โออิชิปรับรสเก่ารับวาเลนไทน์ ลิปตันส่งชาแดงลงสนามขวดเพ็ท
สองค่ายยักษ์ใหญ่โออิชิ –เป๊ปซี่ ปลุกตลาดชาพร้อมดื่ม 4 พันล้านคึกคัก “ลิปตัน”ส่งนวัตกรรมใหม่ “ชาแดง” สร้างปรากฎการณ์ความแปลกใหม่ ฉีกตลาดชาเขียว-ชาขาว-ชาดำ ด้าน “โออิชิ”ควักรุ่นลิมิเต็ด เอดิชัน ปรับรสสตรอเบอรี่-บรรจุภัณฑ์ใหม่ ต้อนรับวาเลนไทน์ 6 แสนขวด คาดปีนี้ตลาดชาพร้อมดื่มโต 15-20%
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2550)
โออิชิหืดจับตลาดชาเขียวตก30% รายย่อยล้มตาย ไสช้างลุยตปท.
“โออิชิ” กัดฟันสู้กำไรชาเขียวปี 49 หด อัดฉีด 600 ล้านบาท เดินเกมครึ่งปีหลังรักษายอดขายเข้าเป้า 4,000 ล้านบาท พร้อมรั้งบัลลังก์ผู้นำตลาด ระเบิดศึก 6 เดือนหลังอัดงบสื่อโฆษณา 30-40 ล้านบาท ปั้นรสชาติใหม่กระทุ้งยอดขาย 2,500 ล้านบาท หลังไตรมาสแรกพลาดเป้า ล่าสุดเตรียมรุกตลาดอเมริกา ขอมีเอี่ยวต่อยอดเบียร์ช้างเปิดตลาด ด้วยการส่งโออิชิเข้าทำตลาด นำร่อง สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย แย้มซุ่มปั้นเครื่องดื่มตัวใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 6 กรกฎาคม 2549)
"ตัน"บ่ยั่น"อะมิโน(ยังไม่)โอเค" ทุ่ม70ล.ยกเครื่องการสื่อสารใหม่
“ตัน”ผ่าแผนเครื่องดื่มน้องใหม่ “อะมิโน โอเค” ยกเครื่องปรับการสื่อสารใหม่ เน้นเข้าใจง่าย-บ่งชัดเป็นเครื่องดื่มอะไร พร้อมลดบทบาทสื่อโฆษณาโทรทัศน์ หลังติดอย.ห้ามบ่งชี้สรรพคุณ ชิ่งให้ความรู้ “อะมิโน” ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ประเดิมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ใช้พรีเซ็นเตอร์วัยรุ่น มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยทีนก่อนต่อยอดวัยทำงาน
(ผู้จัดการรายวัน 20 กุมภาพันธ์ 2549)
โออิชิประชุมบอร์ดชุดใหม่ก.พ.คู่แข่งมาร์เกตแชร์ต่ำ 5% ไม่รอด
โออิชิ ยื่นเปลี่ยนแปลงบอร์ดต่อกระทรวงพาณิชย์ เตรียมเรียกประชุมภายในเดือนก.พ. กำหนดนโยบายหลังเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ "ตัน" ลุ้นอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ระบุให้เป็นหน้าที่ของบอร์ด เผยโรงงานใหม่เตรียมเดินหน้าผลิตชาเขียวเพิ่ม ชี้ลดต้นทุนได้กว่า 20% หวังใช้เครือข่ายพันธมิตรต่อยอดธุรกิจในต่างประเทศ เชื่อสุดท้ายคู่แข่งที่มาร์เกตแชร์ต่ำกว่า 5% ต้องปิดตัวลง พร้อมอ้อนนักลงทุน ถือลงทุนระยะยาว
(ผู้จัดการรายวัน 30 มกราคม 2549)
"เจริญ"ฮุบโออิชิ3พันล้านยันดีลนี้ไม่เกี่ยวเบียร์ช้าง
"เจริญ สิริวัฒนภักดี" ขน 3 พันล้านบาท ซื้อหุ้นโออิชิ ระบุไม่เกี่ยวเบียร์ช้าง นครชื่น ร่วมกับพันธมิตร Bengena เข้าถือหุ้นโออิซิ 55% เตรียมตั้งโต๊ะเทนเดอร์ฯ ต้นเดือนก.พ.-กลางเดือนมี.ค. "ตัน" ยันทำงานเต็มที่แม้ถือ 10% ย้ำเหตุผลที่ขายต้องการขยายการธุรกิจ หวังช่องทางขายสินค้าและโอกาสขยายตลาดใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 27 มกราคม 2549)
“ตัน”ขนเงินขายหุ้นสร้างขาธุรกิจใหม่
“ตัน” เจ้าพ่อโออิชิ เล็งนำเม็ดเงินมหาศาล หลังขายหุ้นสร้างอาณาจักรธุรกิจใหม่ พร้อมใช้ความแข็งแกร่งผู้ซื้อหุ้นโออิชิ กรุ๊ปต่อยอดธุรกิจ สิ้นปี 49 โกยรายได้ 2 กลุ่มธุรกิจรวม 6,800 ล้านบาท กลุ่มเครื่องดื่ม 5,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจอาหาร 1,800 ล้านบาท ทุ่มงบ 500 ล้านบาทระเบิดศึกชาเขียว เล็งปั้นธุรกิจขาที่สามเสริมทัพ
(ผู้จัดการรายวัน 26 มกราคม 2549)
เผยเลื่อนดีลโออิชิ หวั่นภาษีย้อนหลัง
เผยสาเหตุการเลื่อนดีลซื้อขายหุ้นโออิชิ เป็นวันที่ 26 มกราคมนี้ เพราะ ปัญหาเอกสารไม่พร้อม อีกทั้ง “เจริญ” ยื่นข้อเสนอให้ “ตัน” วางหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น หลังเซ็นสัญญา หวั่นถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เงินค้ำประกันเดิมที่วางไว้อาจจะไม่พอ พร้อมทั้งเตรียมส่งคนเข้านั่งในบอร์ด 6 คน
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2549)
วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำตลาดปี 48 สยายปีกจนถูกกดดันทางสังคมแบบไม่คุ้มค่า
ประมวลข่าว วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำ ปี 2548 ขาใหญ่ต่างเดี้ยงเมื่อต้องเผชิญมรสุมร้ายส่งผลกระทบต่ออิมเมจที่สั่งสมมานาน พลอยได้รับผลกระทบไปอย่างที่ไม่คุ้มค่า ไล่เรียงตั้งแต่ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ โออิชิ เบียร์ช้าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ยูบีซี แอมเวย์ เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำได้อย่างดี
(ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2548)
"โต้ง" ไฟเขียว "ตัน"เปิดชื่อผู้ซื้อ20ม.ค.
กิตติรัตน์ ระบุเป็นสิทธิที่ "โออิชิ" ยังไม่เปิดเผย รายชื่อผู้ซื้อหุ้นได้ เผยเกือบ 100% ในการทำสัญญาร่วมลงทุนจะมีการทำสัญญารักษาข้อมูลลับก่อนทำสัญญาจริง พร้อมแนะคนใกล้ชิด ที่รู้ข้อมูลอย่าใช้เพื่อสร้างประโยชน์กับตนเอง ย้ำ ตลท.ไม่ละเลยการ ตรวจสอบแต่ระบุหุ้นที่ผันผวนไม่ใช่การปั่นเสมอไป
(ผู้จัดการรายวัน 19 ธันวาคม 2548)