โตโยต้าชี้เก๋งปีจอแรง
ยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า" ฟันธง! ตลาดรถยนต์ไทยปีจอพุ่ง 7.35 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5% โดยมีรถยนต์นั่งหรือเก๋งกลับมาเป็นพระเอก คาดเติบโตสูงสุด 13% จากการที่หลายยี่ห้อแห่เปิดตัวรุ่นใหม่ รวมถึงโตโยต้าที่จะส่งเก๋งซับคอมแพกต์ "ยาริส" บุกตลาดสัปดาห์หน้านี้ และกลางปีกับ "คัมรี่" โฉมใหม่ ขณะที่ตลาด ปิกอัพไม่ให้ราคาคู่แข่ง มาสด้า, ฟอร์ด และนิสสัน ที่จะส่งโมเดลใหม่ลุยปีนี้แต่อย่างใด จึงประเมิน อัตราการเติบโตไว้เพียง 0.2% เท่านั้น
(ผู้จัดการรายวัน 13 มกราคม 2549)
"มิตซูบิชิ"ออกหุ้นกู้5พันล.
ค่าย "มิตซูบิชิ" ระดมทุนครั้งใหญ่มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ด้วยการออก หุ้นกู้อายุ 3 ปีให้แก่นักลงทุนสถาบัน ค้ำประกันโดยธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ และถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากฟิทช์เรตติ้งสในระดับ AA+ เพื่อใช้ในการลงทุนผลิตปิกอัพรุ่นไทรทัน การพัฒนาและวิจัย (R&D) รถรุ่นใหม่ๆ ตลอดจนถึงการขายและส่งออก ขณะที่ยอดขาย ปิกอัพใหม่ในไทยเริ่มอืด ต้องงัดแคมเปญออก มาสู้ หวังดันยอดกลับมาอยู่ในอัตราปกติ 4-5 พันคันต่อเดือน
(ผู้จัดการรายวัน 6 ธันวาคม 2548)
ฮอนด้าทุ่ม 100 ล.ดันซีวิครุ่นใหม่กู้วิกฤติยอดวูบ
ค่ายฮอนด้าเทหมดหน้าตัก ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ดันโฉมใหม่เก๋งคอมแพ็กต์ “ฮอนด้า ซีวิค” ซื้อสื่อโฆษณาและจัดกิจกรรมการตลาด ปั้นยอดขายปีแรกทะลุ 26,000 คัน เพิ่มแชร์ฮอนด้าในตลาดเก๋งคอมแพ็กต์ไทยจาก 21% เป็น 30% พร้อมกับผลักดันยอดรวมปีหน้าเพิ่ม 15% หลังจากปีนี้ประสบวิกฤตยอดขายวูบ เฉพาะ 10 เดือนแรกลดลงถึง 30%
(ผู้จัดการรายวัน 16 พฤศจิกายน 2548)
ฮอนด้ายอดวูบ1.5หมื่นคัน
"ฮอนด้า" ยอดขายวูบ ลดเป้า ปีนี้ 1-1.5 หมื่นคัน เหตุคนหันไปใช้ปิกอัพโทดะ สวนหมัดรัฐมนตรีอุตสาหกรรมโตโยต้า พึ่งพาปิกอัพเพียงอย่างเดียวพาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเสี่ยง! บี้รัฐทบทวนแนวคิดชะลอผลักดันเก๋งขนาดเล็ก เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนคู่ปิกอัพใหม่ เหตุแนวโน้มตลาดเติบโตสูงมาก เผยเตรียมส่ง "ซีวิค โฉมใหม่" กู้ยอด 15 พ.ย.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 2 พฤศจิกายน 2548)
BMWขึ้นไลน์เอ็กซ์3ฟื้นยอด
บีเอ็มดับเบิลยูประกาศประกอบ "เอ็กซ์ 3" รถขับเคลื่อน 4 ล้อรุ่นเล็กเพิ่มอีกหนึ่ง รุ่นในไทย หลังนำเข้ามาชิมลางเมื่อ ปลายปีที่แล้ว แต่ติดราคาโหดจนยอดไม่วิ่ง พร้อมเตรียมส่งมอบต้นปีหน้า มั่นใจราคาใหม่จะช่วยกระตุ้นยอดขายที่ลดฮวบฮาบ โดย เฉพาะ 8 เดือนยอดตกถึง 20%
(ผู้จัดการรายวัน 11 ตุลาคม 2548)
กลุ่มทุนข้ามชาติรุกหนัก บุกยึดค้าปลีกรถยนต์ไทย
