ธปท.ผ่อนเกณฑ์ออกบัตรเครดิต
ธปท.ปรับเกณฑ์คุณสมบัติผู้มีบัตรเครดิตใหม่ของธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ กรณีที่ไม่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาทต่อเดือนเป็นประจำ สามารถใช้อนุมัติบัตรเครดิตให้ผู้มีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ ใดๆไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ต่อเนื่อง 6 เดือนย้อนหลัง หรือมีเงินลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนรวมใดๆ รวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จากเดิมที่อนุมัติบัตรเครดิตให้ไม่ได้ พร้อมทั้งผ่อนให้เบิกเกินบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน
(ผู้จัดการรายวัน 24 เมษายน 2551)
ธปท.ห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุดแนะเร่งหนุนการออม-คุมปล่อยกู้
แบงก์ชาติตามติดสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ชี้เป็นหนี้ที่กระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ-ความรู้การเงินน้อย ทำให้หันพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบมากขึ้น แนะเร่งส่งเสริมการออม ดูแลการให้สินเชื่อกับกลุ่มนี้อย่างระมัดระวัง พร้อมศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 16 เมษายน 2551)
"ต้นทุน-เงินเฟ้อ"กดดันศก.-ธปท.ห่วงความเชื่อมั่น
แบงก์ชาติเผยแม้เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลง เหตุผู้ประกอบการธุรกิจกังวลราคาน้ำมันและสินค้าจ่อปรับขึ้นมีผลกดดันให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ผลประกอบการลดลง เผยเงินเฟ้อ 5.4% ขณะที่ดุลการค้าขาดดุล 620 ล้านเหรียญ นับเป็นเดือนแรกในรอบ 10 เดือน เหตุภาคการส่งออกชะลอตัว
(ผู้จัดการรายวัน 1 เมษายน 2551)
ธปท.เล็งจัดเครดิตแบงก์'เน้นบริหารเงินกองทุน'
แบงก์ชาติเตรียมจัดอันดับเครดิตธนาคารพาณิชย์ไทย เน้นพิจารณาผลประกอบการ คุณภาพของการบริหารสินทรัพย์ เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง และการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร ส่วนแผนมาสเตอร์แพลน 2 ที่เน้นการเปิดเสรีในการแข่งขันมากขึ้นล่าสุดมีข้อเรียกร้องจากสาขาต่างชาติให้คิดเงินกองทุนตามบริษัทแม่ในต่างประเทศ ขณะเดียวกันพบสาขาธนาคารต่างชาติ 1 แห่งลงทุนในซับไพรม์ แต่จิ๊บจ๊อย
(ผู้จัดการรายวัน 31 มีนาคม 2551)
ตรึงดอกเบี้ยประคองศก. ธาริษาแจง-โยนคลังกระตุ้น
ผู้ว่าแบงก์ชาติออกโรงแจงเหตุส่งสัญญาณคงดอกเบี้ย กนง. ระบุเป็นเรื่องยากที่จะใช้นโยบาย "ดอกเบี้ย" เพียงอย่างเดียวในการดูแลทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ จี้นำนโยบายการคลังร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่การประชุม SEACEN ชี้เหตุที่เกิดปัญหาซับไพรม์เกิดจากความไม่พอดีใน 3 ด้าน คือ ธนาคารกลางใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไป การกู้เงินมาสร้างภาระผูกพัน และความไม่เข้าใจในการลงทุนที่มีความซับซ้อน
(ผู้จัดการรายวัน 27 มีนาคม 2551)
แบงก์ชาติตรึงดอกเบี้ย-เน้นเสถียรภาพฟื้นศก.
