คาดแกรมมี่ฯปี49กำไรกระเตื้องขึ้น
โบรกเกอร์ แนะถือหุ้น "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" คาดการณ์ ผลประกอบการปี 2549 นี้กระเตื้องขึ้น เล็กน้อย เหตุยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยลดเดิมๆ ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ และยอดอัลบั้มลด รวมถึงเม็ดเงินโฆษณาทรงตัว
(ผู้จัดการรายวัน 5 มกราคม 2549)
จี.จี.ฯ โวยแกรมมี่มั่วนิ่ม
จี.จี.นิวส์ฯ โต้ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่มัวนิ่มกรณีคว้าคลื่น 94 ยืนยันกองทัพบกยังไม่ได้สรุปให้ใครรับสัมปทานคลื่น 94 เผยบริษัทฯ ยังมีสิทธิ์บริหารต่อไปจนกว่ากองทัพบกจะสรุป มั่นใจประสบการณ์และรูปแบบการทำงานคลื่นข่าวเฉพาะจะได้รับการพิจารณาต่อแน่นอน โวยค่ายยักษ์มีคลื่นมากแล้วยังไม่พออีกหรือ
(ผู้จัดการรายวัน 30 ธันวาคม 2548)
วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำตลาดปี 48 สยายปีกจนถูกกดดันทางสังคมแบบไม่คุ้มค่า
ประมวลข่าว วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำ ปี 2548 ขาใหญ่ต่างเดี้ยงเมื่อต้องเผชิญมรสุมร้ายส่งผลกระทบต่ออิมเมจที่สั่งสมมานาน พลอยได้รับผลกระทบไปอย่างที่ไม่คุ้มค่า ไล่เรียงตั้งแต่ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ โออิชิ เบียร์ช้าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ยูบีซี แอมเวย์ เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำได้อย่างดี
(ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2548)
แกรมมี่เตรียมแผน ผุดสถานีโทรทัศน์
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสนับสนุนกลางและพัฒนาธุรกิจ บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มีแผนจะขยายธุรกิจสื่อครบวงจรทั้งการเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์และวิทยุ หลังจากที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) แล้ว แต่ต้องรอดูเงื่อนไขที่ชัดเจนก่อน แต่ถ้าเงื่อนไขออกมาไม่สอดคล้องกับแผนงานของ บริษัท เช่น เป็นรูปแบบเดียวกับช่องฟรีทีวีอย่างไอทีวีก็อาจจะไม่ลงทุนล่าสุดได้เปิดตัว บริษัท อราทิส อย่างเป็นทางการเพื่อรุกธุรกิจ บริหารงานส่วนศิลปินครบวงจร
(ผู้จัดการรายวัน 5 ตุลาคม 2548)
จากบะหมี่-ยูสตาร์สู่มติชน บทเรียนต่อยอดธุรกิจอากู๋
ก้าวย่างของแกรมมี่ภายใต้การบริหารของนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรืออากู๋ ที่คิดต่อยอดธุรกิจด้วย การเข้าซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์มติชน และบางกอกโพสต์ จำนวนมากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแม้จะจบลงไปแล้วสมเจตนาแกรมมี่ แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวก็มี "แผลในใจ" ให้อากู๋ได้จำอีกครั้ง!
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2548)
ต้านทุนการเมืองฮุบมติชน
เกมเทกโอเวอร์ "มติชน" ของแกรมมี่ไม่หมู ผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมแสดงจุดยืนไม่ยอมถูกครอบงำจิตวิญญาณสื่อ ระบุมีการวางแผนล่วงหน้าถึงขั้นเตรียมคนพร้อมรอเสียบกรณีกอง บก.ยกทีมลาออกตั้งหัวใหม่ ด้านสื่อฝรั่งมุ่งประเด็นตัวแทนกลุ่มการเมืองรุกควบคุมสื่อ ไทยรักไทยเต้นปัดไม่เกี่ยวกับพรรค ขณะที่ขุนคลัง "ทนง" ระบุเป็นเรื่องของทุนนิยม
(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2548)
ทำไมอากู๋ต้องซื้อ นสพ.
ปฎิบัติการเข้าฮุบกิจการของหนังสือพิมพ์ถึง 2 ฉบับ คือ มติชน และ บางกอกโพสต์ ในคราวเดียวกันของ “อากู๋”-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ในนามของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) วานนี้นับเป็นเรื่องที่ช็อกวงการสื่อมวลชนอย่างมาก
(ผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2548)
แกรมมี่ฮุบมติชน-โพสต์
อากู๋-แกรมมี่ เขย่าวงการหนังสือพิมพ์ เทคโอเวอร์มติชน กวาดหุ้น 32.23% เตรียมรับซื้อราย่อย อีกไม่เกิน 42.78% ราคาหุ้นละ 11.10 บาท คาดถือหุ้นเกินครึ่งแน่ ในขณะที่กำหุ้นบางกอกโพสต์ไว้แล้ว 23.60% ใช้เงินกู้ 2,000 ล้านจากไทยพาณิชย์ กองบก.มติชน หวั่น ทิศทางข่าวไม่เหมือนเดิม ขณะที่ คนข่าวโพสต์ปักใจเชื่อ มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง ด้านค่ายเนชั่น กลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ถือหุ้นใหญเฉียด 25% ส่งตัวแทนนั่งบอร์ดแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2548)
"สมศักดิ์" ทิ้งทวนท่องเที่ยวแกรมมี่ส้มหล่นรับกว่า100ล.
สมศักดิ์ทิ้งทวนงบกระตุ้นท่องเที่ยว 600 ล้านบาท สั่งเดินหน้า 7 โครงการกิจกรรมพิเศษ แกรมมี่นำโด่ง ได้งานกว่า 100 ล้านบาท ขณะที่ เจเอสแอล ได้เกือบ 100 ล้านบาท อันดับสาม บีอีซี-เทโร บริษัทในเครือของตระกูล มาลีนนท์ รับงาน 50 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2548)
จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ลุยจัดทัพ ยอมรับเลย์ออฟแค่ 0.008 %
จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ลุยจัดโครงสร้างธุรกิจเป็น 5 กลุ่ม ตั้งบอร์ด 5 คนดูแลการตลาดของธุรกิจเพลง หลังกระจัดกระจายกว่า 16 ค่ายเพลง ส่ง "พี่ฉอด” คุมธุรกิจโชว์บิซป้องกันปัญหาจัดกิจกรรมและคอนเสิร์ตซ้ำซ้อนกัน โต้ข่าวเลยออฟพนักงานเป็นร้อยคน แต่ยอมรับมีแค่ 21 คน คิดเป็น 0.008% เท่านั้น เหตุทำงานไม่รับผิดชอบ ไร้ประสิทธิภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2548)