กลต.ขอวงเงินเพิ่มแสนล้านลุยลงทุนตปท.
ก.ล.ต. สนองรัฐแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ถกร่วมตัวแทน"ตลท.-ธปท.สศค.-สมาคมบล.-สมาคมบลจ." หาแนวทางหนุนนักลงทุนไทยลุยต่างประเทศ เล็งขอแบงก์ชาติเพิ่มวงเงินลงทุนตปท.จาก 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท พร้อมดึงสินค้าตราสารในตปท.มาซื้อขายในประเทศคาดประชุมสรุปอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ ขณะที่เสนอปรับหลักเกณฑ์ออกบาทบอนด์ให้คล่องตัวมากขึ้น ด้าน“พาณิชย์”ไฟเขียวธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนต่างประเทศเป็น 8.5% ของทรัพย์สิน มั่นใจช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพขึ้นแน่
(ผู้จัดการรายวัน 24 กรกฎาคม 2550)
กบข.ลงทุนตปท.เต็มเพดาน15%
กบข.สนองนโยบายรัฐ เตรียมใส่เงินลงทุนต่างประเทศเต็มเพดาน 15% ภายใน 1 เดือนจากพอร์ดเดิมที่ลงทุนอยู่ 12.64% ก่อนเดินหน้าเจรจากระทรวงการคลัง ขอเพิ่มวงเงินเป็น 25% แสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ ย้ำไม่มีใบสั่งภาครัฐ "วิสิฐ" ระบุเป็นห่วงปัญหาค่าเงินบาท เผยหากแข็งค่าเกินกว่านี้ กระทบส่งออกพร้อมกดดันเศรษฐกิจชะลอตัวแน่ แถมมีสิทธิหนุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยเร็วขึ้น ชี้ระดับ 35-36 บาทถือว่าเหมาะสม
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2550)
กบข.ทุ่ม5.5พันล.ลุยหุ้นนอก-หุ้นซึมห่วงศก.โลก
กบข.ใส่เงินอีก 5.5 พันล้าน ลุยหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุน GPF (Thailand) Investment Fund ดันพอร์ตการลงทุนต่างประเทศขยับขึ้นเป็น 12.8% ใกล้เพดาน15% พร้อมเดินหน้าเจรจาคลังขอเพิ่มวงเงินเป็น 20-25% ช่วงปลายปีนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นเริ่มปรับฐานเป็นไปรตามกลไกตลาด โบรกฯชี้นักลงทุนชะลอเทรดหุ้น รอดูความชัดเจนตัวเลขศก.ทั้ง "อเมริกา-ยุโรป" ขณะที่ค่าเงินบาทไม่กระทบเป้ากำไรบจ.เหตุบริษัทขนาดใหญ่ไม่กระทบมาก
(ผู้จัดการรายวัน 17 กรกฎาคม 2550)
PAเผยลงทุนโรงแรมสมุย2เสี่ยงน้อยเหตุกลุ่มเลแมนบราเดอร์สมีศักยภาพ
PA แจ้งการลงทุนในโรงแรมที่สมุย 2 เชื่อมีศักยภาพในการทำธุรกิจ เพราะกลุ่มบริษัทเลแมนบราเดอร์ส มีความพร้อมด้านการเงินและพัฒนาธุรกิจในระดับระหว่างประเทศ และหากบริษัทต้องลงทุนเองจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี เพราะต้องมีทุน 2-3 พันล้านบาท การที่มีพันธมิตรเข้ามา จึงเป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจและภาระทางการเงินของบริษัทฯ
(ผู้จัดการรายวัน 26 มิถุนายน 2550)
หวั่น"การค้า-ลงทุน"ไทยชะงัก ผลกระทบสหรัฐขึ้นบัญชีPWL
วิจัยกสิกร ชี้ผลกระทบหากไทยถูกสหรัฐขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ(PWL) จากที่เคยอยู่ในบัญชีจับตา(WL)อาจส่งผลต่อประเทศไทยด้านการค้าและการลงทุน ทั้งอาจถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เชื่อมโยงต่างชาติชะลอการลงทุนออกไป
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤษภาคม 2550)
