ธปท.เปิดทางธ.พาณิชย์ถือหุ้นบ.ในเครือ100%
แบงก์ชาติ เดินหน้าแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นสถาบันการเงินในเครือได้ทั้ง
100% จากเดิมให้ถือได้ไม่เกิน 10% โดยธปท.จะเข้าไปคุมเข้มทั้งระบบ เพื่อป้องกันความเสียหาย
ขณะที่ นายกรัฐมนตรี เผย "เอส แอนด์ พี" พอใจตัวเลขเศรษฐกิจไทย แต่ยังกังวลระบบสถาบันการเงินและ
การศึกษา ด้าน "บัณฑูร ล่ำซำ" หวั่นหนี้เอ็นพีแอลรอบใหม่ หลังจากแบงก์แข่งขัน กันอย่างรุนแรง
แนะให้แบงก์ชาติเข้าไปตรวจสอบระบบการปล่อยสินเชื่อ
(ผู้จัดการรายวัน 23 กรกฎาคม 2546)
กองทุนฟื้นฟูฯเล็งประมูลลูกหนี้รอบใหม่ ก.ย.นี้
กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมขายทอดตลาดสิทธิเรียกร้องลูกหนี้อีกครั้งในเดือนกันยายนนี้
ตั้งเป้าหมายขายได้ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด ขณะที่การเพิ่มกลุ่มผู้เข้าประมูลสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ยังรออนุมัติจากก.ล.ต. ด้านระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารด้วยการใช้ภาพ คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปีหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 21 กรกฎาคม 2546)
ธปท.แจงเก็บค่าฝากเงินแค่บอกลูกค้าก่อน 10 วัน
แบงก์ชาติ ออกโรงปฏิเสธกรณีไฟเขียวให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝาก
ระบุเป็นเรื่องปกติที่แต่ละแบงก์สามารถทำได้ แต่ห้ามคิดในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น
และต้องแจ้งลูกค้าก่อนล่วงหน้า 10 วัน เพื่อให้เจ้าของบัญชีรับทราบ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ฝากเงิน
ร้องเรียนได้หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ล่าสุดพบธนาคารไทย-เทศที่เก็บค่าธรรมเนียมแล้วรวม
6 แห่ง
(ผู้จัดการรายวัน 17 กรกฎาคม 2546)
เปลี่ยนแบงก์คิด-ทำใหม่ ปล่อยกู้ด "แนวโน้มกำไร"
ธปท. เดินหน้าผลักดันเปลี่ยนแปลงระบบพิจารณา สินเชื่อแบงก์ จากปัจจุบันใช้หลักประกันเป็นหลัก
เป็นการพิจารณา ควบคู่กับความสามารถดำเนินการ และกำไรธุรกิจ รวมถึงเงินทุนหมุน
เวียน ลักษณะเดียวกับปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่คลังเร่งปรับโครงสร้างและระบบการบริหารใหม่
เพื่อ ก้าวสู่ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อนาคต ตามนโยบายทักษิณ
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2546)
วายุภักษ์กำไร2.25%ขึ้นทักษิณสั่งทางเลือกปชช.
ครม. ไฟเขียวตั้ง 2 กองทุนวายุภักษ์ขั้นสุดท้ายแล้ววานนี้ มูลค่าประเดิมไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท
วายุภักษ์ 1 เน้นนักลงทุนรายย่อย ขั้นต่ำรายละ 50,000 บาท การันตีกำไรขั้นต่ำ 2.25%
ต่อปี ขณะที่วายุภักษ์ 2 เน้นขาใหญ่ ลงทุนขั้นต่ำล้านบาท ทักษิณสั่งเร่งตั้ง เป็นทางเลือกประชาชน
(ผู้จัดการรายวัน 2 กรกฎาคม 2546)
วายุภักษ์ไม่ก่อหนี้ไทยเพิ่ม
ขุนคลังยืนยันการตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ จะไม่สร้างสร้างภาระหนี้สินให้ประเทศเพิ่ม
เพราะรัฐบาลไม่ได้ค้ำประกัน พร้อมนำเข้า ครม. ไฟเขียวครั้งสุดท้ายวันนี้ (1 ก.ค.) ขณะที่คลังเตรียมเสนอชื่อ
ตัวแทนร่วมบอร์ดฟื้นฟูฯ ทีพีไอ ให้ ศาลล้มละลายกลางแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 1 กรกฎาคม 2546)
ใช้จ่ายผ่าน"บัตรเครดิต"สูง ไตรมาส1หนี้ขยายต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยปริมาณบัตรเครดิตไตรมาส 1 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง จำนวนบัญชีหรือปริมาณบัตรเครดิตหลักในระบบ
เพิ่มขึ้นประมาณ 3.7% จากไตรมาส 4 ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นไตรมาสแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเปลี่ยนแบบรายงานใหม่
โดยจะรายงานตัวเลขปริมาณบัญชี ทดแทนปริมาณบัตรเครดิตทั้งหมด
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2546)
3แบงก์ใหญ่ขยับตัว รับมือจุดเปลี่ยนเกมแข่งขัน
3 แบงก์ใหญ่เอกชนพร้อมปรับตัวรับจุดเปลี่ยนเกมแข่งขันกับแบงก์ กรุงไทย ซึ่งเป็นกลไกของรัฐ
ยอมรับว่าแบงก์รัฐได้เปรียบแง่ต้นทุน แต่ต่างเร่งหาบริการ เสริมสร้างความพอใจลูกค้า
และรายได้ บิ๊กแบงก์กรุงเทพชี้ถ้าแข่งกันเรื่องราคาแล้วเกิดผลกระทบต่อระบบ เป็นหน้าที่ธนาคารชาติต้องดูแล
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2546)
เดินหน้า"วายุภักษ์" 2กองทุน "แยกคนชอบเสียง-ไม่เสียง"
ทักษิณประกาศตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์รวดเดียว 2 กอง เพิ่มทางเลือกประชาชนที่ชอบ-ไม่ชอบความเสี่ยง
ในภาวะดอกเบี้ยเตี้ยต่ำติดดิน คาดพร้อมเปิดขายภายใน 1 เดือน ข้างหน้า แยกขายนักลงทุน
2 กลุ่ม กองแรก ขายรายย่อยวงเงิน ตั้งแต่ 5 หมื่นบาทขึ้นไป ผลตอบแทนตายตัว แต่สูงกว่าดอกเบี้ย
เงินฝาก ไร้ความเสี่ยง
(ผู้จัดการรายวัน 27 มิถุนายน 2546)
BBLเล็งปรับดอกเบี้ยกู้หวั่นเสียส่วนแบ่งตลาด
แบงก์กรุงเทพ ระบุประเทศไทยยังอยู่ในกระแส เงินฝืดและการแข่งขันที่กดดันให้ ดอกเบี้ยลดลง
เตรียมพิจารณาปรับดอกเบี้ยตามแบงก์อื่นรักษา มาร์เกตแชร์ "โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์"
หวังให้แบงก์พาณิชย์มีบทบาทต่อเศรษฐกิจประเทศ หลังฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ มองแบงก์ไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนไถ่เข้าจุดสมดุล
(ผู้จัดการรายวัน 26 มิถุนายน 2546)