ปี 35 จุดหัวเลี้ยวหัวต่อ แจ๊กเจียกรุ๊ป

โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

ก้าวแรกที่ย่างเท้าเข้าสู่ สำนักงานบริษัท แจ๊กเจีย บนถนนสี่พระยา บรรยากาศของความเก่าแก่ผสมปนเปกับกลิ่นหอม ของตัวยาหม่องตราเสือ แป้งหอม " ตาบู" สบู่หอม "จูน" และเครื่องสำอางยุคเก่าอบอวลไปทั่วบริเวณ

แทบไม่น่าเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้คือ กำเนิดของเจ๊กเจียกรุ๊ป ทีมีอายุยาวนานถึง 42 ปี แล้ว เติบโตเป็นกลุ่มบริษัท ธุรกิจขนาดใหญ่ ( conglomorate) กระจายการลงทุนไปทั่ว 10 ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปนส์ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอังกฤษโดยจะแตกเป็นบริษัทร่วมทุนประมาณ 105 บริษัท

จาการลงทุนในอดีต แจ๊กเจีย กรุ๊ป ร่ำรวยจาการค้าขายและเครื่องสำอาง ในไทยสู่ธุรกิจ สัมปทาาน ด้านกิตจการค้า ไม้ในอินโดนีเซีย และค้าแร่ในประเทศไทย ควบคู่กับการทำงานกิจการอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ฮ่องกงถึงสิงคโปร์

ปัจจุบันแต่ละปี แจ๊กเจีย กรุ๊ป ทำรายได้รวมทั้งหมด เกือบเจ็ดพันล้านบาท จากผลิตภัณฑ์หลัก ๆ คือ ลูกอม อสังหาริมทรัพย์ ผ้าไหมแพรพรรณ เสื้อผ้า ร้านหนังสือ MPH ที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์ ต่อมาได้ขยายไปทำกิจการโรงพิมพ์ที่เป็นเจ้าของหนังสือผู้หญิง female และ petticoat และสำนักพิมพ์ผู้ขาดการพิมพ์หนังสือประจำสายการบิน หลายเล่ม เช่น หนังสือ สวัสดี ของสายการบินไทย " silverkris" ของสายการบินสิงคโปร์ humibah high life scanorama และเล่มล่าสุด คือ " asian propertryW

รากแก้วฐานธุรกิขใหญ่ของแจ๊กเจีย กรุ๊ป อยู่ที่ประเทสสิงคโปร์ และฮ่องกง โดยการลงทุนสำคัญ ๆ ได้ผ่านบริษัทโอลดิ้ง 4 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้

สิงคโปร์-บริษัท Jack chia-MPpH Limited

-บริษัท HIP Holding Limited

ฮ่องกง- บริษัท Jack chia in ternational limited

มาเลเซีย -บริษัท jack chia enterprises (Malaysia) BHD
ดังนั้นการจะรู้จักบทบาททางธุกริจของแจ๊กเจีย กรุ๊ป ให้ดีมาก ๆ จะต้องมองผ่านบริษัทอินเวอสเม้นท์โอลดิ้ง เหล่านี้ ซึ่งมีสายโยงการลงทุนที่สลับซับซ้อนไปมาระหว่างกันและกัน ในเครืทอ บริษัทแจ๊กเจีย กรุ๊ป 105 บริษัทในสิงคโปร์ บริษัท jack chia-MPH Limited หรือเรียกย่อ ๆ ว่า "JC-MPH" นับว่าเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ประวัติเก่าแก่ของบริษัท อายุ 63 ปีนี้ แจ๊กเจีย ได้ซื้อกิจการโรงพิมพ์และร้านหนังสือมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 และเปลี่ยนชื่อ โดยเอา ชื่อนำด้วย Jack chia เป็นชื่อใหม่ว่า jack chia-MPH Limited

เครือบริษัท กลุ่มนี้ มีรายได้ใน 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ในอัตราเติบโต

