นการ reborn ของบุญชัย-วิชัยอีกครั้ง หลังจากธุรกิจปัจจุบันติดขัดทั้งฐานทุน การกำกับดูแล การแข่งขัน ที่หลังจากพยายามขยับตัวทุกวิถีทางแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล
(ผู้จัดการรายวัน 21 ตุลาคม 2548)
บุญชัยขายยูคอม 9 พันล้าน
"เบญจรงคกุล" ปิดฉากตำนานผู้ให้บริการทางด้านโทรศัพท์มือถือ เปิดทางเทเลนอร์เข้ากุมหุ้นใหญ่ UCOM ผ่านบริษัท เทลโค โฮลดิ้งส์ ส่วนคนไทยถือ 59% อาทิ "เบญจรงคกุล10% -ฟินันซ่า 10% " พร้อมยื่นขอเสนอซื้อสินทรัพย์หลักมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาทเพื่อลุยธุรกิจไอทีเต็มสูบผ่านบริษัทใหม่ "เบญจจินดา" ด้าน"บุญชัย" อดีตบิ๊กลาออกเหลือเพียงตำแหน่งประธานบอร์ด "ดีเทค" ขณะที่ "วิชัย" ผู้น้องออกจากทุกตำแหน่ง ตลท.สั่งห้ามซื้อขายหุ้น UCOM 2 วัน
(ผู้จัดการรายวัน 21 ตุลาคม 2548)
หุ้นยูคอม3วันพุ่ง9%รับแทคเข้าตลท.
3 วันหุ้น UCOM ราคาพุ่ง 9.09% หลังประกาศดัน TAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย บล.ทิสโก้ ระบุปัจจุบันมีแค่บริษัทเดียวที่บริษัทย่อยจดทะเบียนตลาดต่างประเทศ พร้อมปรับเป้าราคาพื้นฐานขึ้น 7-8% บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) ให้ราคาเป้าหมาย 59.25 บาท จาก 57.25 บาท
(ผู้จัดการรายวัน 23 กันยายน 2548)
กทช.ทบทวนเงื่อนไลเซนส์ไอเอสพีใหม่หลังยูคอมทักเหมือนเก็บส่วนแบ่งรายได้
กทช.ปรับเงื่อนไขใบอนุญาตไอเอสพีใหม่ 2 ประเด็นคือหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหลังถูกยูคอมทักท้วงว่าใบอนุญาตประเภท 2 และ 3 เหมือนการเก็บส่วนแบ่งรายได้ในลักษณะ สัญญาร่วมการงานเดิม ด้านประ-ธานกทช.ย้ำพร้อมปรับปรุงเงื่อน ไขและค่าธรรมเนียมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของอุตสาหกรรม
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2548)
"ยูคอม" เข็ดลงทุนในเทคโนโลยีใหม่
ยูคอมขยาดลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ เลิกเป็นผู้กล้าท้าความเสี่ยง มุ่งเน้นการเป็นผู้ให้บริการและโฟกัสที่บรอดแบรนด์ ส่วนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการใหม่ ต้องรอดูประเภทก่อน ด้านรายได้ยูไอเอชยังเป็นตัวนำ และยูดีเป็นตัวรอง ล่าสุดเปิดตัวบริการดาวน์โหลดเอ็มพี 3 ภายใต้ชื่อมิวสิกกิ๊ก บาย ยู-นี่ ดอทคอม
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2548)
สหพัฒน์ผนึกค้าปลีกกลุ่มยูคอม
จับตาสองยักษ์ผนึกความร่วมมือค้าปลีก สหพัฒน์ ส่ง 108 ชอป ร่วมมือ กับรักบ้านเกิดของกลุ่มยูคอม
หวังลบจุดอ่อนแต่ละค่ายเสริมจุดแข็งแก่กัน ทั้งบริการ สินค้า ระบบเทคโนโลยี
(ผู้จัดการรายวัน 5 กุมภาพันธ์ 2547)
ล้มประมูลซีดีเอ็มเอยูคอม-นอร์เทลแห้วโครงการ3หมืนล้าน
ล้มซีดีเอ็มเอ มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ตามคาด หลังเรียลไทม์ของกลุ่มยูคอม
ถอดใจ ไม่ยืนราคาต่ออีก 2 เดือนตามความต้องการ กสท. ที่หวังซื้อเวลาแบบไม่มีอนาคต
ด้านนอร์เทล เสนอทางออกใหม่ ตัดเรื่องการตลาดทิ้ง ซื้อตรงอุปกรณ์เครือข่ายจากซัปพลายเออร์
ลดต้นทุนโครงการมหาศาล
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2546)