ประสิทธิ์ โพธิสุธน ผู้พิชิตมลพิษ

โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

ตาม พ.ร.บ. โรงงานอุตสาหกรรมพศ. 2512 ได้กำหนดให้โรงงานทุกแห่ง ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและจำกัดจากการผลิต ให้มีประสิทธิภาพ

แต่โดยข้อเท็จจริงมีปัญหาเรื่อยมาว่าทำได้เหพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด ขาดาบุคลลากร และไม่มีเครื่องมือที่ดี พอดี มีชาวบ้านร้องเรียน ถึงความเดือดร้อนอยู่เสมอ ขยะ หรือกาก จากโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียหรือกากพิา จากสารเคมีจตต่าง ๆ เป็นปัญหามานาน และมีแนวโน้มความรุนแรงยิ่งกว่าเก่า ตามปริมาณ การขยายตัวของอุตสาหกรรม

ประสิทธิ์ โพธิสุธน กลุ่ม พี.พี. พี่ชายของประภัทธ์ โพธิสุธน พรรคชาติไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยนายกฯ เปรม จึงกลาย เป็นบุรุษเนื้อหอมของกระทรวงอุตสาหกรรม เมือ่ประสิทธิ์ เป็นคนช่วยสาร เป้าหมายนโยบาย ของกระทรวงแอุตสาหกรรม ให้เป็นจริง หลังจากที่ยืดเยื้อกันมานาน

ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2528 ครม. เศรษฐกิจ เห็นชอบในหลักากรให้เอกชน ลงมือสร้าง " ระบบบำบัดน้ำทิ้งรวม" บนถนนสุขสวสดิ์ จังหวัดสมุทรปราการ

อีก 4 วันต่อมา อบ วสุรัตน์ รัฐมนตรี ว่าการระทรวงอุตสาหกรรม ในตอนนั้น ประกาศ เชิญชวนให้สร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม ระหว่างคลองขุด เจ้าเมือง ถึงคลองบางปลากรด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งขณะนั้นมีปริมาณ น้ำทิ้ง95,000 ลูกบาศก์เมตร

โดยให้เอกชน เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ตั้งแต่สำรวจศึกษาก่อสร้างและบริหาร ที่จะลงทุนในนามส่วนบุคคล หรือนิติบุคลิกก็ได้ แต่อัตราการคิดค่าบริการ จะได้รับจาการเห็นชอบ จากกระทรวงอุตาสาหกรรม และเมื่อสิ้นสุดระยะสัญญา ทรัพย์สิน ทั้งหมด ให้ตกเป็นทรัพยืสินของรัฐ โดยผู้ลงทุน จะต้องดูแลรักษาจนถุงวันส่งมอบ

การออกประกาศ ครั้งนี้ล้มเหลว โดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีใครเสนอ ได้ยกเลิกประกาศนี้ เมื่อวันที 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน และเปิดกว้างให้ผู้สวนใจลงทุน ติดต่อขอรายละเอียดและยื่นข้อเสน อ ต่ออุตสาหกรรมได้ ตลอดเวลา

ในวันที่ 9 กันยายน 2531 ก็ได้เริ่มมีอัศวินม้าขาวเกิดขึ้น เมื่อกลุ่ม พี.พี โดวประสิทธิ์เสนอโครงการ พร้อมกัน 4 แห่ง ด้วยมูลค่า 1,153.20 ล้าน บาทซึ่งคุ้ม มากกว่าลงทุนแห่งเดียว

เนื่องจราการลงทุน ในดครงการบำบัด มลพิษแห่งนี้ จัดเป็นการลวทุนที่ เสี่ยง ไม่มีหลักประกันว่าจะมีผู้ใช้บริการมากน้อยแค่ไหน และใช้ทุนสูง เมื่อทำก็ควรทำขนาดใหญ่ และครบวงจรพร้อมกันไป เพราะแนวโน้มของความจำเป็น ที่จะต้องมีศูนย์ กำจัด กาก ครบวงจร ที่มีมากขึ้นทุกขณะ ตามทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ อีกประการหนึ่ง จะได้ไม่เจอปัญหา กับผู้มาลงทุนใหม่ และการลงทุนเสียแต่ตอนนี้ ย่อมจะมีต้นทุนถูกกว่าในอนาคต ซึ่งถ้าหากเผอิญมีรายให่เกิดขึ้น ก็จะตามไม่ทัน

ประสิทธ์ เสนอโครงการดังนี้ คือ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ย่านถนน สุขสวัสดิ์ ในย่านรังสิต กับระบบกำจัดกากพิษรวมที่บางพลี และบริเวณ Eastern Seabroad มาบตาพุด จังหวัด ระยอง โดยร่วมลงทุน กับกลุ่ม โกได กลุ่มธุรกิจ ซึ่งเชี่ยวชาญ ทางด้านมลพิษ ของญี่ปุถ่น

ข้อเสนอของประสิทธ์ในครั้งนี้ ต่างไป จากประกาศเชิญชวน ของกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ตั้งแต่เรื่องพื้นที่ ที่เสนอครอบคลุมมากกว่า และเสนอขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI พร้อมทั้งขอเงื่อนไขพิเศษว่าไม่ให้รายอื่นตั้ง

พิศาล คงสำราญ อธิบดี กรมโรงงานฯ ในตอนนั้น ได้เสนอไปยัง
บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสวาหกรรม พร้อมกับทั้งให้ตั้งคณะทำงานศึกษา โดยมีอธิบดี กรมโรงงานฯ เป็นประธาน ซึ่งบรรหาร เห็นด้วย และแต่งตั้งทำงานพิจารณาการลงทุน ของภาคเอกชน ในการตั้งศูนย์ กำจัดกากมลพิษรวม ในสิ้นปี 2531