และก้าวกระโดใน ปี พ.ศ. 2532 -33 โดยเพิ่มจากปี 2531 ซึ่งทำรายได้แค่ 77.482

ล้านเหรียญ สิงคโปร์พุ่งพรวดเป็นเงิน 289.212 และ 353.701 ล้านเหรียญสิงคโปร์

หรือเทียบเงินไทย ได้ 5495.67 และ 4994.26 ล้านบาท ในปี 2532และ 2533

ตามลำดับ เพราะกิจการที่ JC-MPH ซื้อมามากในช่วงปี 29-30

นั้นสามารถทำรายได้และกำไรได้มากในภาวะเศรษฐกิจดี

นอกจากนี้ บริษัทที่น่าจับตาอีกแห่งในสิงคโปร์ ของแจ๊กเจีย

ก็คือบริษัท

HTP Holding limited เดิมทีบริษัทนี้เป็นเจ้าของโรงแรมไท-ปัน รามาดา

(Tai-pan Ranada Limited) แต่ต่อมา เมื่อ 15 สิงหาคม 2532 ได้ขายโรงแรม

แห่งนี้ไปในราคาที่ดี 127 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ รหือ 1793.24

ล้านบาท และมีกำไรถึง 34.33 ล้านเหรียญสิงคตโปร์ หรือ 484.74

ล้านบาท ทำให้บริษัทนี้กลายเป็น cash rich company

ของแจ๊กเจียทันที!!

" ตอนนี้เป็นโอกาสดี เพราะอิรักมีปัญหาอยู่โอกาสที่จะซื้อของได้ถูกมีอยู่มากทีเดียว และทางนี้ ก็มีเงินสดจกาการขายโรงแรม ไทปัน-รามาดานี้ ทางนายห้างมีนโยบายจะถึงเงินสดเพื่อจะซื้อของดี ราคาถูก " แหล่งข่าวเล่าให้ฟังถึงการเตรียมเงินสดเพื่อซื้อกิจการของแจีกเจีย

หลังจากขายทรัพย์สินโรงแรมไปแล้ว บริษัท HTP Holding Ltd. ก็มีแผนเทคโนเวอร์กิจการสำคัญ ของอังกฤษ โดยเมื่อมีนาคมปีนี้ silkflags investment Ltd. เครือบริษัท HTP ก็ได้ซื้อหุ้นเพิ่ม เป็น 29.4% ของบริษัทบ้าวเสตท ( boustedad Plc) :ซึ่งเป็นบริษัทเทรดดิ้งเฟริ์ม ทีมีสาขชาในสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย และอังกฤษ ขายสินค้าเหล้า อะไหล่ยนต์ ฯลฯ

สำหรับบริษัท jack chia international limited หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "JCI" มีสำนักใหญ่ที่ฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป้นบริษัทอินเวสเม้นท์โอลดิ้ง และบริษัท เทรดดิ้ง โดยมีบริษัทในเครือและบริษัทร่วมลงทุนเป็นผลิตกับทำตลาดยาและธุกริจ ด้านอสังหาริมทรัพย์ อื่น ๆ ด้วย รายได้ของกลุ่มเครือบริษัท JCI ในปีนี้ 94,660 ,000 เหรียญฮ่องกง หรือ 303, 858,600 บาท แต่กำไรกลับลดลง ถึง 23% เพราะต้นทุนแรงงานและค่าเช่าที่ดินที่ฮ่องกงได้ เพิ่มขึ้น

ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือบริษัทจดทะเบียนที่มาเลเซีย คือ Jack chia enterprises ( Malaysia) BHD หรือเรียกสั้น ๆ ว่า JCEM เดิมบริษัทนี้เกิดจาการซื้อกจิการบริษัทพังงา ทิน เดรจจิ้ง ลิมิเต็ด ( PHANG-NGA TIN DREDGING :TTD) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นมาเลเซีย ( KLSE) เจ้าของเป็นชาวออสเตรเลีย ที่หวาดระแวงว่าความผันผวนทางการเมืองท้องถิ่น อาจจะทำให้ตนเองถูกยึดสัมปทานเหมือนแร่เหมือนเหตุที่เกิดการยึดน้ำมันในตะวันออกกลางได้ จึงขายกจิการให้แจ๊กเจีย

ต่อมาแจ๊กเจียได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Jack chia mining and industrial corp และเมื่อแร่ดีบุก ราคาตกต่ำมาก ๆ ก็ขายเรือขุดแร่ไป แล้วเปลี่ยน ชื่อใหม่ เป็นบริษัท jack chia enterprises ( malaysia)

BHD ซึ่งเป็นบริษัท โฮลดิ้งในมาเลเซีย ที่ลงทุนในบริษัทในเครือต่าง ๆ และมีผลดำเนินักงานทางบัญชีซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ว่ามีรายได้ 42.69 ล้านเหรียญาเลเซีย หรือ 393.57 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว51 %

กิจการที่น่าสนใจ ที่ JCEM ถือหุ้นอยู่ก็คือกิจการโรงแรม eastern & oriental hotel หรือเรียกย่อ ๆ ว่า E&O Hotel ที่ปีนัง ซึ่งเป็นโรงแรมเกาแก่อายุร้อยปี แจ๊กเจีย ได้ซื้อกิจการอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ นี้มาเพื่อราวปี พศ. 2515 และขณะนี้กำลังรอการอนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่ตรงนี้เป็น E&O complex จากทางการมาเลเซีย คือ The pulau pinaang coastline ซึ่ง

ในเครือบริษัทแจ๊กเจีย กรุ๊ปเช่า

" ที่ผ่านมา เราโตไปทางด้าน Ac

question มากทีดเดียว ถ้าเราเข้าไปศึกษากิจการนั้นดู แล้ว มีอนาคต ดี หรือศักยภาพที่โต เราก็ซื้อ ซึ่งเราทำในต่างประเทศมาก " วีระ อรุณวัฒนาพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ของแจ๊กเจีย กรุ๊ปไท" เล่าให้ฟังถึงการเติบโตของอาณาจักรแจ๊กเจีย กรุ๊ป

เพียงไม่ถึง 10 ปี ให้หลัง สำหรับแจ๊กเจีย อาณาจักรกลุ่มธุรกิจของเขา ก็กระจายไปทั่วสิบทิศ แจ๊กเจียยังถือนโยบายว่า "Don't put all the eggs in on e basket" เพราะถ้าหากการลงทุนกระจุกตัวอยู่เฉพาะที่ใดที่หนึ่ง มากเกินไป ก็จะเป็นการเสี่ยงในยามภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน

ยกตัวอย่าง เช่นการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ อย่างมาก ๆ ในประเทศออสเตเลีย ซึ่งขณะนี้ มีเครือบริษัทแจ๊กเจีย อยู่ประมาณ 36 แห่ง ปรากฏว่า ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของออสเตรีเลียไม่ค่อยดี นัก เช่นเดียวกับที่ฮ่องกง ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากรัฐบาลอังกฤษ เป็นจีนในปี พ.ศ. 2540 ก็มีผลกระทบโดยส่วนรวม ด้านความไม่มั่นใจของนักลงทุน

แต่ในประเทศไทย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา เป้นที่เย้ายวนใจ มีมาตรการชักจูงใจ นักลงทุนต่าง ๆ จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( บีโอไอ) และตลาดหลักทรัพย์แห่ง

ประเทศไทย พัฒนาขยายบบทบาทในการเปินตลาดทุนเต็มที่

จากศัยภาพที่เห็น และเป็นอยู่นี้ ทำให้ในปีนี้ นโยบายการนำบริษัทแจ๊กเจียย) หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า JCIT เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เกิดขึ้น โดยมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 31.5 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท และนำเพิ่มทุน 1.8 ล้านหุ้น เสนอขายแก่ประชาชน โดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ เป็นบริษัท อันเดอร์ไร้ท์เตอร์ให้

