ศุภชัย เจียรวนนท์เปลี่ยนสไตล์บริหารทีเอเปลี่ยนตลาดเชิงรุกครั้งใหญ่
เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีเอ ภายใต้การบริหารของ ศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารของทีเอ กำลังเป็นแรงผลักดันไปสู่การเปลี่ยนครั้งสำคัญทางธุรกิจครั้งใหญ่
ตามยุทธศาสตร์ที่ศุภชัยวางไว้นั้น แม้ว่ายังไม่สามารถเฉลยรายละเอียดได้ทั้งหมดในเวลานี้
แต่วิชั่นที่ได้ถ่ายทอดออกมาเท่าที่สามารถเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ทำให้เข้าใจได้ว่าทีเอได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆ
ในลักษณะที่ใช้เรื่องของการตลาดเป็นตัวนำพาธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้า
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2546)
ดีแทคเปิดฟรี"ฮอตสปอต"ผนึกค่ายเอ็มเว็บป่วนตลาด
ดีแทคจับมือเอ็มเว็บให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อยอดธุรกิจ เพิ่มความสะดวกและทางเลือกให้ลูกค้าโพสต์เพด
เปิดบริการฟรีถึงสิ้นปี หวังจูงใจลูกค้าทดลองและปลุกตลาด ก่อนเก็บค่าบริการลักษณะรายเดือนเป็นรายได้เสริม
ขณะที่เคเอสซีรับทรัพย์เพิ่มรายได้จากฐานลูกค้าของดีแทค
(ผู้จัดการรายวัน 26 กันยายน 2546)
AISพลิกแผนชู "การตลาด"นำเทคโนโลยี
เอไอเอส ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำตลาด จากเทคโนโลยีนำการตลาดหรือเทคโนโลยีมาร์เกตติ้ง
เป็น คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง ไม่เน้นโปรโมชั่นแต่เน้นบริการที่หลากหลายพร้อมปรับเปลี่ยน
ร้านเทเลวิชขึ้นเป็นโอเปอเรเตอร์ เซอร์วิส สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้แกร่ง
(ผู้จัดการรายวัน 23 กันยายน 2546)
ดีแทคร่วมชินฯขายข่าวไอทีวีผ่านโทร.มือถือ
ดีแทคจับมือชินนี่ดอทคอม ไอทีวี ให้บริการ I-News ข่าวสารผ่านโทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกว่าเอไอเอส
ตรงที่ผ่านระบบ GPRS ทั่วประเทศ ใช้ได้ทั้งลูกค้าดีแทคกับแฮปปี้ดีพร้อมท์ ด้านชินนี่ดอทคอมอยู่ระหว่างพัฒนาบริการนี้กับทีวีอีกหลายช่องรวม ทั้งยูบีซี ค่ายหนังทั้งในและต่างประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 18 กันยายน 2546)
เอไอเอสเปิดยุทธศาสตร์โรมมิงฟันกว่า2พันล้านทิ้งห่างคู่แข่ง
เอไอเอสเปิดแผนบริการ IR ตั้งเป้ายอดรายได้สิ้นปี 2,000 ล้านบาท ด้วยบริการทิ้งห่างคู่แข่ง
โดยเฉพาะ GPRS และ MMS Roaming ชี้จุดแข็งเอไอเอสอยู่ที่ศักยภาพลูกค้าทั้งรายได้และคุณภาพ
พร้อมบริการที่สัมผัสเข้าไปถึงความต้องการ Roamer อย่างบริการ LDD โทรภายในเครือข่ายเอไอเอสไม่ต้องออกต่างประเทศได้ราคาประหยัด
50%
(ผู้จัดการรายวัน 12 กันยายน 2546)
ดีแทคท้ารบเอไอเอสกลัวเบอร์มือถือติดตัว
ดีแทคดับเครื่องชนเอไอเอส นโยบายเบอร์มือถือติดตัว ถามตรง "กลัวให้บริการที่ดีกับลูกค้าไม่ได้
หรือกลัวรักษาลูกค้าไม่ได้" ยันหนุนไอซีทีสุดตัวเพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ พร้อมเปิดแผนตลาดปรับตัวรองรับความต้องการลูกค้า
(ผู้จัดการรายวัน 11 กันยายน 2546)
ดีแทคโชว์พลังฟันเสริม2พันล.
ดีแทค ประกาศ ฟันยอดบริการเสริม 2 พันล้านบาท สิ้นปี หลังตัวเลขอัตราการเติบโตผู้ใช้งานพุ่งกระฉูดกว่า
2.5 ล้านราย เดินหน้าเน้นเอนเตอร์เมนต์เซอร์-วิส สร้างดีแทคเป็น "Mega Content
and Real" โอเปอเรเตอร์ที่มีบริการเสริมหลากหลายมากมายที่สุดเหนือคู่แข่งขันในตลาด
ล่าสุด สร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกกับการเปิดจาวาเกมแบบ Multi Player รายแรกในไทย
(ผู้จัดการรายวัน 9 กันยายน 2546)
"ดีแทค"ยิ้มรับ"เอไอเอส"วัน-ทู-คอลไม่แรงจริง
เอไอเอส ทุ่บงบการตลาดกว่า 100 ล้านสร้าง 4 ทางเลือกเอาใจลูกค้าวัน-ทู-คอล หลังยอมรับค่าบริการ
2.50 บาท ของแฮปปี้ดีพร้อมท์โดนใจผู้บริโภค ยันเอไอเอสไม่ลงไปถึงระดับ นั้น แต่หวังสร้างความพอใจลูกค้ามากกว่า
ด้าน "กฤษณัน" ย้ำเรื่องเบอร์มือถือติดตัว เป็นเรื่องความจำเป็นของประเทศที่ขาด
แคลนด้านเลขหมายมากกว่า
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2546)
วันทูคอลปรับค่าบริการเพิ่มทางเลือกก่อนสาย
เอไอเอสปรับค่า บริการวัน-ทู-คอล สร้างทางเลือก หลังแฮปปี้ดีพร้อมท์กระหน่ำยอดเพลิน
ด้านดีแทคย้ำหากเลือก 1 ใน 4 ไม่เท่าไร แต่ถ้าให้ทั้งหมด กระทบตลาดโดยรวมแน่ คนวง
การชี้เอไอเอสถึงคราวทบทวนการตลาดใหม่ ภายใต้สถานการณ์บีบ คั้น ทั้งคู่แข่งและนโยบายเบอร์โทรศัพท์มือถือติดตัวของหมอเลี้ยบ
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2546)
"แฮปปี้ดีแทค"ปรุงโฉมใหม่ทิ้งคู่แข่งตามรอยทางเลือก
เปิดยุทธศาสตร์ "แฮปปี้ดีพร้อมท์" กวาดลูกค้า 2 ล้านรายใน 3 เดือน จุดพลุด้วยสร้าง
4 ทางเลือกให้ลูกค้า ตามด้วยการรักษาฐานจับมือพาร์ตเนอร์อัดกิจกรรมคอนเสิร์ต
พร้อมเปิดแนวรบใหม่ด้วยแพกเกจจิ้งกล่อง Walky Pack ที่อิงแนวคิดคอนซูเมอร์โปรดักส์ให้ลูกค้าเก็บแบรนด์
แฮปปี้ติดตัวนานๆ ย้ำแฮปปี้อยู่ในตลาดวงกว้างต้องใกล้ชิด สนุกสนาน ฉีกแนวคิดจากคู่แข่ง
(ผู้จัดการรายวัน 29 สิงหาคม 2546)