MFCตั้งกองทุนคันทรีฟันด์ ดึงเงินนอกลุยเมกะโปรเจกต์
เอ็มเอฟซีเตรียมคลอดคันทรีฟันด์ 2 กอง ระดมทุนจากต่างประเทศลุยเมกะโปรเจกต์ ประเดิม "กองทุนไทยแลนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์" มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท ระดมเงินลงทุนจากตะวันออกกลางและยุโรป ร่วมลงทุนในโครงการยักษ์และหุ้น ไอพีโอรัฐวิสาหกิจ เผยอนาคต เตรียมออกกองทุนแมทชิ่งฟันด์ระดมเงินทั้งไทยและเทศเป็นกองต่อไป หนุนรัฐตั้ง "ซูเปอร์โฮลดิ้ง" คุมการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 12 ตุลาคม 2548)
MFCตั้งกองทุน1.5หมื่นล้าน ดึงเงินต่างชาติลงทุนเมกะโปรเจกต์
MFC สนองนโยบายรัฐ ตั้งกองทุน ไทยแลนด์อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ มูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ดึงเงินนักลงทุนต่างชาติลงทุนตราสารหนี้-ตลาดหุ้น หนุนเมกะโปรเจกต์รัฐบาล ระบุเพื่อส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศที่มีความเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐกิจและต้องการลงทุนในตราสารการเงินในประเทศไทย
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2548)
บลจ.เปิดศึกแย่งฐานลูกค้าเงินฝากลุยเปิดตัวกองทุนพันธบัตรรัฐบาล
ยุคเงินเฟ้อพุ่ง-ดอกเบี้ยฝากติดลบ บลจ.สบช่องแย่งฐานลูกค้าเงินฝากแบงก์ ด้วยการเปิดตัวกองทุนพันธบัตระยะสั้น 6 เดือน และ 1 ปี ยั่วน้ำลายลูกค้าที่ต้องการพักเงิน เพื่อรอจังหวะลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงิน "ไอเอ็นจี-บีที-เอ็มเอฟซี" เปิดตัวกองทุนพันธบัตร ท้าชนภายในกลางเดือนนี้ คาดผลตอบแทน 2.5-2.8% ต่อปี
(ผู้จัดการรายวัน 8 สิงหาคม 2548)
เอ็มเอฟซีเปิดซิงพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ อพาร์ทเมนต์ให้เช่าผลตอบแทน6%
“เอ็มเอฟซี” ลุยกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในอพาร์ทเมนต์ให้เช่ารองรับนักธุรกิจต่างชาติ มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เผยผลตอบแทน 5-6% เปิดขายมิถุนายนนี้ ผู้จัดการกองทุนชี้ เหตุตั้งกองอพาร์ทเมนต์เป็นกองแรก หวังชูผลประโยชน์ที่แท้จริงให้นักลงทุนเห็น พร้อมเล็งเปิดอีก 2 กองในช่วงที่เหลือของปีนี้
(ผู้จัดการรายวัน 24 พฤษภาคม 2548)
MFCตั้งซูคุกลุยตอ.กลางชงก.ล.ต.ผุดตราสารใหม่
"เอ็มเอฟซี" ตีปีกลุยตะวันออกกลาง หลังคณะกรรมการศาสนากองทุนอิสลามิกฟันด์ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนซูคุก กองทุนกึ่งตราสารหนี้กึ่งทุน เน้นลงทุนในตราสารที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา พร้อมร่อนหนังสือส่ง ก.ล.ต. เสนอให้แยกออกมาเป็นตราสารประเภทใหม่ นอกเหนือจากตราสารทุน-ตราสารหนี้-ตราสารอนุพันธ์ ด้าน "พิชิต" เผยแนวทางเบื้องต้น นำอสังหาริมทรัพย์มาทำซีเคียวริไทเซชัน ก่อนนำไปหารือกับอาบูดาบีอิสลามิกแบงก์อีก 1-2 เดือนข้างหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2548)
รัฐบาลจุดพลุ"ซีเคียวริไทเซชั่น" MFC ประเมินปีนี้ 1.2 หมื่นล้าน
บลจ.เอ็มเอฟซีประเมินภาพรวมการออกหุ้นกู้ "ซีเคียวริไทเซชั่น"ในปีนี้ ภาครัฐจะเป็นตัวจุดพลุให้ตลาดตื่นตัว โดยคาดว่าในปีนี้จะมีการออกตราสารประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนของศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ส่วนโครงการระบบราง 4.1 แสนล้านบาท ที่เตรียมทำซีเคียวริไทเซชั่นกว่า 2 แสนล้านบาท คาดเริ่มทยอยออกได้ในปีหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 28 กุมภาพันธ์ 2548)
MFCเปิดแผนหาทุนรถไฟฟ้า7สาย4แสนล.
MFC ชงสูตรระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า 7 เส้นทาง มูลค่า 4.1 แสนล้านบาท แนะใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ป้องกันเอกชนคู่สัญญาสัมปทานชาร์จค่าบริการแพงเกินเหตุ คาดราคาเริ่มต้นที่ 10 บาท สถานีต่อไป 2 บาทต่อสถานี เตรียมหารือกรมธนารักษ์เปิดทางเอกชนร่วม พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รอบบริเวณใกล้เคียงรถไฟฟ้าใต้ดิน ก่อนออก "พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์" เสนอขายนักลงทุน เพื่อสร้างรายได้หล่อเลี้ยงโครงการ
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2548)
กบข.เล็งโยกเงินออมภาคสมัครใจลงเมกะโปรเจกต์
กบข.เตรียมโยกเงินจาก "กองทุนออมภาคสมัครใจ" ที่คาดว่าหลังจากจัดตั้งภายใน 12 เดือน จะมีเม็ดเงินมูลค่า 3-5 พันล้านบาท ลงทุนในโครงการ "เมกะโปรเจกต์ระบบราง" ที่เตรียมทำ "ซีเคียวรีไทเซชัน" กว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่ผลการศึกษาการระดมทุนระบบราง MFC ชี้ชัดรัฐบาลไม่จำเป็นต้องเข้าไปซื้อหุ้นคืนจากภาคเอกชน สวนทาง "สุริยะ" ที่จ้องฮุบหุ้น BMCL
(ผู้จัดการรายวัน 22 กุมภาพันธ์ 2548)
MFCโรดโชว์ตะวันออกกลาง ดึงลงทุนเมกะโปรเจกต์
MFC เดินสายโรดโชว์ "บาห์เรน" หวังดึงกลุ่มทุน "ตะวันออกกลาง" ร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า และเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในช่วง 4-6 ปีข้างหน้า เผยรูปแบบการลงทุน มีทั้งการเข้ามาร่วมทุนการทำ "ซีเคียวริไทเซชัน" ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะรัฐบาลส่งเสริมการออม หลังรัฐบาลมีนโยบายลงทุนโครงการสาธารณูปโภคเฉลี่ยกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี
(ผู้จัดการรายวัน 9 กุมภาพันธ์ 2548)
MFCตีกรอบสึนามิฟันด์
MFC สรุปเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ผ่านกองทุนรวม "สึนามิไทยแลนด์ รีคัฟเวอรี่ฟันด์" มูลค่า 1.4 พันล้านบาท จะเร่งอนุมัติวงเงินให้แล้วเสร็จภายใน 31 มี.ค.นี้ หวังพลิกฟื้นอันดามัน ควบคู่ไปกับกองทุนของสสว. วงเงินสูงสุดไม่เกิน 350 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 4 กุมภาพันธ์ 2548)