หนี้เน่าQ4ลด2หมื่นล.-แบงก์เล็กพุ่งสวนทาง
ธปท.เผยตัวเลขหนี้เอ็นพีแอลไตรมาส 4 ของปี 50 ลดลงจากไตรมาสก่อนกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 8.76%ของสินเชื่อรวม เหตุมีการขายหนี้เน่าให้แก่บบส.บริหารต่อพร้อมทั้งตัดหนี้สูญที่ตามไม่ไหว ขณะที่สถาบันการเงินประเภทต่างๆ ล้วนเดินหน้าลดหนี้กันมีเพียงบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่มีหนี้พุ่ง ซึ่งเกิดจากบค.เอเซีย ขณะที่ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย-ทิสโก้-ธนชาตสวนกระแสระบบหนี้กลับพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2551)
พบเก็งกำไรบาท “ผิดปกติ” - ธปท.ลุยแทรกแซง-คง 30%
“แบงก์ชาติ” ระบุการซื้อขายเงินบาทขณะนี้ผิดปกติ มีแรงเก็งกำไรทำให้เข้าไปแทรกแซงเพื่อลดความผันผวน และชะลอการแข็งค่าต่อเนื่อง สายตลาดเงินสั่งเพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ที่ไม่มีธุรกรรมการค้า และการลงทุนรองรับ ซึ่งเป็นการซื้อขายในลักษณะเก็งกำไรค่าบาท ไว้เป็นข้อมูลในการแทรกแซง ยืนยันสถานการณ์ยังไม่เหมาะล้ม 30% ส่วนค่าเงินบาทวานนี้อ่อนค่าไปอยู่ที่ 33.13 บาทต่อดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 22 มกราคม 2551)
ธุรกิจยังผวาน้ำมันทำต้นทุนพุ่ง
แบงก์ชาติเผยนักธุรกิจมีความมั่นใจที่จะลงทุนในปีนี้มากขึ้น หลังเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในการลงทุนบ้างแล้ว รอเพียงความชัดเจนของนโยบายด้านการเมือง ด้านความเสี่ยงนักธุรกิจยังมีความกังวลปัญหาราคาน้ำมันที่ยังแพงต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อกำไรและต้นทุนทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดต้นทุนค่าแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกำลังซื้อผู้บริโภคและการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศในอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 21 มกราคม 2551)
บาทแข็งส่อยาว ธปท.รอดอลลาร์ฟื้น
แบงก์ชาติหมดมุขแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ผู้ว่าฯ บอกได้แค่ดอลลาร์มีแนวโน้มตีกลับได้ วอนผู้ส่งออก-นำเข้าให้ความร่วมมือไม่เก็งกำไร แนะป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ เผยคนไทยเก็งกำไรมากกว่าต่างชาติที่แม้เทขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมายังเก็บไว้ในบัญชีนอนเรสซิเด้นท์บาท ไม่เชื่อนักเก็งกำไรจับทิศทางการทำงานได้ ด้านขิงแก่ถกเอกชนเมินค่าเงินบาทกลับคุยโวผลงานเศรษฐกิจในรอบปีน่าพอใจ
(ผู้จัดการรายวัน 18 มกราคม 2551)
ขานรับแบงก์ชาติคงสำรอง30% แนะผุดมาตรการรับมือบาทก่อนยกเลิก
นายแบงก์-นักวิชาการเห็นด้วยธปท.คงมาตรการกันสำรอง 30% ระบุเพื่อรักษาเสถียรภาพของเงินบาท ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้การผ่อนคลายบางจุดสะท้อนถึงท่าทีของการถอยออกจากมาตรการดังกล่าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากจะยกเลิกจะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ช่วงเวลาที่เหมาะสม - ความชัดเจนในนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และที่สำคัญความพร้อมในการรับมือความผันผวนของกระแสเงินทุน
(ผู้จัดการรายวัน 19 ธันวาคม 2550)
ธปท.โว 30% สกัดเก็งบาท ผ่อนผันกองทุนอสังหาฯ แล้ว
ธปท.แถลงผลงานหลังมาตรการ 30% ครบ 1 ปี ฟุ้งช่วยค่าบาทมีเสถียรภาพ-ลดเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร โดยช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีเงินทุนไหลเข้า 6,958ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี49 ที่มีเงินทุนไหลเข้ามากถึง 13,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งผ่อนคลายมาตรการสำรอง30%เพิ่มเติม โดยเฉพาะกองทุนอสังหาฯ และคลายกฎเงินทุนขาออก
(ผู้จัดการรายวัน 18 ธันวาคม 2550)
ยอดใช้บัตรเครดิตต.ค.เพิ่ม 6%
ธปท.เผยในช่วงเดือนต.ค.ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 6% หรือเพิ่มขึ้นกว่าหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบงก์ชาติระบุไม่น่าหว่ง แม้ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอก็ไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ แต่เป็นการหันมาใช้จ่ายบัตรเครดิตซื้อสินค้าที่จำเป็นแทนเงินสด
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2550)
ธปท.ซาวเสียงผ่อนเกณฑ์คุมแบงก์ หวั่นศก.ชะลอกระทบฐานะ-สินเชื่อ
ธปท.มีแผนจะทบทวนการนำมาตรฐานสากลต่างๆมาใช้กับระบบสถาบันการเงินไทย หลังเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามเป้า หวั่นสร้างแรงกดดันในการดำเนินธุรกิจของแบงก์ โดยจะลดหย่อนความเข้มข้นการนำเกณฑ์มาตรฐานสากลมาใช้ให้เหมาะสมกับฐานะการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยก่อนจะเพิ่มความเข้มสู่ระดับสากล ขณะที่สหรัฐมีการเลือกนำมาตรฐานสากลมาใช้บางส่วนเฉพาะแบงก์ที่ทำธุรกรรมระหว่างประเทศเท่านั้น
(ผู้จัดการรายวัน 11 ธันวาคม 2550)
ธปท.หวั่นตลาดการเงินโลกผันผวน สั่งแบงก์คุมเข้มลงทุนCDO-อนุพันธ์
ธปท.หวั่นความผันผวนตลาดโลกสั่งแบงก์คุมเข้มการลงทุนใน CDO และธุรกรรมทางการเงินที่มีอนุพันธ์แฝงให้ประเมินราคาของตราสารอย่างน้อยเดือนละครั้งตามเกณฑ์บัญชีใหม่ IAS39 ระบุหากพบผลขาดทุนให้หักจากเงินกองทุนงวดนั้นทันที หรือผลขาดทุนส่อให้เงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ของธปท.ห้ามแบงก์ลงทุนเด็ดขาดและรายงานการแก้ไขฐานะต่อธปท.ทันที
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2550)
สินเชื่อบ้านพุ่ง3หมื่นล.แบงก์เร่งอัดแคมเปญส่งท้ายดอกเบี้ยขาลง
ธปท.เผยสถาบันการเงินปล่อยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อน โดยแบงก์พาณิชย์-ธอส.เดินหน้าขนแคมเปญชิงปล่อยกู้ส่งท้ายปี ขณะที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าต้นทุนการก่อสร้างจะสูงขึ้น โดยเฉพาะเหล็ก
(ผู้จัดการรายวัน 19 พฤศจิกายน 2550)