“ซีพี”ฟันธงลงทุนในจีนรุ่งอีก10ปีเปิดขุมทรัพย์แดนมังกร-ปั้นค้าปลีกเข้าตลาดหุ้น
เปิดขุมทรัพย์ซีพีแดนมังกร “ดร.สารสิน”เผย 10 ปีต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาทองของซีพี ที่จะรุกขยายธุรกิจเต็มที่ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่จะมีการจับมือกองทุนอเมริกาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์คู่ค้าปลีก เน้นทำชอปปิ้งมอลล์ ส่วนพื้นที่รอบๆ พัฒนาเชิงพาณิชย์ ส่วนโลตัสเตรียมขยายครบ 2,000 สาขาใน 10 ปี พร้อมส่ง Lotus express ลงหมู่บ้านต่างจังหวัดจีน เชื่อธุรกิจไปอีกไกลรับพฤติกรรมผู้บริโภคจีนเปลี่ยน พร้อมขยายตลาดอาหารคนเต็มพิกัด หลังพบนมเปรี้ยว-เกี๊ยวกุ้งแช่แข็งขายดี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 เมษายน 2550)
เล็งเพิ่มทุนแบงก์เฉพาะกิจรับIAS39
คลังเผยสำนักงบประมาณเข้าหารือตัวเลขเงินเพิ่มทุนแบงก์เฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ IAS39 เตรียมบรรจุเข้างบปี 51 มั่นใจต้นเดือนเม.ย.ตัวเลขออกมาชัดเจนแต่จะให้แบงก์ไหนก่อนหลังขอดูความจำเป็นก่อน ขณะที่สศค.ระบุไม่จำเป็นต้องทำตามแบงก์ชาติ 100%
(ผู้จัดการรายวัน 27 มีนาคม 2550)
ทุนนอกไม่ทิ้งตลาดหุ้นไทยโบรกฯเล็งหั่นเป้าจีดีพี-แนะลดดบ.กระตุ้นศก.
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัท มอร์แกนสแตนเลย์ พร้อมผู้บริหารกองทุนจากสหรัฐอเมริกา และยุโรปรวม 4 ราย ได้เข้าสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ปัจจัยทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจของไทย การแก้ไขกฎหมายต่างๆ เช่น การแก้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าว รวมถึงนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการพัฒนาตลาดทุนไทย เพื่อนำไปพิจารณาในการประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
(ผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2550)
HRขนทรัพย์ไทยขายตปท.การันตียิล10%
"ฮาริสันฯ" สยายปีกสู่อินเตอร์ ดึงโบรกเกอร์ฮ่องกงร่วมทุนตั้งบริษัทในเครือจัดงานขนอสังหาฯไทย ออกขาย เจาะนักลงทุน ฮ่องกง เซียงไฮ้ สิงคโปร์ เตรียมจัดงานใหญ่ Thai property Exproที่สวีเดน ชูจุดซื้อปล่อยเช่ากำไรงาม พร้อมการันตีค่าเช่า 7-10% ตั้งเป้ากวาดยอดขายทั้งปี 3,000 ล้านบาท ส่วนยอดขายในไทยคาด 7,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 21 มีนาคม 2550)
ปันผลบจ.งวดปี49กว่า1.7แสนล.เศรษฐกิจพ่นพิษฉุดจ่ายไม่ถึงครึ่ง
ตลท.เผยบริษัทจดทะเบียนจ่ายปันผลรวมกว่า 1.78 แสนล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.4% "ทรัพยากร-อสังหาฯ-เทคโนโลยี"ยังครองแชมป์ ด้านรายบริษัท ปตท.ยังครองแชมป์จ่ายปันผลกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท ส่วนแอดวานซ์ฯ ได้อานิสงส์จ่ายปันผลมากกว่ากำไรสุทธิในรอบปีรั้งที่ 2 รวมกว่า 1.86 หมื่นล้าน ขณะที่มีจำนวนบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผลเพียง 48% ของบริษัททั้งหมด
(ผู้จัดการรายวัน 14 มีนาคม 2550)