" เจตน์ เพียระพฤฒ" ประธานบริหารเครือบริษัทแจ๊กเจีย กรุ๊ป ได้ให้สัมภาษ์แก่ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ นิวส์ สตาร์ ไทม์ หลังการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี ของบริษัท Jack chia-MPH ว่าบริษัทแจ๊กเจียอุตสาหกรรม ( ไทย) จะกลายเป็นบริษัทรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในราวปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยเสนอหุ้นมูลค่าราคาพาร์ 10 บาท และราคาอันเดอร์ไรท์เตอร์ ที่ขายต่อประชาชนหุ้นละ 105 บาท ซึ่งขณะนี้ มีผู้จองหุ้นหมดแล้ว ซึ่งเขาถือว่า เป็นเรื่องโชคดีอย่างมาก ที่หุ้นขายได้หมาดหนึ่งสัปดาห์ ก่อนจที่จะเกิดสงครามอิรัก-คูเวต และแจ๊กเจีย ก็หวังว่า สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลก จะฟื้นตัวได้เร็วก่อนที่บริษัทของเขาจะเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหุ้น

การขายหุ้น ที่เกิดจาการเพิ่มทุนบริษัท เป็น 60 ล้านบาท นี้ จะทำให้ยบริษัท มีรายได้จากการขายหุ้นแก่ประชาชน 189 ล้านบาททันที

" ที่ผ่านมา เราเป็นเป็นบริษัทมหาชนที่สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง มานานนับสิบปี ตอนที่อาจารย์มารวยได้พบกับประธานแจ๊กเจีย ท่านก็อยากเชิญ บริษัททเก่าแก่มั่นคงเข้าตลาด ตอนเราเข้าตลาดมีสมาชิกจ่อคิวยาว ทำให้ตลาดมีสิทธิเลือกมากขึ้น" วีระ กล่าว

ปัจจุบัน มีบริษัทต่าง ๆ ที่รอคิวเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน และบริษัทรับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มากมายถึง 80 บริษัท จนกระทั่งกรรมการพิจารณาแทบไม่ทัน!!!

"ทางคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คงเห็นว่า บริษัทเรายังเล็กอยู่ เมื่อเทียบด้านทุนจดทะเบียน และยอดขายรวมทั้งหมด ซึ่งบริษัทอื่น ๆ ปีหนึ่งขายได้นับพันล้าน แต่ของเราแค่ 200 ล้าน ก็ยังถือว่าเล็กมาก ทางตลาดฯจึงขอให้เป็นบริษัทกระดานสอง เมื่อดูผลงานสักครึ่งปี ก็ค่อยยกระดับเป็นกระดาน หนึ่งได้" แหล่งข่าวจากแจ๊กเจีย กรุ๊ป ให้เบื้องหลังถึงการเข้าเป็นบริษัทรับอนุญาต

บริษัท JCIT มีรายได้จาการขาย ที่ยังนับว่า เติบโตน้อย คือปีที่แล้ว 116.15 ล้านบาท โดยโครงสร้างของรายได้ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและผ้าไหมไทย มีสัดส่วนมากถึง 42% รองลงมาเป็นรายได้ จากผลิตภัณฑ์ยา 31% และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีสัดส่วนรายได้ 27%

แต่การคาดการณ์ถึง การเติบโตใน 5 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-37 รายได้ในปี 2533 จะเพิ่มเป็น 193.49 ล้านบาท และพุ่งเป็น 480.55 ล้านบาท ในปี 2537 ด้วยการลงทุนในปีนี้เพื่อนาคต คือโครงการผลิตลุกอม "ฮัดสัน" ที่ลงทุน 10 ล้านบาทและเริ่มผลิตและขาย " ฮัดสันจูจู๊บ" ในตุลาคม ปีนี้