ขณะที่กองกรอ.สภาพัฒน์ ยืนยันว่า การแก้ปัญหามลพิษนั้น จำเป็นจะต้อมีเตาเผา เนื่องจากมีสารเคมี หลายตัว เช่น โซลเว้นท์ ( สารละลายใช้ในการทำสี ปัจจุบันเพีงแต่เก็บผัง แต่เตาเผาจะเป็นส่วนช่วยแก้ปัญหาได้ด้วยการนำสารเคมีเหล่าานั้นมาแปรสภาพด้วยการทำลายฤทธิ์ในเตาเผา เพราะแม้จะใช้เตาเผา ขยะซึ่งมีอุณหภูมิ สูงถึง 1,000 องศา เซลเซียส ก็ทำลายฤทธิ์ไม่ได้ แต่ต้องใช้เตาเผาพิเศษในระดับ ความร้อนสูงถึง 1,800 องศงเซลเซียส

ประเด็นสำคัญ ในระยะที่ผ่านมา ไทยไม่เคยมีระบบกำจัดกากาด้วยระบบ neutralize ด้วยการแยกของเสียออกจากกันทั้งหมดให้มีสภาพเป็นกลาง ส่วนที่สูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม( ศูนย์บริการฯ) ก็เป็นเพียงรับน้ำเสียมาแยก ยังไม่ได้ นำกากที่เหลือไปฝัง และทำลายทุกอย่างเป็นรระบบ ซึ่งมีปริมาณ มากขึ้น เพราะมีปัญหาในการบำบัด

" ศูนย์บริการฯ เป็นลักษณะ TREAT น้ำเฉย ๆ ขณะที่โรงงานอีกมาก ได้ปล่อยตน้ำเสียลงคูคลอง หรือมีระรบบบำบัดน้ำเสีย ก็ไม่คอ่ยมีประสิทธิภาพ และไม่ค่อยได้ใช้การ เพราะต้องใช้ไฟมาก ต้องเสียบค่าใช้จ่ายสูง หรือ กากบางลักษณะ ทิ้งตามกองขยะ เช่นหลบอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ซึ่มีสารตะกั่ว ทุกวันนี้ ส่งเข้าศูนย์ ขยะ กทม. แต่ก็ไม่ละลาย ซึ่งผิดวิธี" แหล่งข่าวจากสภาพัฒน์ กล่าวกับ " ผู้จัดการ"

ศูนย์บริการฯ เกิดขึ้นด้วยการลงทุน ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแห่งแรกของไทย แต่บำบัดแค่นำเสีย และกำจัดของเสีย ด้วย การฝังในขั้นตอนสุดท้าย ยังไม่มีเตาเผา อยู่ที่ถนนธนบุรี -ปากท่อ กิโลเมตรที่14 ช่วงทางแยกเข้าวัด พรหมรังสี ประมาณ 2 กิโลเมตร แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

บริษัท สยามคอลโทรล จำกัด ของเครือ เอสจีเอส ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อม แห่งสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งมีบริษัทสาขาอยู่ทั่วโลก รวมทั้งไทยด้วย SGS Thailand Co.Ltd. เป็นผุ้เช่าในการให้บริการ เป็นเวลา5 ปี เมื่อหมดสัญญาแล้เวก็เจรจากันใหม่

การบริการจะเน้นการบำบัดของเสีย จากโรงงาน 3 ประเภท คือ น้ำเสีย จากโรงงานชุบโลหะ โรงงานฟอกย้อม หรือตระกอนสารพิษ ในรูปของโลหะหนัก เช่นปรอท ตระกั่ว ทองแดง โครเมี่ยม นิเกิล สังกะสี เป็นต้น โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปลายเดือนกรกฏาคม 2531

ปริมาณของเสียของโรงงาน ที่มากที่สุด คือน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ ประมาณ 70-80 เปอร์เซนต์ เนื่องจากเป็นโรงงานขนาดเล็ก จึงไม่มีระบบบบำบัดน้ำเสียของตัวเอง ถ้าจะลงทุนก็ไม่คุ้ม รองลงมา เป็นการอุตสาหกรรม ได้แก่สารเคมี เสื่อมคุณภาพ เช่น จากปรอท เป็นต้น

ส่วนของเสียจากโรงฟอกย้อมนั้น จะเข้ามาน้อยที่สุด เนื่องจากปริมาณของเสียจากโรงฟอก จะมีปริมาณมากเป็นปกติ ของการผลิตอยู่แล้ว ประมาณ 100-200 ตันต่อวัน " ฉะนั้น เค้าสร้างเองจะถูกกว่าที่จะเข้ามาบ้างก็เป็นโรงเล็ก" ดร. สันติ กนกธนพร กรรมการและผู้จดัการทั่วงไปของสยามคอนโทรล กล่าวกับ " ผู้จัดการ"

ปัจจุบัน มีโรงงานเข้ามาใช้บริการแล้วประมาณ 200 ราย โดย 3 เดือนแรก ที่เปิดบริการ ศูนย์ฯ บริการ จะทำงานเพียง 30% ของกำลังการผลิตเต็มที่ แต่ขณะนี้ มีปริมาณ ใช้บริากรสุงถึง 3,000-4,000 ตันต่อวัน เฉลี่ยแล้วมีลูกค้าใหม่เดือนละ หนึ่งราย ซึ่งเริ่ม เต็มกำลงของระบบแล้ว

