ตลาดหลักทรัพย์ฯ เร่งสร้างเสถียรภาพ เพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน แม้ตลาดหุ้น
ยังร้อนแรง ระบุตลาดหุ้นไทยยังน่า ลงทุนเมื่อเทียบกับภูมิภาค ขณะที่กระทรวงการคลังเตรียมแก้กฎหมาย
ตราสารหนี้และตราสารทุน เพื่อความเป็นธรรมและพัฒนาตลาดทุน-ตลาดเงิน
วานนี้ (20 พ.ย.46) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ร่วมกับบริษัท
ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี่ จำกัด จัดงานเสวนา "เรื่องยุทธศาสตร์ชาติกับตลาดทุนไทย"
โดยมีนาย สมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธาน กรรมการ ไอเอฟซีที เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลัก- ทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า
ปัจจัยภายนอกทุกปัจจัยเป็นตัวผลักดันให้เกิดการ ลงทุนในหลักทรัพย์ฯ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
พิจารณาได้จากการขยายตัวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ร้อนแรงในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความสามารถในการทำ
กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทางตลาดหลักทรัพย์ต้องพยายามผลักดันตัวเองให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
โดยการสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมีเสถียรภาพ และสภาพคล่อง ในการชื้อขาย รวมทั้งการจัดการด้านทุนในการซื้อขายในระดับต่ำ
"ตลาดหุ้นไทยยังเป็นตลาดที่น่าลงทุน หาก เทียบกับตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาค
ดูได้จาก ราคา หุ้นยังอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่"
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ว่า กระทรวงการคลังเตรียมแก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีตราสารหนี้และตราสารทุนให้มีความเป็นกลางมากขึ้น
เนื่องจากในปัจจุบันเอื้อต่อการระดมทุนในตลาดตราสารทุนมากกว่าตลาดตราสารหนี้ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
และมีการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน
"เราต้องการสร้างความเป็นธรรม ระหว่างผู้ออกตราสารและผู้ซื้อตราสารจึงจำเป็นต้องรื้อกฎหมายภาษีใหม่
แต่เรื่องการเข้าไปแทรกแซงในตลาดตราสาร จะเข้าไปเต็มตัวไม่ได้ ทำได้เพียง การสร้างบรรยายกาศของการลงทุนเท่านั้น"
นายพงษ์ภาณุ กล่าว
นอกจากนี้ ภาครัฐบาลยังให้ความสนใจที่จะพัฒนาตลาดตราสารทุนในอนาคตมากขึ้น เพื่อรองรับกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เพิ่มมากขึ้น เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯลฯ
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์
ภัทร จำกัด มหาชน กล่าวว่า การที่ภาครัฐบาลหันมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะมีส่วนช่วยให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในกิจการต่างๆ
เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างยังยืน แต่ปัจจัยชี้วัด คือการที่ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องทำให้มีกำลังซื้อส่วนเกินเพิ่มขึ้น
ซึ่งตรงนี้ภาครัฐจะจัดการให้เป็นประโยชน์อย่างไร
ด้านความเคลื่อนไหวและทิศทางของอัตรา ดอกเบี้ยภายในประเทศนั้น นายศุภวุฒิ กล่าวว่า
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกจะมีการปรับตัวเพิ่ม ขึ้น สังเกตได้จากประเทศออสเตรเลียและอังกฤษ
มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐจะลดต่ำลงอีก
เนื่องจากสหรัฐฯ จะต้องทำงบประมาณขาดดุล