Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ81  
Positioning5  
ผู้จัดการรายวัน543  
ผู้จัดการรายสัปดาห์16  
PR News22  
Web Sites1  
Total 652  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > ธนาคารแห่งประเทศไทย


ผู้จัดการรายวัน (251 - 260 of 543 items)
ยอดบริโภคภาคเอกชนเม.ย.ทรุดห่วงกระทบการผลิต-ลงทุนใหม่ แบงก์ชาติรายงานตัวเลขการจำหน่ายสินค้าภาคเอกชนเดือนเมษายน พบยอดการบริโภคประชาชนชะลออตัวตั้งแต่ต้นปี 49 โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ห่วงหากลากยาวอาจกระทบต่อแนวโน้มการผลิตและลงทุนใหม่ในอนาคต(ผู้จัดการรายวัน 14 มิถุนายน 2549)
ขาดดุลเดินสะพัดอีก 3 ปี เงินเฟ้อเดือน พ.ค.พุ่ง 6.2% ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติยอมรับขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก 2-3 ปี เซอร์ไพรส์ปี 49 เพิ่งมาขาดดุลในเดือน เม.ย. มองแง่ดีราคาน้ำมันใกล้จุดสูงสุดแล้ว ด้านพาณิชย์เผยเงินเฟ้อ พ.ค.พุ่ง 6.2% “การุณ” เผยสูงผิดปกติเพราะเป็นช่วงจ่ายค่าเทอมและการขึ้นค่าธรรมเนียมรถไฟ ลั่นถ้าน้ำมันหยุดราคาพุ่งเงินเฟ้อจะลดลง เผยปรับเป้าอีกครั้งหลังได้ตัวเลขเดือน มิ.ย.(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2549)
แบงก์ชาติจับตาค่าบาทผันผวนหวั่นต่างชาติทุบหุ้นขนเงินออก "บัณฑิต นิจถาวร" ชี้เริ่มมีเม็ดเงิน ไหลออกมาประมาณ 1 เดือน ต้องจับตาเม็ดเงินลงทุน จากต่างชาติอย่างใกล้ชิด ขณะที่ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติระบุค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง และแข็งค่าในระดับใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน พร้อมเตรียมเข้ารายงานสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไปได้ดีต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ เตือนหากรัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทันตุลาคม 2549 จะกระทบต่องบลงทุนใหม่(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤษภาคม 2549)
ธปท.หนุนควบแบงก์กรุงศรี-จีอีมันนี่ ผู้ว่าฯแบงก์ชาติไฟเขียวจีอี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค ให้เลือกตัดสินใจจะควบรวมหรือจะทำอย่างไรก็ตามสบาย แถมไม่จำกัดช่วงเวลาหากต้องการจบเร็วก็ยื่นเร็ว ระบุมีช่องทางเลี่ยงเกณฑ์ 25% เปิดรออยู่แล้ว "ธาริษา" หนุนใช้แนวทางควบรวมเป็นทางออกเข้ากฎหนึ่งสถาบันการเงินหนึ่งรูปแบบ(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤษภาคม 2549)
ธปท.เผยออมภาคครัวเรือนทรุดสวนทางดบ.ขึ้น-ออมสินยังเดี้ยง แบงก์ชาติระบุ แม้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แต่เงินออมภาคครัวเรือนของไทยยังเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดเงินฝากภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มเพียง 7.5% ผลจากค่าครองชีพเพิ่มขึ้นและแบงก์ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ ขณะที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐปรับตัวสูงขึ้นยกเว้นออมสิน!(ผู้จัดการรายวัน 19 พฤษภาคม 2549)
ธปท.เผยยอดสินเชื่อQ1เพิ่มแสนล. แบงก์ชาติเผยยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบ ณ สิ้นเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท ภาคการผลิตมีการขออนุมัติสินเชื่อมากที่สุด รวมถึงยอดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มอเตอร์ไซค์พุ่งสวนกระแสราคาน้ำมันแพง เตือนแบงก์พาณิชย์ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เร่งปรับตัวและระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น(ผู้จัดการรายวัน 15 พฤษภาคม 2549)
ชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2-3 มีสิทธิ์ร่วงส่งออก-ใช้จ่ายภาคเอกชนตัวแปรสำคัญ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มี การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจประจำเดือนมีนาคม 2549 ออกมา ก็เริ่มมีการพูดถึงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส แรกของปี...โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยนำร่องประเมินตัวเลข GDP ในไตรมาสแรก ปี 2549 ที่จะประกาศในต้นเดือนมิถุนายนว่า อาจจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2549)
ธปท.ยอมรับเงินเฟ้อหลุดเป้ารอตัวเลขพ.ค.ก่อนปรับแผน หม่อมอุ๋ยยอมรับเงินเฟ้อกระทรวงพาณิชย์เดือน เม.ย. 6% สูงกว่าคาดการณ์ของแบงก์ชาติ ระบุต้องติดตามเดือนต่อๆ ไปอีกครั้งก่อนปรับนโยบายที่เหมาะสม ยันยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนประมาณการแบงก์ชาติครั้งล่าสุดภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดิบดูไบ 61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4-5%(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2549)
ธปท.จับตาหนี้ครัวเรือนช่วงดบ.ขึ้นหวั่นกระทบความสามารถชำระ หนี้ แบงก์ชาติ จับตาหนี้ภาคครัวเรือน หลังดอกเบี้ยปรับตัวในช่วงขาขึ้น หวั่นกระทบความสามารถในการชำระหนี้ ชี้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลยังเพิ่มสูง ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลกระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีแนวโน้มเติบโตต่อ(ผู้จัดการรายวัน 2 พฤษภาคม 2549)
อุ๋ยสารภาพแทรกแซงบาทตั้งแต่พ.ย.48-แฉเงินร้อนทะลัก4.4แสนล้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทตั้งแต่ค่าเงินบาท และเงินในสกุลภูมิภาคเอเชียเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่เดือน พ.ย.2548 ที่ผ่านมาหรือนานกว่า 5 เดือน โดยการแทรกแซงครั้งนี้ถือว่าเป็นช่วงที่หนักที่สุด เพราะแรงกดดันจากเงินทุนตามนโยบายของสหรัฐมาอย่างรุนแรง และรวดเร็วกว่าทุกครั้ง(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2549)

Page: ..21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 ..





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us