ศูนย์บริการฯ บริการได้อย่างจำกัด ส่วนหนึ่งเนื่อวจากรัฐบาลต้องการลงทุนให้เป็นโครงการตัวอย่าง จึงมีปัญหาในการดำเนินการอยู่ไม่น้อย ในแง่ของการปฏิบัติทางด้านเทคนิค

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจอของเสียที่ปะปนกันมาหลายอย่างจากโรงงาน ซึ่งบำบัดได้ยากกว่าปกติ เช่น ไซยาไนด์ กับโคเมี่ยม ถ้าแยกจากกัน แล้วแยกสารแต่ละตัวออกมา จะทำได้ง่าย แต่ถ้าอยู่ร่วมกัน จะต้องเสียเวลา แยกอีกเท่าตัว หรือของเสียบางอย่างก็แยกไม่ได้

เมือสยามคอนโทรลเจอปัญหาของเสียแยกยากกว่าปกติ ของระบบบำบัด ก็ส่งผลต่อปัญหาเรื่องวค่าบริการซึ่งถูกกำหนดไว้แล้ว ขณะที่การรับของเสียจะมีรถแท้งก์น้ำไปรับ บาง
รายอยู่ไกลถึงบางประอิน และยังมีปัญหารถติดอีก ทำให้ค่าให้จ่ายสูงขึ้น ค่าบริการที่กำหนดไว้จึงไม่คุ้ม

เนื่องจากกรมโรงงานฯ กำหนดค่าบริการ ต่ำที่สุด เพื่อให้ โรงงานต่าง ๆ เข้ามาใช้บริการ อาทิ การบำบัดน้ำเสียจากโรงานชุบโลหะ เพียง 45 บาทต่อตันในเพดานสูงสุดที่ 450 ต่อตันในกรณีบริการบำยบัดกากาปรอท

ด้านค่าขนส่ง ของเสียจากโรงงานมายังศูนย์บริการก็แค่ 1-2 บาทต่อตัน กิโลเมตร ส่วนค่า ผังกาก จะคิดราคา 100 บาทต่อตัน สำหรับกากที่เหลือจากน้ำเสียดรงชุบโลหะ

ขณะที่สยามคอนโทรลยังประสบปัญหาเรื่องพื้นที่สำหนังผังกากาซึ่งตามสัญญาทางกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้จัดหาพื้นที่ แต่ตอนนี้ ยังหาซื้อไม่ได้

" เราจึงทำที่ผังกากชั่วคราวบริเวณศูนย์บริการฯ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มเท่าตัว เพราะเมื่องฝังเต็มพื้นที่แล้ว ก็ต้องขุดไปฝังที่อื่นต่อ ซึ่งยังโชคดีที่มีพื้นที่อยู่" อนุพงษ์ โรจน์นครนทร์ กรรมการผู้อำนวยการสยามคอนโทรลสะท้อนถึง ปัญหาที่กำลังประสบอยู่

ยิ่งถ้าเป็นกากอุตสาหกรรมที่เป็นอินทรีพย์วัตถุ เช่นกากาน้ำมัน จะทำไม่ได้เลย เพราะไม่มีเตาเผาไม่ว่าจะเป็นเตาเผาธรรมดาหรือเตาเผากากพิษพิเศษ ขณะที่กากาพิษทวีปริมาณสูงขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะจะเห็นได้ชัดจากโรงงานอุตสาหกรรม หนัก ย่าน อิสเทริน์ซีบอร์ด ไม่รวมโรงงาน เก่าที่มีปัญหากากพิษอยู่แล้ว

กากพิษ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม นั้น แท้จริง แล้วมีอันตรายมากว่าน้ำเสียเนื่องจาก น้ำเสียเป็นตัวก่อมลพิษที่เราเห็นได้ด้วยตา แต่มลพิาจากากกพิา เราจะมองไม่เห็น ซ้ำยังมีอันตรายมากว่าหลายเท่า จะเห็นว่า ต้นไม้ที่อยุ่ใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำเสียออกมาจะตาย ถ้าเป็นกากเคมี ด้วยแล้ว ยิ่งจะก่ออันตรายต่อร่างกายหลายสิบเท่า

มลพิษจากน้ำเสียจะสร้างความเสียหาย เฉพาะาน้ำซึ่งฉกรรจ์ มากพออยู่แล้ว แต่มลพิษจากกากพิษจะกระจายเข้าสู่บรรยากาศทั่วไปรอบตัวเรา จึงเป็นหน้าที่ของกรมโรงงานฯ ในอันที่จะผลักดันให้ศูนย์บริการกำจัดกากครบวงจรเกิดขึ้นให้ได้...

จากกากพิษ อันเป็นตันเหตุสำคัญของการกิดมลพิษดังกล่าว และด้วยภาพการลงทุนโดนรัฐบาลที่ประสบปัญหาหลายประการนั้น กรมโรงงานฯ จึงยืนยันให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนศูนย์กำจัดกากทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของสภาพัฒน์

" โดยเฉพาะที่บางพลีนั้น ต้องทำด่วนที่สุด ถ้าเอกชนไม่ลงทุน รัฐบาลก็ต้องลงทุน แต่หากเอกชนลงทุน รัฐบาลไม่ต้องลงทุนสูง" แหล่งข่าว จากสาพัฒน์ กล่าว เนื่องจากจำนวนโรงงานมาก ถึง 2,000 แห่ง และยังไม่มีโรงงานใดที่ระบบกำจัดกากาเลย ซึ่งถ้ารวมกากทั่วกรุงเทพแล้ว ปัจจุบัน มีไม่น้อยกว่า 60,000 ตันต่อเดือน