ผลิตภัณฑ์ ฮัดสัน นี้เองจะมีความหมายอย่างสำคัญมากๆ เมื่อแผนกยาของแจ๊กเจียอุตสาหกรรม(ไทย) หรือชื่อย่อๆว่า JCIT ในปีหน้าไม่มีผลิตภัณฑ์ยาหม่องตราเสือและยาน้ำมัน กวางลุ้ง ซึ่งแต่ละปีแผนกผลิตภัณฑ์ยาจะทำรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ของยอดขายทั้งหมดและสิ้นปี2533 นี้ประมาณการว่าแผนกผลิตภัณฑ์ยาของ JCITจะเพิ่มเป็น46เปอร์เซ็นต์(ดูตารางรายได้และผลการดำเนินงาน)เพราะโครงการลูกอม " ฮัดสันจูจู๊บ" ซึ่งจะเริ่มวางขายสินค้านี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้และปีต่อไป จะมีผลิตภัณฑ์ยาฮัอสันอื่น ๆ เข้ามาในตลาด

รายได้ของแผนกยา ที่เพิ่มจากการคาดการณ์ใน 5 ปีข้างหน้า เพราะเรามีอัดสันจูจุ๊บ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ทีเราตั้งความหวังมากที่เดียว ตัวเลขที่ทำไว้นี้เป็นตัวเลขที่ทำเป้าขายในประเทศเท่านั้นเอง เพราะเรามีศักยภาพในการส่งออกมากที่เดียว เพราะเครื่องหมายการค้าเรา จดทะเบียนทั่วโลกเลย" ผู้บรีหารระดับสูงเล่าให้ฟัง

ในปีหน้า JCIT ก็จะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตภัณฑ์ " ฮัดสัน" ที่ประเทศไทย และเป็นศูนย์ ส่งออกไปต่างประเทศ งานนี้ JCIT ก็ไม่ได้เอาตัวเลขส่งออกรวมอยู่ในยงบประมาณการเงิน 5 ปีข้างหน้เาไว้ด้วย

การที่บริษัท ขยายรายได้เพิ่มเป็น 2 เท่าตัว ได้เช่นนี้ วีระ อรุณวัฒนาพร ผู้จดัการทั่วไป เล่าให้ฟังว่า เป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัท 2 แห่ง คือ บริษัทแจ๊กเจีย จำกัด ที่เดิมเป็นผู้จำหน่าย และบริษัทแจ๊กเจีย อุตสาหกรรม (ไทย) หรือ "JCIT" เป็นโรงงานผู้ผลิตสินค้า และในปีนี้ ก็ได้มีกาเรปลี่ยนงดครงสร้างใหม่ เป็นบริษัทแจ๊กเจีย อุตสาหกรรม ( ไทย) เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย ทำให้มูลค่าขายสูงขึ้น ในปี 2533

"มันเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัท TRANSFER PRICING หรือ ถ่ายเทกำไร และเมื่อบริษัท แจ๊กเจีย จำกั ดได้ขายกิจการให้ ทาง ทางJCIT ไปแล้ว บริษัทนี้ก็ว่าง และการเป็นบริษัท โฮลดิ้งอินเวสเม้นท์ เรากำลังคิดว่า จะเดินไปในแนว GO THROUGH ACQUISITION ธุรกิจที่คิดว่าเติบโตได้ เราจะเข้าไป เทคโอเวอร์ ซึ่งจะโตได้เร็วกว่า" วีระ เล่าให้ฟัง