รองผู้ว่าฯ ธปท.ส่งสัญญาณชัด 9 เม.ย.นี้ กนง.ไม่ปรับลดดอกเบี้ยตามเฟด ลั่นดอกเบี้ยจะต้องตอบสนองภาวะในประเทศมากกว่าปัจจัยภายนอก ขณะนี้ดอกเบี้ยเอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน ยกประเด็นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ ธปท.ต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจหนุนมูลค่าเงินสร้างกำลังซื้อในมือประชาชน
(ผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2551)
ธปท.เมินเฟดลดดบ.-ห่วงน้ำมันกดดันเงินเฟ้อ
หมอเลี้ยบให้อำนาจ กนง.กำหนดดอกเบี้ย ผู้บริหารแบงก์ชาติยันประชุมตามวาระปกติ 9 เม.ย. ไม่จำเป็นต้องฉุกเฉิน ลั่นคุมเงินเฟ้อเป็นหลัก "อัจนา" ยกกรณีลดดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต เคยพังที่สหรัฐมาแล้ว ส่วนบาทแข็งไม่มีปัญหาในการแข่งขัน "ธาริษา" เผยไทยสูญเสียความสามารถการแข่งขันแค่ 1.8% เทียบกับจีนที่แข็งเพิ่มถึง 8% ด้านเงินบาทถูกแทรกแซงปิดที่ 31.39 คาดวันนี้ผันผวนแข็งค่า
(ผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2551)
ธปท.เชื่อเงินเฟ้อพุ่งไม่กระทบจีดีพี
ธปท.ชี้แม้เงินเฟ้อพุ่งก็ไม่กระทบที่คาดการณ์ไว้แล้วจากสมมติฐานราคาน้ำมัน มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังโตได้ตามเป้าหมายเดิม 6% ส่วนกรณีที่นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยถึง 0.75% ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ มั่นใจส่วนต่างดอกเบี้ยและบาทแข็งไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก เพราะยังมีการลงทุนหลากหลายประเภทที่ไม่พึ่งพาดอกเบี้ยอย่างเดียว แต่จะติดตามสถานการณ์ต่อไปและดูแลไม่ให้กระทบเงินเฟ้อและการเติบโตเศรษฐกิจไทย
(ผู้จัดการรายวัน 6 มีนาคม 2551)
ธปท.ขู่ฟื้น30%สกัดเก็งบาท ประสารชี้กนง.ลดดอก0.5%
แบงก์ชาติพอใจผลงานดูแลค่าเงิน หลังเลิกสำรอง 30% บาทเริ่มนิ่งและอ่อนค่าลงประมาณ 10 สตางค์ พร้อมจับตาธุรกรรมแบงก์พาณิชย์-การลงทุนในตลาดตราสารหนี้อย่างใกล้ชิด ขู่หากพบการเก็งกำไร อาจต้องงัดมาตรการมาควบคุมอีก "ประสาร" คาดในการประชุม กนง.ครั้งหน้าอาจลดอาร์พีถึง 0.50% หากเฟดปรับดอกเบี้ยลงในประชุมวันที่ 18 มีนาฯ นี้ อีก 0.75% บิ๊กอสังหาฯ คาดเงินทุนไหลเข้า หนุนสภาพคล่องในระบบเพิ่ม เตือนอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
(ผู้จัดการรายวัน 5 มีนาคม 2551)
อินไซด์ 30% ฟันกำไรบาทเลี้ยบขออุ้มธาริษา 3 เดือน
"หมอเลี๊ยบ" ขึงขังยังไม่ปลด "ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ" ในระยะเวลา 3 เดือนนี้ ยันยังเข้าขากันดี ปัดตอบ "ธีระชัย" เหมาะสมกว่า "ธาริษา" แบงก์ชาติหวัง พ.ร.บ.ธปท.ช่วยคุมบาทได้ผลดีขึ้น ขณะที่บาทวานนี้ถูกแทรกแซงจนอ่อนค่าที่ 31.60 เอกชนจวกยับเลิก 30% ไร้มาตรการควบคุม เชื่อมีการใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) รวยค่าเงิน เหตุ 7 วัน บาทแข็งค่า 5% แถมออกมาตรการทีหลัง-ไร้ผล ให้เวลา 1 สัปดาห์หากบาทยังแข็งกว่าภูมิภาค รัฐบาลต้องทบทวนมาตรการและต้องเป็นยาแรง
(ผู้จัดการรายวัน 4 มีนาคม 2551)