ส่วนที่ระยองนั้น เห็นควรให้เอกชน ทำเพราะโรงงานที่มีอยู่ในโรงงานใหญ่และเกิดใหม่ อยู่ในฐานะที่จะลงทุนได้ ถ้าจะว่าไปแล้ว ในโรงงานปิโตรเคมี ก็มีระบบจำกัดกากอยู่แล้ว แต่การให้มีศูนย์กำจัดกากครบวงจรขึ้นมา ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางใหญ่ในการกำจัดกากจากโรงงานต่าง ๆ ในอนาคต เพราะถ้ากากน้อย จะลงทุนก็ไม่คุ้ม

" ใครจะทำไม่สำคัญ ตอนที่เรื่องนี้เข้ากรรมการบริหารของกรอ. มีความเห็นกันว่าเอกชนควรรับไปทำ แต่มีคนทักท้วงว่า ถ้าเอกนไม่ทำ จะมีปัญหา เพราะสิ่งที่เราต้องการ ก็คือให้ ศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมครบวงจรเกิดเร็วที่สุดจะโดยใครก็แล้วแต่" แหล่งข่าว จากสภาพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม

ที่ผ่านมา โครงการ จัดหาน้ำ และฅัวโครงการ ศูนย?บริการฯ ของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น ใช้เงินงบประมาณ แต่โดยทิศทางการพัฒนา เอกชน จะมีบทบาทมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่า

ขณะที่สิ่งแวดล้อมจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้น การมีระบบจัดกากอุตสาหกรรมครบรอบววงจร จึงเป็นการพัฒนาสังคม ในเชิงป้องกันสิ่งแวดล้อม ในแผนพัฒนาสังคม ในเชิงป้องกันสิ่งแวดล้อม ในแผนพัฒนาเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ก็ได้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสาระสกคัญหลักเรื่องหนึ่งด้วย

" ใครลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม บีโอไอ จึงควรให้มีการส่งเสริม และควรเป็นคนเชี่ยวชาญด้านนี้" แหล่งข่าวจากสภาพัฒน์ กล่าว

การเจรจาระหว่างประสิทธิ์ กับกรมโรงงาน ก็ดำเนินเรื่อยมา ซึ่งหาจุดพบกันไม่ได้สักที ขณะที่ครม. เศรษฐกิจเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2532 ได้อนุมัติแปนลงทุนตั้งศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรม 2 โครงการ

โครงการแรกช่วงบริวณบางพลี สมุทรปรากากร มูลค่า 280 ล้านบาท และในระยอง มูลค่า 137 ล้านบาท

นับว่าบรรหาร ต้องการให้มีทางเลือกอีกทางหนึ่ง จากากรเสนอของกรมโรงงานฯ ซึ่งคิดว่า น่าจะมีทางออกไว้หลายทาง เผื่อไว้ว่า หากการเจรจา กับประสิทธฺ์ กลุ่ม พี.พี. ไม่เป็นผล ก็จะลงทุนทำเอง..

แต่การอนุมัติของครม.เศรษฐกิจครั้งนี้ ต่างไปจากหลัก เ กิมของกระทนรวงอุตสาหกรรม ด้วยการให้รัฐบาลเป็นผู้จัดหาที่ดินและก่อสร้างระบบเตาเผา แล้วให้เอกชนเช่าช่วงต่อ

เมื่อมติออกมาอย่างน้อย ขณะที่ข้อสรุปของคณะทำงาน เห็นว่าควรให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน ทั้งหมด โดยเฉพาะการที่ประสิทธฺ์ติดติดต่อเจรจากับทางโรงงานฯ เพียวรายเดียวอย่างจริงจังต่อเนื่องเพื่อผลักดันโครงการทั้งสี่นั้น ทำให้มีข่าวโจษขานกันว่ากลุ่ม พี.พี ใช้กำลังภายใน และให้ประโยชน์ ส่วนตัวแก่รัฐมนตรี โดยผ่านประภัตร น้องชายซึ่งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรี จังหวัดเดียวกับบรรหาร ผู้เป็นรัฐมนตรี ในการบุกรุกเพื่อทำโครงการเหล่านี้

ทำให้เข้าใจกันว่า จะเป็นรูปแบบการลงทุนโดยเอกชน หรือรัฐบาลบางกลุ่ม พี.พี.คงจะได้โครงการนี้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะไม่มีใครเสนอ

เนื่องจาก โดยตัวประสิทธิ์ เอง ได้กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่า หากให้เอกชน เช่าเหมือนศูนย์บริการฯ แสมดำ " จะพอใจมากว่า เพราะลงทุนระบบกำจัดกากอุตสาหกรรมสิ้นสูญและเสี่ยง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องมี และได้แต่หวังว่า เราคงจะได้ ลูกค้า มาใช้บริการตามเป้า"

แต่หากให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก็มีปัญหาว่า มีความพร้อมและจำเป็นเพียงใดในการนำเงินของรัฐมาลงทุน ซึ่งไม่เพียงแต่จะล่าช้า แต่ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเอกชนก็สู้ไม่ได้

กรณีศูนย์บริการฯ จะเห็นได้ชัด ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 100 กว่าล้านบาท แต่กรมโรงงาน จะได้ผลประโยชน์ จากค่าเช่าพียงเดือนละ 50,000 บาท จากสยามคอนโทรล กว่าจะเรียกทุนคืนได้ ต้องใช้เวลาอีกนาน