บริษัทที่ผู้บริหารแจ๊กเจีย กำลังเล็งที่จะเทคโอเวอร์ ก็คือบริษัทที่มีมีโควต้าส่งออกผ้าฝ้าย เพราะจาการศึกษาตลาด ผ้าฝ้ายในต่างประเทศมีโอกาสเติบโตสูงมาก การมีโควต้าส่งออก ก็เปรียบเสมือนในเบิกทาง ส่วนตลาดผ้าไหมปัจจุบันดีซายน์-ใครก็ทำขายในประเทศ และส่งออกไปสหรัฐอเมิรกา ญี่ปุ่น ยุโรป ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางได้โดยไม่ต้องใช้โควต้า ตลาดผ้าไหมไทยปีหนึ่ง ๆ มูลค่ารวมประมาณสามพันล้านบาท โดยครึ่งหนึ่งเป็นมูลค่าส่งออก

"การจะเพิ่มบริษัทในอนานคต เราจะพิจารณาถึง related business ซึ่งเรามีจุดแข็งด้านประสบการณ์และความรู้ ถ้าเรามีทางเลือก เราไปทางนี้ก่อน ส่งนบริษัทที่ฉีกแนวไป แต่เรามีความเชี่ยวชาญเราก้ทำ เพราะเราไม่เคยมีประสบการณ์เลย และไป เทคโอเวอร์ก็ไม่มีประโยชน์" วีระ ให้แนวคิดสำหรับการเทคโอเวอร์ไว้

โอกาสที่จะขยายตลาดผ้าไหม สำหรับแผนกดีไซน์ -ไทย ของเครือบริษัท แจ๊กเจียในไทยมีสูงมาก เพราะปัจจัยการเติบโตอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวที่ล่าสุดมีนักท่องเที่ยว่างประเทศ เข้าไทย 5 ล้านกว่าคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของผ้าไหมไทย

ดังนั้นในอนาคต แจ๊กเจียต้องขยายการลงทุนแบบครบวงจร ตั้งแต่ปลูกหม่นเลี้ยงไหม เนื้อที่ 500ไร่ ที่จังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 20 ล้านบาท โรงทอผ้าไหม โรงพิมพ์ผ้าไหม และผ้าฝ้าย ที่ใช้เงินลงทุน 30 ล้านบาท

"ถ้าจะทำเต็มที่จริง ๆ ต้องใช้เนื้อที่อย่างน้อย พันไร่ ถึง 3 พันไร่ แต่เราจะหาผืนเดียวใหญ่ ๆ ก็เป็นไปไม่ได้ แต่จะกระจัดกระจายกันไป"

ผู้บริหารแจ๊กเจีย เล่าให้ฟังถึงดครงการนี้ ในปัจจุบัน ตลาดผ้าไหมไทยระดับสูบ มี จิม ทอมป์สัน และดีซายน์-ไทย เป็นผู้นำในตลาด

เป็นที่น่าสังเกตุว่าการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ขของบริษัทแจ๊กเจียในไทยไม่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นกิจการเก่าแก่ ที่ตั้งมานาน 42 ปีในไทย นโยบายบริษัทที่ผ่านมา ถึงหลักการเช่า เช่น ดีซายน์ -ไทย ที่เดิมเช่า เป็นที่เพลินจิต ตึกมณียา แล้วถูกไล่ ก็ย้ายมาเช่าที่ถนนสุริวงศ์ในที่สุด ในราวปี 2526 ผุ้บิรหารแจ๊กเจีย ทนแรงรำคาญใจไม่ไหว จึงตัดสินใจซื้อที่ดินเป็นของตนเอง และซื้อที่ดิน 140 ตารางวา บริเวณ ใกล้ข้างเซ็นทรัล สีลม แล้วเป็นสำนักงานขายของดีซายน์ -ไทย ในปัจจุบัน

"ตอนนั้น เราซื้อตารางวาละ 130,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงที่สุดในขณะนั้น" วีระกล่าว

โดยการประเมินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ของบริษัท AMERICAN APPRAISAL (Thailand) LTD. ซึ่งแจ๊กเจียได้จ้างมา ปรากฏว่าที่ดินและสำนกังานขายดีซายน์ -ไทย บนถนนสีลม เนื้อที่ 140 ตารางวา มูลค่าประมาณ 50 ล้าน และอาคารโรงงานของบริษัท ที่ทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ประมาณ 2.77 ไร่ มูลค่าประมาณ 63 ล้านทั้ง 2 แห่ง มีมูบลค่ารวม 113 ล้านบาท

ในอนาคต การเข้ามาถือหุ้นบริษัท JCIT ของบริษัท JACK CHIA-MPH LIMITED ซึ่งเป็นบริษัท investment holding ก็เกิดชึ้น ปัจจุบันนี้บริษัทในเครือและบริษัทร่วมลงทุนของแจีกเจียกรุ๊ป ในไทยมีอยู่ 7 แห่ง แต่บริษัทที่มีบทบาท ด้านการลงทุนก็คือบริษัท แจ๊กเจียจำกัด และบริษัทวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งถือหุ้น 51% ในบริษัทแจ๊กเจีย-สมิทธ์ &เนฟฟิวส์ ซึ่งจำหน่ายพาสเตอร์ยา "เทนโซพลาส" เลือกยี่ห้อ "จิบโซน่า" และเวชัยรฑ์ รายได้ปีที่แล้ว 122.75 ล้านบาท โดยมีบริษัทฟาร์มาแคร์ ตั้งอยู่ที่ลาดกระบัง เป็นโรงงานผู้ผลิตและส่งออก ไปออสเตรเลีย สงิคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้ 92.5 ล้านบาท

"บริษัทนี้เราเข้าไปร่วมลงทุนเมื่อปี 2527 เพราะ BOI ต้องการให้เพิ่มสัดส่วน หุ้นคนไทยเป็น 51 % จากเดิม 15 % ทางเขาจึงต้องการพาร์ทเนอร์ ที่เชื่อถือได้ ซึ่งเขาก็รู้จักเรา ซึ่งตอนนั้นเราดังมากที่เดียวในออสเตรียเลีย และทางบริษัทสมิทธ์ แอนด์เนฟฟิวส์ เค้าก็มีกิจการใหญ่ที่นั่น จากนั้นเราก็ตกลง และเข้าไปลงทุนถือ 51% เค้าถือ 49% โดยเค้าเป็นผู้บริหารเหมือนเดิม เราไม่เข้าไปยุ่งแค่คุมนโยบายและการเงินเท่านั้น แต่เรามีหลักประกัน ว่าเมือ่เราลงทุนไปแล้วจะไม่หลุดหาย" ผู้บริหารระดับสูงแจ๊กเจียเล่าให้ฟัง

การบริหารกิจการนับร้อยๆแห่งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เครือบริษัทแจ๊กเจีย วีระเล่าให้ฟังว่า ยึดหลักการกระจายอำนาจ โดยผู้บิรหารแต่ละแห่ง สามรถตัดสินใจได้เต็มที่

บริษัทืแจ๊กเจีย เป็นหนึ่งในบริษัทยุคแรก ๆ ที่ส่งผู้บริหารคนไทย ไปแระจำต่างประเทศ เช่นประเทศไต้หวัน การูญ เจิ่งประภากร ซึ่งชื่อเดิม "เช็งเชียรุน แซ่แต้" ก็ดุแลกิจการบิริษัท HAW PAR BROTHERS E.AT.( taiwan ) สำหรับที่สิงคโปร์ มีผู้บริหาร ระดับสูง นอกจากลูกชายแจ๊กเจีย คือ ชาตรี เจียมระพฤฒิ แล้วก็คือสกล ฉายาวีระบุตร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะ กรรมการผู้จัดการบริษัท JC-NPH ด้านกิจการในฮ่องกง ก็มีลูกชายแจ๊กเจีย 2 คน คือดนัย เจียระพฤฒิ บริหารและ แซม เจียระพฤฒิ ดูแลโรงานผลิตยา ส่วนที่ฟิลปินส์ ก็มีบรรจง จงจตุรพัส ไปบุกเบิกกิจการ แต่เมื่อบรรจงเสียชีวิตก็ได้ผู้บริหารคนใหม่เป็นชาวฟิลิปปินส์ ทางด้านประเทศอินโดนีเซัย มีผู้บริหารระดับผู้ช่วย ผู้จัดการ

