ธปท.ผวาหนี้บัตรเครดิต
ธปท.เผยแบงก์พาณิชย์ให้สินเชื่อภาคธุรกิจน้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่ออุตสาหกรรมและการพาณิชย์ เหตุการขยายตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนที่ชะลอลง แต่เชื่อภาคธุรกิจหันขอกู้แบงก์มากขึ้นหลังออกมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ต้นทุนกู้นอกประเทศพุ่งสูง ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตเริ่มมีสัญญาณของความเปราะบางจากยอดคงค้างสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลโดยเฉพาะนอน-แบงก์ยอดผิดนัดชำระหนี้ขยับขึ้นด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2550)
เว้น30%เงินกู้นอกทุกประเภท
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง30%ของเงินตราต่างประเทศในกรณีการกู้เงินจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยว่า ในขณะนี้มาตรการที่ ธปท.กำลังพิจารณาอยู่นั้น จะเป็นมาตรการผ่อนคลายที่ครอบคลุมเงินกู้จากต่างประเทศในทุกประเภท จากเดิมที่ดูในส่วน สำหรับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ โดยจะแยกประเภทเงินกู้ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น ธุรกิจใดที่มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ธุรกิจประเภทนี้จะทำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะก็อาจจะได้รับการยกเว้นมาตรการนี้
(ผู้จัดการรายวัน 26 มกราคม 2550)
หนี้เน่าแบงก์ไตรมาส4วูบ50%ผลเกณฑ์IAS39-เร่งแก้เอ็นพีแอล
แบงก์ชาติเผยยอดเอ็นพีแอลแบงก์พาณิชย์หลังใช้เกณฑ์ IAS 39 ลดวูบ 49.1% จากยอดสิ้นสุดไตรมาส 3 ที่อยู่ในระดับ 4.85 แสนล้านหรือ 8.19% เหลือ 2.38 แสนล้านหรือ 4.15% ระบุผลจากการเปลี่ยนการรายงานหนี้เอ็นพีแอล ที่กำหนดให้ไม่ต้องรายงานหนี้เสียขาดส่งตั้งแต่ 3 เดือน แต่มีหลักประกันเพียงพอต่อการชำระหนี้เป็นหนี้เอ็นพีแอล
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2550)
ธปท.ลดดอกเบี้ยกระตุ้นศก.
แบงก์ชาติประเดิมใช้ดอกเบี้ยนโยบายใหม่ที่ 4.75% หรือลดลงจากอาร์พี 14 วัน 0.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อมกราคม ที่จะมีการประชุมขึ้นในวันที่ 26 นี้ จะมีการปรับลดเป้าจีดีพีและเครื่องชี้เศรษฐกิจตัวอื่นๆ เหตุการลงทุนและการบริโภคยังชะลอต่อเนื่อง เชื่อแบงก์พาณิชย์จะมีรายได้จากการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 18 มกราคม 2550)
หนี้นอกQ3/49เพิ่ม500ล.เหรียญภาคเอกชนปรับตัวกู้สกุลเงินบาท
แบงก์ชาติเผยล่าสุดไตรมาส 3 ของปี 49ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนแค่ 500 ล้านเหรียญ โดยธุรกิจที่ก่อหนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจสินเชื่อและการลงทุน บริการทางการแพทย์ ธุรกิจโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตไฟฟ้า ขณะเดียวกันธุรกิจของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารหันมากู้ยืมจากบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือที่อยู่ในต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาทมากขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันสัดส่วนหนี้สกุลเงินบาทยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 35% จากปี 43 ถือเป็นปีแรกที่มีการสำรวจหนี้ประเภทนี้อยู่ที่ระดับ 8%
(ผู้จัดการรายวัน 15 มกราคม 2550)
แบงก์ตุนบาทดันสภาพคล่องตึง ธาริษาชี้แค่ระยะสั้นธปท.คุมได้
แบงก์ชาติปัดมาตรการ 30% ทำสภาพคล่องตึงตัว เผยแบงก์สำรองเงินไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายจากอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 14 วันเป็น 1 วันและการเปลี่ยนการกันสำรองรายปักษ์ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 17ม.ค.นี้ ทำแบงก์ต้องสำรองเงินเตรียมไว้ "ธาริษา" แจงกฎหมายต่างด้าวเข้มไม่กระทบแบงก์ไทย
(ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2550)
ธปท.หวังยอดขาดดุลสกัดบาทแข็งแจงเหตุคงสำรอง30%หวั่นเงินร้อนไหลกลับ
แบงก์ชาติพอใจค่าบาทเริ่มนิ่งหลังเจอยาแรง เชื่อปีนี้ไม่เหวี่ยงแรง เหตุการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะช่วยกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว พร้อมยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หวั่นเงินร้อนไหลกลับมาป่วนอีกระลอก แต่จะมีการทบทวนในบางส่วนที่ซ้ำซ้อน "ธาริษา"แจงรายละเอียดหลังถูกกดดันให้ยกเลิกมาตรการ ระบุต่างชาติมีผลตอบแทนจากตลาดหุ้นเป็นกำไรจากค่าเงินบาทมากกว่ากำไรจากการลงทุนมาก หลังหักสำรองต้นทุนเพิ่มไม่มาก
(ผู้จัดการรายวัน 9 มกราคม 2550)
น้ำมัน-ดบ.พ่นพิษบจ.กำไรวูบ
แบงก์ชาติฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง แม้บความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจลดลง รับผลกระทบราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่ความสามารถในการชำระหนี้ยังไม่มีปัญหา
(ผู้จัดการรายวัน 3 มกราคม 2550)