" ยิ่งถ้าเป็นโครงการใหม่ มีเตาเผาด้วยแล้ว เงินแค่โครงการละ 200-300 ล้านบาท กว่าจะประมูล ว่าจ้างที่ปรึกษา ลงมือก่อสร้าง แล้วเปิดประมูลให้เอกชนเช่า กว่าจะเสร็จ ก็ยิ่งช้าหนักเข้าไปอีก และต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าหลายเท่าแน่ ที่สำคัญตอนนี้ ยังไม่ได้เงินมาเลย" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ประเด็นหลักของการพลิกผัน เนื่องจากทางกรม โรงงานฯ ต้องการให้กลุ่ม พี.พี. ดำเนินการเพียง 5 ปี ขณะที่ประสิทธิ์ เห็นว่าโครงการกว่าพันล้านบาท ขณะที่จะควบคุมราคาบริการในระดับกำไรสูงสุดไม่เกิน 18% กว่าจะคืนทุนได้จะใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งแทบจะทำให้ประสิทธิ์เลิกล้มโครงการหากกลุ่มโกไดไม่เอาด้วย

แต่เนื่องจากทางกลุ่ม โกได ซึ่งเป็นมือโปรด้านสิ่งแวดล้อม มีธุกิจในเครือที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ยังสนใจ การเจรจาก็ยังดำเนินการต่อไป ทางกรมโรงงานฯ รู้ปัญหา ดีเช่นกัน ว่าหากลงทุน ก็ต้องใช้เวลา อีกยาวนานกว่างโครงการนี้จะเป็นจริง

ด้าประสิทธิ์ ยืนยัน ให้กรมโรงงานฯ ผ่อนปรนเงื่อนไขและสนับสนุน ส่วนกรมโรงงานฯ เมื่อต้องการให้ศูนย์กำจัดกากครบวงจร เกิดขึ้น เร็วที่สุด หลังจากเสียเวลามานานแล้ว ก็ต้องเป็นผู้โอนอ่อน ตามเพื่อให้นโยบายนี้เป็นจริง

เรียกว่า ต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ศูนย์กำจัดกากฯ เกิดขึ้นให้ได้..

กระทั่งช่วงเดือนกรกฏาคม ที่ผ่ามานี้หด พล.ต.อ. ประมาณ รัฐมนตรี ว่าการระทรวงอุตสาหกรรม ในตอนนั้น ได้อนุมัคติในหลักการสัญาลงทุนกับเอกชน ซึ่งก็คือ กลุ่ม พี.พี. ของประสิทธิ์ นั่นเอง

ทุกครั้งประสิทธิ์ จะไปพบปะและเจรจา เงื่อนไขสัญญา ด้วยตนเองทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่หรือยิ่งยง ศรีทอง อธิบดีกรมโรงงานฯ และยอมรับว่าการที่ตนมีน้องชายคือระภัตร เป็นสส. พรรคเดียวกันกับรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม นั้น ทำให้การพูดจาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

แต่ขณะเดียวกัน ประสิทธิ์ กล่าวกับ " ผู้จัดการ" อย่างอึดอัด " แต่คิดว่า จะมีผลเสียมากว่า ผลดีเนื่องจากต้องมัวพะวงต่อสายตา คนภายนอก พอจะอนุมัติก็ทำให้กลัวถูกมองว่า เพราะเป็นพวกเดียวกันหรือเปล่า"

เหตุผล ที่กรมโรงงานฯ ให้กลุ่ม พี.พี. ดำเนินการศูนย์ กำจัดกากฯ นั้น " จริง ๆ ผมว่าไม่มีใคร ทำมากกว่า และเราเป็นรายเดียว ที่แสดงความสนใจมาแต่ต้น" อันเป็นเหตุผลเดียวกับกลุ่มโรงงาน

หลังจากกรมโรงงานฯ พิจาณณาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แล้วจนได้ข้อสรุปในโครงร่าง การลงทุนของเอกชนแล้ว ก็ได้เรียกประชุมกลับกลุ่ม พี.พี ในนามของบริาษัท วิสวัท เตอ์ร์ เนชั่นแนล จำกัด บริษัทแม่ เพื่อวางหลักเกณฑ์สัญญาสร้างระบบ บำบัดน้ำ เสียรวม และศูนย์กำจัด กากฯ ครั้งใหญ่ 4 ครั้งด้วย

ครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2532 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 ในเดือนถัดมา ครั้งที่ 3 เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งดูจะเป็นวันชื่นมื่น เป็นพิเศษ เมื่อเริ่มมีการหลักการสัญญา ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น ในวันวาเลนไทม์ และวันที่ 26 เดือน เดือนเดียวกัน

เงื่อนไขมีดังนี้ คือกำหนดระยะดำเนินการ 20 ปี ถ้าเลิกก่อน 20 ปี รัฐบาล จะยุดหลักทรัพย์สิน ทั้หมด ผู้ลงทุน จะขายต่อได้เมื่อกรมโรงงานฯ ยินยอม ให้ก่อนหมดสัญญา ล่วงหน้า 3 ปีกว่าจะทำต่อหรือไม่ ซึ่งกรมโรงงาน จะพิจารณาต่อให้เป็นรายแรก ถ้าไม่แจ้ง เมื่อหมดสัญญา กรมโรงงานมี สิทธิขายต่อให้รายอื่นทำ โดยเงินที่ได้ให้เป็นของบริษัทรายเดือน และถ้าไม่มีใครทำต่อ รัฐบาลจะเป็นคนดำเนินการ จนกว่ามีอื่นเข้าซื้อ

ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการกรมโรงงาน จะไม่ให้รายอื่น มาลงทุนแข่งขัน ไม่ว่าจะได้ ส่งเสริมจากบีโอไอ หรือไม่ก็ตาม