ทุกคนเติบโตจากบริษัทที่นี่ ในเมืองไทย เมื่อมีความสามารถก็เริ่มไปบุกเบิกกิจการในต่างประเทศ แต่ละคนก็อยู่กันมานาน เช่น คุณการุญ ไปอยู่ไต้หวันได้ 35 ปี หรือคุณ พยงค์ วิชัยดิษฐ์ ก็ทำงานมากว่า30 ปี ปัจจุบัน เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแจ๊กเจีย เราภูมิใจและมีรางวัลสำหรับอายุการทำงานาน โดยทุก ๆ 5 ปี จะมีที่ระลึกให้เป็นทองคำหนึ่งกรัมต่ออายุงานหนึ่งปี ถ้าทำ 30 ปี ก็ได้ 30 กรัม " วีระ เล่าให้ฟัง

ปัจจุบันพนักงานในแจ๊กเจีย กรุ๊ป ในไทยมีทั้งหมด 250 คน โดยไม่รวมพนักงงานในบริษัทร่วมทุนอีก 2 แห่ง ซึ่งประมาณ 150 คน การจ่ายโบนัส จะให้ทุกวัน ตรุษจีน และมีลักษณะกงสี แบบจีนเก่าแก่ คือ เลี้ยงข้าวเช้า และกลางวัน แก่พนักงานด้วย

นอกจากนี้ ลักษณะหนึ่งของการบริหารงานสไตล์ แจ๊กเจีย อย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากความสามรถตามนโยบายผู้ใหญ่

"initative and judgement are also essential qualities without them you can't have a good manager. But loyalty comes first. No man can serve two masters" เจตน์ เจียระพฤฒ ประธานแจ๊กเจีย กรุ๊ป เคยพูดได้

วัฒนธรรมแบบธุกริจชาวจีน โพ้นทะเลที่นับถือ คริสต์ศาสนา ได้หล่อหลอมผู้บริหาร ให้มีประสบการณ์ทำงานครุกฝุ่น จากงานระดับล่าง สู่ระดับผู้บริหาร ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นลูกชายเพื่อนเก่าอย่างวีระ อรุณ วัฒนาพร ซึ่งจบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Whit Worth Collegde Spokane ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐ อเมริกา แต่ต้องเริ่มงานหิ้วประเป๋าตะเวณไปกับรถ ซึ่งวีระ ถือว่าเป็นทุก ๆ งานที่ทำมีเกียรติ ทั้งสิ้น ตามแบบอย่างของโปรแตสเตน ที่ดี และต่อมาวีระ ก็ได้เข้ามาเป็นลูกเขยในตระกูล และกลายเป็นผู้บริหารคนสำคัญที่ดูแลกิจการทั้งหมด ในประเทศในขณะนี้

แต่สำหรับอานาคตของอาณาจักรกลุ่ธุกริจขนาดใหญ่ของแจ๊กเจีย เป็นก้าวที่น่าจับตามอง หลัง

จากที่ภาพพจน์ของแจ๊กเจียในอีก1-2 ปีข้างหน้า นี้จะไม่มีผลิตภัณฑ์ ตราสือและตราสิงโตคู่อีกต่อไป เป็นปีแห่งหัวเรียวหัวต่อ ของกลุ่มที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของทายาทของเจตน์ เจียระพฤฒิ ที่จะพิสูจน์การบริหารกิจการยักษ์ใหญ่หมือ่นล้านนี้!!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.