ทุนข้ามชาติไม่หยุดรุกเพียงภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ทั้งโตโยต้า ทูโช จากประเทศญี่ปุ่น บริษัทในเครือโตโยต้า มอเตอร์ กลุ่มเวิร์นส ออโตโมทีฟ จากสิงคโปร์ และไซม์ ดาร์บี้ กลุ่มธุรกิจยานยนต์อันดับต้นๆ ของมาเลเซีย ต่างตบเท้าเข้ามายึดธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ในไทย แยกย้ายกันเป็น ดีลเลอร์ขายรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อ เพื่อชิงก้อนเค้กที่มีไม่ต่ำกว่า 6 แสนคันต่อปี
(ผู้จัดการรายวัน 3 ตุลาคม 2548)
ฟอร์ดหั่นราคาโฟกัสสกัดดาวรุ่งซีวิคใหม่
ฟอร์ดทำเซอร์ไพรส์ เผยราคาโฟกัสใหม่ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยเคาะราคาต่ำอัดคู่แข่งแค่ 7.47-8.89 แสนบาทพร้อมออปชันที่เหนือกว่า ที่สำคัญโฟกัสใหม่สามารถใช้น้ำมันได้ทั้งเบนซินธรรมดา และแก๊สโซฮอล์ สนองนโยบายประหยัดพลังงานของภาครัฐ ขณะที่คู่แข่งอย่างฮอนด้าเตรียมเปิดตัวซีวิค 4 ประตูปลายปีนี้ คาดค่ายหลังเปิดตัวตลาดเก๋งเดือด
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2548)
มาสด้าชูไทยศูนย์อะไหล่
มาสด้าประกาศตั้งไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกอะไหล่รถกระบะสู่ตลาดทั่วโลก เป็นรายที่สามรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยมีซัปพลายเออร์คนไทยกว่า 170 รายป้อนชิ้นส่วนให้ พร้อมตั้งเป้ายอดขายจากการส่งออกอะไหล่ปีนี้ 700 ล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศหันมามุ่งพัฒนาด้านการบริการหลังการขายล้างภาพบริการห่วย อะไหล่แพง สำหรับรถใหม่ปลายปีเตรียมมาสด้า MX 5 เอาใจคอรถสปอร์ต
(ผู้จัดการรายวัน 19 สิงหาคม 2548)
ญี่ปุ่นระบุทักษิณเร่งให้จบปิดดีล FTA-ภาษีรถหรูทยอยลด
ไทย-ญี่ปุ่นบรรลุข้อตกลงจัดทำเอฟทีเอแล้ว "ทักษิณ" เตรียมบินประกาศร่วมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเดือนนี้ก่อนที่จะลงนามเม.ย.ปีหน้า "พิศาล" หัวหน้าทีมเจรจาเผยหากเงื่อนไขกฎแหล่งกำเนิดสินค้าไม่ชัดจริงจะไม่ลงนามรับรอง ยันรถยนต์เล็กไม่ลดภาษีและเปิดตลาดให้ ส่วนรถยนต์เกิน 3000 ซีซี จะลดภาษีแบบขั้นบันไดเหลือ 60% ในปีที่ 5 ฝ่ายรมว.เมติเผยเบื้องหลังจบดีล ทักษิณ ตื๊อขอให้อยู่จนเจรจาจบ ระบุอีก 4 ปีจะรุกให้เปิดเสรีรถหรูให้ได้ นักวิชาการชี้ไทยได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ขณะที่ค่ายรถหรูจากยุโรป-สหรัฐฯโล่งอก
(ผู้จัดการรายวัน 2 สิงหาคม 2548)
"ฮุนได" เลือก "สิทธิผล" ลุยตลาดรถเล็กในไทย
ฮุนไดเลือกกลุ่มสิทธิผล "ร่วมทุน-ทำตลาดรถในไทย" เผยจุดแข็ง "วัชระ พรรณเชษฐ์" เอาแผนผลิตรถอีโคคาร์ ที่ปั้นมากับมือให้เป็นนโยบายรัฐบาลขายให้เกาหลีจนชนะ 2 คู่แข่ง คือธนบุรีประกอบรถยนต์และไซม์ ดาร์บี้ แต่ยังติดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นที่ทางฮุนไดยังไม่อยากผูกพันเต็มตัว ขอเวลาดูผลงาน 5 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 24 มิถุนายน 2548)