จากนั้น แก้ไข ในร่างสัญญากันเรื่อยมาจนล่าสุด ทางกรมโรงงานฯ ได้ผ่อนปรนเงื่อนตไขลงตามที่ประสิทธิ์ เสนอแทบทั้งหมด

กรมโรงงานฯ เห็นว่า โครงการ ควรจะสิ้นสุดภายใน 23 ปี นับตั้งแต่ วันที่เซ็นต์ สัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ประสิทธิ์ คิดว่าควร จะสิ้นสุด ใน 20 ปี นับจากวันที่เปิดดำเนินการ ด้วยเหตุผล ที่ว่าการก่อสร้าง ต้องใช้เวลามาก อาจจะมีปัญหาในการวางท่อซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำเสียจากโรงงาน มายังศูนย์บำบัดน้ำเสีย

จะต้องติดต่อกรมทางหลวง อาจจะเป็นไปได้ ว่า อาจจะล่าช้าเกิน 3 ปี จะทำให้ระรยะเวลา ในการดำเนินงานไม่ถึง 20 ปี จึงเห็นว่า ควรจะนับจากวันเริ่มบริการจะเหมาะสมกว่า

ในการฝังท่ออันเป็นส่วนสำคัญหลักอย่างหนึ่งของระบบบำบัดน้ำเสีย ประสิทธิ์เสนอว่า ควรเริ่มนับตั้งแต่ วันที่อนุญาตให้วางท่อ เนื่องจาการนเจอปัญหาล่าช้าในการขออนุญาต แต่กรมโรงงานฯ ให้เริ่มนับจากวันเซ็นต์สัญญา

การวางปลักประกัน ในวันเซ็นสัญญา กรมโรงงานฯ กำหนดไว้ที่ 5 % ของเงินลงทุน แต่ประสิทธิ์ว่าจ่าจะเป็นเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กรมโรงงานฯ เคยปฏิบัติมาแล้ว

ส่วนเงินประกันการบริการตามสัญญา 10 ล้านบาท นั้น ประสิทธิ์ เสนอว่า ควรตัดออก โดยอ้างว่ามีทรัพยสิน คือตัวโรงงาน เป็นหลักประกัน อยู่แล้ว จึงไม่ควรวางเงินประกันอีก

กรณียกเลิกกิจการแล้วผู้ลงทุน จะต้องยกที่ดินบริเวณระบบบำบัดน้ำเสียรวม ซึ่งติดทางสาธารณะ อย่างน้อยหนึ่งด้านให้ราชการ เพื่อแก้ปัญหา ให้โรงาน ที่ยังดำเนินการอยู่ แต่ประสิทธิ์ไม่เห็นด้วย

ทางด้านค่าปรับในกรณีต่าง ๆ นั้น กรมโรงงานฯ กำหนดวันละ 50,000 บาท แต่ประสิทธิ์ เห็นว่าสูงเกินไป และสร้างภาระให้มากขึ้น จึงเห็นว่า ค่าปรับวันละ 10,000 บาท ก็น่าจะพอ

สำหรับศูนย์กำจัดกากฯ กรมโรงงานฯ กหนดระยะเวลา ดำเนินกการ 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันเซ็นสัญญา แต่ประสิทธิ์ เห็นว่าไม่คุ้มทุน และเนอเป็น 20 ปีหลังจากการก่อสร้างเสร็จ

การวางเงินก่อสร้าง กรมโรงงาน กำหนด ไว้ 5% ของเงินลงทุน เช่นเดียวกันการสร้างศูนย์บำบัดน้ำสีย ซึ่งประสิทธิ์ขอลดเหลือ แค่ 1%

เงินประกันตามสัญญา 20 ล้านบาท ประสทธิ์ เสนอให้ตัดออก อีกกรณี หนึ่ง ถ้าดำเนินการก่อนหรือหลังหมดสัญญา หรือใช้พื้นที่ไม่ครบ พื้นที่ทั้ง

หมดรวมพื้นที่สีเขียวรอบ ๆ 100 เมตร จะต้องตกเป็นของรัฐ แต่ประสิทธิ์ คัดค้าน เพราะถือว่ารัฐบาล ไม่ได้เป็นคนลงทุน พื้นที่จึงควรตกอยู่กับผู้ลงทุน

เมื่อครบสัญญญา 20 ปี ประสิทธิ์ เสนอว่าให้ สัญญาต่อไปได้ใหม่ โดยไม่ต้องมาพิจารณาใหม่กันอีก ยกเว้น ในเรื่องพื้นที่ ที่ฝังกาก ที่ผู้ลงทุน จะต้องยกให้รัฐรวมพื้นที่สีเขียวโดยรอบ และหากครบ 20 ปี แล้วยังใช้ไม่เต้มที่ ผุ้ลงทุนสามารถใช้สิทธิ์ ขอดำเนินการในพื้นที่ฝังกาครั้งต่อไปได้ ครั้งละ 5 ปี จนเมื่อครบ พื้นที่แล้ว ก็ต้องยกให้รัฐ

การเจรจา เงื่อนไขสัญญาข้างต้น มีแนวโน้ม ว่ากรมโรงงาน จะผ่อนปรน ให้แทบทั้งหมด ขณะนี้ อยู่ระหว่างการแก้ไขรายละเอียด และข้อความของสัญญา อีก 1-2 เดือน เชื่อว่ากลุ่ม พี.พี.น่าจะเซ็นต์สัญญากับกระทรวง อุตสาหกรรมได้..

