กลุ่มทรูยืนหยัดเป็นบริการสื่อสารไทย ไม่ก้มหัวให้ต่างชาติคุมอำนาจบริหาร
กลุ่มทรูย้ำชัดจะยืนหยัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในแบบของคนไทย ไม่ยอมให้ต่างชาติกุมอำนาจบริหาร กระทุ้งรัฐหากไม่ปลดแอกสัญญาสัมปทานผู้ให้บริการอาจกัดฟันลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 3 จี แม้จะกระทบเศรษฐกิจประเทศ ส่วนแผนการลงทุนปีหน้าอัดอีกหมื่นล้านบาทขยายเครือข่าย ล่าสุดเปิดสถานีฐานที่ประยุกต์เทคโนโลยีให้เข้ากับธรรมชาติในแบบต้นกระจาว
(ผู้จัดการรายวัน 5 ธันวาคม 2548)
ทรูยึดUBCจัดทัพธุรกิจ
ทรูใช้เงิน 6 พันล้านซื้อหุ้นยูบีซี จาก MIH เพื่อเป็นเจ้าของเบ็ดเสร็จ ต่อยอดบริการครบวงจร เป็นเจ้าของโครงข่าย และเนื้อหา เชื่อมโลกโทรคมนาคมกับมีเดียเป็นหนึ่งเดียว ลดปัญหาความซ้ำซ้อนของ ไอพีทีวีกับเปย์ทีวี ไม่ต้องรอว่าจะขอใบอนุญาตจาก กสช .หรือ กทช. เตรียม ถอนจากตลาดหุ้นต้นปีหน้า รับซื้อรายย่อยหุ้นละ 26.50 บาท ทุ่มอีก 400 กว่าล้านบาทซื้อเคเอสซีอินเทอร์เน็ตจากเอ็มเว็บ เผยทำให้โครงสร้างบริษัท ชัดเจน ง่ายต่อการหาพันธมิตรต่างชาติ
(ผู้จัดการรายวัน 8 พฤศจิกายน 2548)
"ศุภชัย" ชี้รัฐมี 2 ทางเลือกแข่งเสรีโทรคมซื้อสัมปทานคืนกับแปรสัญญาสัมปทาน
" ศุภชัย" ย้ำชัดรัฐจะแข่งเสรีในกิจการโทรคมนาคมมี 2 ทางออกคือ ซื้อสัมปทานที่ให้เอกชนไปคืนเหลือไลเซนส์เดียวกับแปรสัญญาสัมปทาน ส่วนสงครามราคามือถือตีกันคู่แข่งหากลงมาบี้ มีโอกาสดัมป์ราคาอีก ล่าสุดวัดดวงกับธุรกิจเน็ตคาเฟ่รูปแบบใหม่ หวังเสริมบริการบรอดแบนด์ ตั้งเป้าปีหน้า 100 สาขา
(ผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2548)
"ศุภชัย" โวยทีโอทีกีดกันการค้าออเร้นจ์
ศุภชัยโวยทีโอที กีดกันการค้ากรณีไม่ยอมจัดสรรเลขหมายให้ออเร้นจ์ ด้าน กทช.ให้เอกชนที่เดือดร้อนส่งหนังสือเร่งรัดให้ออกกฎเกณฑ์ เพื่อใช้ออกมาตรการชั่วคราวจัดสรรเลขหมาย ส่วนกรณีบล็อกสัญญาณ กทช. เตรียมเรียกทุกฝ่ายแบข้อมูลเทคนิคหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤษภาคม 2548)
ทีเอ ออเร้นจ์จับมือเอสเค เทเลคอมขยายธุรกิจNon-voiceในไทย
ทีเอ ออเร้นจ์ ลงนามเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ เอสเค เทเลคอม สื่อสารไร้สายชั้นนำในเกาหลี มูลค่า 250 ล้านบาท หวังอาศัยประสบการณ์ของเอสเค เทเลคอม ที่ช่ำชองขยายตลาด Non-Voice ในไทย ขณะที่เอสเค เทเลคอมสู่เป้าหมายการเป็น "โกลบอลเพลย์เยอร์"
(ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2547)
ทีเอทุ่ม100ล้านสร้าง"ทรู" ผสานเทคโนฯเข้าวิถีชีวิต
ปิดฉากทีเอเริ่มนับหนึ่ง แบรนด์ทรู "ศุภชัย" ย้ำถึงจุดบรรจบระหว่างการหล่อหลอมเทคโนโลยี
กับการเปลี่ยนแปลงความต้องการลูกค้า เป็นปัจจัยหลักที่ทรูต้องเป็นทางออกสำหรับการให้บริการลักษณะโซลูชันเต็มรูปแบบ
และสนองความต้องการชนิดเติมเต็มให้กับลูกค้า
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2547)
บิ๊กทีเอออเร้นจ์เปิดใจขอเป็นมือถือเบอร์สาม
"ศุภชัย เจียรวนนท์" เปิดใจครั้งแรกหลังแยกทาง "ออเร้นจ์"
ประกาศเดินหน้าธุรกิจมือถือยึดอันดับสามที่แข็งแกร่ง เลิกไล่ล่าเอไอเอส ดีแทค สร้างตลาดบน
5 ยุทธศาสตร์หลัก เร่งเครื่องขยายเครือข่ายอันดับแรกด้วยงบลงทุนไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน
มั่นใจสร้างฐานลูกค้าสู่จุดคุ้มทุน 3 ล้านรายกลางปีหน้า ดีเดย์ 1 เม.ย.เปิดตัวแบรนด์ทรู
(ผู้จัดการรายวัน 19 มีนาคม 2547)
ออเร้นจ์หนีTAขาดทุน2หมื่นล.ศุภชัยซื้อหุ้นคืน
บทเรียนราคาแพงออเร้นจ์ เอสเอ ถอนยวงจากทีเอโอ ด้วยการขายหุ้น 39%หรือ 819 ล้านหุ้น
แค่บาทเดียวให้ทีเอ คงเหลือหุ้นเพียง 10%หรือ 210 ล้านหุ้น 2,100 ล้านบาท หากเทียบราคาพาร์
ตอนออเร้นจ์ลงทุน 2.2 หมื่นล้านบาทตอนแรก เท่ากับขาด ทุนยับเยิน 2 หมื่นล้าน ด้าน
"ศุภชัย" ย้ำมีเวลา 3 ปีเปลี่ยนแบรนด์ออเร้นจ์ เป็นทรู มั่นใจการถือหุ้นใหญ่ทำให้ธุรกิจทีเอโดยรวมดีขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2547)
ทีเอวางแผนเพิ่มทุน6พันล้าน ไม่ปิดโอกาสชินคอร์ปร่วมหุ้น
ศุภชัย เชื่อโอกาสมากกว่า 50% ออเร้นจ์จะไม่ถอนหุ้นจากทีเอ ไตรมาส 2 เดินหน้าจัดโครงสร้างการเงินเตรียมเพิ่มทุนกว่า
6 พันล้าน และรีไฟแนนซ์ หนี้ใหม่หมด ไม่ปิดโอกาสกลุ่มชินคอร์ปเข้าถือหุ้น เผยเป็นเรื่องอนาคต
ด้านเอไอเอส ปรับโครงสร้างบริหาร พร้อมอัดงบอีก 1.4 หมื่นล้านบาท หวังดันรายได้ให้ถึงเป้าที่วางไว้ปีนี้
1.3 แสนล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 13 กุมภาพันธ์ 2547)