ประสทธิ์ ได้ตั้ง " บริษัท เคลียน เอเชีย เซ็นเตอร์ จำกัด" ขึ้นเพื่อรองรับโครงการทั้ง สี่ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยมีกลุ่ม โกได ถือหุ้น 4% และเมื่อเซ็นสัญญา กับกระทรวง อุตสาหกรรมแล้วจะเพิ่มทุนเป็น 300 ล้านบาท

กลุ่มโกได ซึ่งทำธุกริจด้านสิ่งแวดล้อมนั้นสนใจโครงการนี้มาก เนื่องจากเห็ว่า ประเทศทไทยมีของเสียจากโรงงาน ปริมาณมหาศาล แต่ยังไม่มีระบบกำจัด จึงมั่นใจต่อตลาด ด้านนี้จากประสบการณ์ของ กลุ่มที่คร่ำหวอดด้านมลพิษมานาน

ในเครือ โกได นั้น ประกอบด้วยบรริษํทใหญ่ ทำธุรกิจ กำจัดกากอุตสาหกรรม ครบวงจร ทั้งน้ำเสีย และกากพิษ คือ

GODAI CHEMICAL CO.,LTD

TOA CLEAN CENTRE CO.,LTD

CLEAN JAPAN CHEMICAL CO.,LTD

CLEAN JAPAN TOHOKU CO;, LTD

UAMAO CO.,LTD

การลงทุนของประสิทธิ์ในครั้งนี้ เมื่อตกลง เซ็นสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรม เรียบร้อยแล้ว จะได้เงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ดังที่สภาพัฒน์ และกรมโรงงานฯ เห็นชอบให้เป็นผู้ดำเนินการแต่ผู้เดียว

แม้บีโอไอ จะให้การส่งเสริม แต่ประสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า " เดี่ยวนี้ช่วยอะไรได้ไม่มาก เนื่องจากระยะหลัง รัฐบาลมีนโยบาย ที่จะพัฒนาเทคโนโลยี จึงลดภาษี นำเข้าเครื่องจักรลงเรื่อย ๆ หรือยกเลิกไปในที่สุด ซึ่งเมื่อก่อนถ้าได้บีโอไอ ก็จะลดต้นทุนเฉพาะภาษีเครื่องจักร สุงถึง 40% ไปได้มาก สำหรับโครงการ ของเรา จะช่วยได้มาก ในแง่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเข้ามาประจำโรงงาน ตามเงื่อนไขการส่งเสริมจากบีโอไอ มากว่า เพราะไทย ยังไม่มีประสบการณ์ ในการกำจัดกากพิษเลย"

ประสิทธิ์ กำหนดแผนลงทุนไว้ดังนี้ ศูนย์ บำบัดน้ำเสีย รวม 2 แห่ง คือถนนสุขสวัสดิ์ขนาด 32,000 ลบ.เมตร ลงทุน 200 ล้านบาท และย่าน รังสิต ขนาด 50,000 ลบ.เมตร หรือรับน้ำเสีย จากโรงงานได้ราว 200-300 แห่ง ลงทุน 300 ล้านบาท ใช้พื้นที่ 100 ไร่

ส่วนอีก 2 โครงการ เป็นศูนย์กำจัดกากฯ ได้แก่ ย่านบางพลี ขนาด 6,000 ตันต่อเดือน ใช้พื้นที่ 40 ไร่ลงทุน 110 ล้านบาท โดยมีเตาเผา ธรรมดาเพียงอย่างเดียว และแถวมาบตาพุด จังหวัด ระยอง ใช้พื้นที่ 420 ไร่ลงทุน 577 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นอีกประมาณ 59 ล้านบาท ซึ่งจะมีเตาเผากากพิษธรรมดาและเตาเผากากพิษพิเศษอย่างละหนึ่งเตา

จากความล่าช้า และภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประสิทธิ์กล่าวว่า จะต้องลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท สำหรับโครงการทั้งหมด

ตอนนี้ หวังกันแต่ว่าโครงการ จะเดินหน้าเสียที แต่ถ้าเผอิญมีเหตุผันแปรทำให้กลุ่ม พี.พี ชวด โครงการนี้ไป ประสิทธ์กล่าวว่า " ก็ต้องสูญเงินค่า ศึกษาวิจัยโครงการ ไปหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นธรรมดา เมื่อจะเป็นผู้นำ ก็จะต้องเสี่ยง"

เมื่อเซ็นต์สัญญา แล้ว กำหนดเดินเครื่อง โรงงานภายใน 3 ปี ประสิทธิ์ กล่าวว่า " คงจะเริ่มบริการได้ราวกลางปี 2536 โดยกำหนดค่าบริการระดับเพดานสูงสูดในอัตราไม่เกินต 18% ต่ำสุดจะอยู่ที่ 10% มิฉธนั้นจะไม่คุ้ม"

ประสิทธิ์ ตั้งเป้าทางการตลาดว่า หากใช้กำลัง เครื่องจักรเต็มระบบ ตั้งแต่ปีแรก จะคืนทุนได้ใน 5 ปี ถ้ามีการใช้บริการตามปกติ ราว 50-60% ก็จะคืนทุนได้อย่างน้อย ในเวลา 10 ปี

สำหรับวิธีดำเนินการ จะใช้ระรบบท่อ ในการขนส่ง เช่นย่านรังสิต จะวางท่อ จากแนว คลองรังสิต ไปจนถึงนวนคร เนื่องจากใช้รถแทงค์น้ำจะบรรทุกได้ 10 ลบ. เมตรต่อคัน ทำให้ต้องใช้รถ ถึง 5,000 คันหากมีการใช้ บริการเต็มกำลัง ของระบบที่ 50,000 ลบ.เมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่จะใช้รถมากขนาดนี้

จะมีการวางท่อน้ำทิ้งลงศูนย์บำบัด น้ำเสีย รวม เพื่อ ปรับสภาพ น้ำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนกากที่ ทำลายฤทธิ์ แล้วจะไปเก็บในพื้นที่เฉพาะเรียกว่า LAN-Dillill ที่ สระบุรี

ศูนย์บำบัดน้ำเสีย รวมถนนสุขสวัสดิ์ ก็ใช้หลักการเดียวกันโดยมีที่ผังกากทำลายฤทธิ์แล้วที่ราชบุรี

ส่วนศูนย์กำจัดกากนั้น จะใช้รถใหญ่ ซึ่งออกแบบพิเศาให้ขนส่งกากาพิษได้อย่างปลอดภัย

การออกแบบโรงงานครั้งนี้ ประสิทธิ์ กล่าวว่า จะรองรับกากพิษได้ทั่วประเทศ ในระย ะ10 ปีข้างหน้า เพราะไม่ว่าจะเป็นกากโรงงานชนิดใดก็สามารถรับได้เนื่องจากเตาเผาออกแบบในระดับอุณหภูมิสูงเป็นพิเศษ หรืออาจจะใช้สารเคมี เป็นตัวทำลายฤทธิ์

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิ์ กล่าวว่า จะมีปริมาณ โรงงานมาใช้บริการ มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ว่ากรมโรงงานจะเข้มงวดโรงงานให้ปฏิบัติตามกฏหมายโรงงานเพียงใด "เพระาถ้าทุกโรงงาน ทำตามกฎหมาย จำนวนโรงงานที่มาใช้บริการของเรา ก็มากขึ้นด้วย ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรน แต่หวังว่าจะได้ลูกค้าเยอะ เนื่องจากแผน 7 ก็มีกำหนดเรื่องนี้ไว้"

จุดที่ประสิทธิ์ หวังไว้คือ เมื่อศูนย์กำจัดกากฯ เกิดขึ้นแล้ว ก็จะนำกากพิษทำลายฤทธฺ์ แล้วไป รีไซเคิล แล้วนำมาใช้ใหม่ เพราะเขาเห็นว่า ของเสียทุกอย่างมีประโยชน์อยู่ในตัว เช่น พวกกากโลหะ ส่วนใหญ่ เมื่อนำไปผสมปูน ก็เอาไปทำอิฐบล็อก ได้

ไม่ว่าผลงานของโครงการนี้จะเป็นอย่างไร ก็จะไม่กระทบต่อศูนย์บริการฯ แสมดำ ประสิทธิ์ กล่าวว่า " เราจะรับของเสียจากโรงงาน ในฝั่งเจ้าพระยาตะวันออก ขณะที่ศูนย์บริการ จะบริการโรงงานฝั่งเจ้าพระยาตะวันออก โรงงานที่นอกเขต ก็ไม่บังคับใช้"

ด้านสยามคอนโทรล สันติเปิดเผยว่า แม้จะมีศูนย์ใหม่เกิดขึ้น ก็ไม่กระเทือน เพราะโรงงานมีเกินกว่ากำลังของระบบอยู่แล้ว แต่จะเป็นปัญหาว่า ของใหม่ จะบริการได้ในราคาถูกได้หรือไม่

ขณะที่ศูนย์บริการคิดค่าบริการน้ำเสีย จากโรงชุบแค่ 45 บาทต่อตัน แต่ต่างประเทศจะคิด 2 พันเหรียญ ในการบริการเตาเผาต่อวัน

ส่วนเหตุผลที่สยามคอนโทรล ไม่ลงทุนโครงการนี้ เพราะเห็นว่าใช้งบสูงเกินไป จึงไม่อยากเสี่ยง แต่จะไปเน้นการบริการให้ปรึกษาการลดของเสียในกระบวนการผลิตเพื่อของเสียออกจากโรงงานน้อยลง โดยจะตั้งบริษัทขึ้นมาดำเนินการ ด้วยการร่วมทุนกับสวิสแลนด์

" เมื่อเจรจาถึงขั้นนี้ แล้วคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรผลิกผันอีก รัฐมนตรีเองก็เห็นความจำเป็นในเรื่องนี้" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

กว่าจะมาเห็นตัวตนคนทำโครงการนี้ได้ ก็เรียกว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงผลัดเปลี่ยบนเวียนหน้า จนเหนื่อยไปตาม ๆ กัน หลังจากที่พยายามศึกษา และผลักดันความคิดนี้กัน ในกระทรวงมาตั้งแต่ปี 2523

ถ้านับจากวันออกประกาศเชิญชวน ถึงวันนี้ ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รัฐมนตรีไฟเขียว ต่างเห็นด้วย มาแล้วถึง 5 คน 5 สมัย ไม่ว่า อบ จิรายุ ประมวล บรรหาร หรือ พลตำรวจเอก ประมาณ แต่ก็ติดปัญหาระเบียบราชการและประสบการณ์

จากกากอุตสาหกรรม ในปี 2528 จำนวน 1.2 ล้านตันทั่วประเทศ เวลานี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 ล้านตันแล้ว และอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณ กาก จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4 เท่าตัว ทำให้มีขยะอุตสาหกรรมทั่วงประเทศ ถึง 6-8 ล้านตัน ยังไม่ร่วมถึงโรงงาน ต่อเนื่องจาก ปิโตรเคมี ที่จะเกิดขึ้นใหม่ด้วย

นี่ก็ถือว่า ช้าไปมากแล้ว ขืนช้ากว่านี้ รอจนศูนย์กำจัดกากเกิด กากพิษคงจะท่วมทะเลล้นเมืองกันเสียก่อน....!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.