" MANSISTEE ที่นี่ตั้งรับไข่


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

ธุรกิจ venture capital นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ทำกันอย่างง่าย ๆ ขอเพียงมีความคิดเฉียบ ๆ ที่จะมองคิดค้นธุรกิจที่มีอนาคต และมีเงินทุนหนุนหลังสักก้อน ก็พร้อม ที่จะชักชวนนักลงทุนอื่น ๆ ให้มาร่วม หัวจมท้ายด้วย

" มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ไม่ใช่เอาเงินไปลงทุนอย่างเดียว และก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จไปเสียทั้งหมด ต้องแก้ปัญหาตลอดคนอื่นอาจจะคิดสบาย ๆ เอาเงินมาแล้วหาผู้ร่วมทุนสักพักก็เอาเข้าตลาดหุ้น" ดร. สุทธิศักดิ์ มณีพันธ์ เป็นคนหนึ่งที่ยืนยันว่า venture capital ไม่ใช่เรื่องหมู ๆ

สุทธิศักดิ์ เป็นกรรมการบริหารคนหนึ่ง ของ masistee ซึ่งทำธุรกิจ venture capital ในเมืองไทยมาได้สามปีแล้ว

Manistee แนะนำตัวเองกับสังคมธุรกิจไทยว่าเป็นบริษัทวาณิชธนกิจ ( merchant banking) อิสระที่ประกอบการในประเทศไทย " เราไม่ใช่ตัวแทนของกองทุนหรือสถาบัน การเงินทั้งในและต่างประเทศ manistee การรวมกันของคนที่เป็นมืออาชีพทางการบริหารธุรกิจ" marshall parke กรรมการผู้จัดการพูดถึงความแตกต่างของ manistee กับธุรกิจวานิชธนกิจ และ venture capital อื่น ๆ ในเมืองไทย

ขณะนี้ที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันการเงินหรือไม่ก็มีสถาบันการเงินเข้ามาถือหุ้นอยู่ด้วย

parke เป็นคนอเมริกัน จบการศึกษาระดับปริญญตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลยจอร์ช วอชิงตัน และปริญญาโททาง international management จาก The american graduate school of international managemant เขาเป็นคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจในย่านเอเชียแปซิฟิกมากคนหนึ่ง ก่อนหน้านี้ เคยรับผิดชอบธุรกิจวานิชธนกิจของธนาคารฮ่องกง

และเซี่ยงไฮ้ ในพื้นที่ ชายฝั่งตะวัตกของสหรัฐอเมริกา

Parke เป็นผู้ริเริ่ม Manistee ขึ้นเมื่อต้นปี 2530 เขาพูดถึงทิศทางธุรกิจของ mastee ว่า เพื่อขายบริการด้านวานิชธนกิจที่มีมาตรฐานของการให้บริการในระดับเดียวกันที่อยู่ในศูนย์การเงินสำคัญของโลกเช่น นิวยอร์ก .โตเกียว ลอนดอน หรือฮ่องกง

หุ้นส่วน และผู้บริหารหลักอีกสองคน คือ ดร. สุทธิศักดิ์ และ will Liley สุทธิศักดิ์ จบการศึกษาทางด้านตรรกวิทยา คณิตศาสตร์ ( mathematical logic) ชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด และระดับปริญญาเอก จาก east angelia หลังจากใช้ชีวิตที่เรียนหนังสือ และทำงานที่อังกฤษเป็นเวลาถึง 17 ปี เขากลับเมืองไทยมาทำงาน

เป็นผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระยะหนึ่ง หลังจากนั้น มาทำงานกับบริษัทเบนไลน์ ซึ่งเป็นสายการเดินเรือใหญ่ ทางด้านการตลาดและการปฏิบัติการ ก่อนที่จะมาร่วมก่อตั้ง manistee

liley เรียนมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ บัญชี และฏฏหมาย มีใบอนุญาตเป็นทนายในรัฐแคลิฟอร์เนีย และออสเตรเลีย เขาทำงานใน project fibnance division ของ bechtel ในซานฟรานซีสโก หลังจากนั้นเป็นผู้จัดการใน special finance division for asia ของธนาคารเชส แมนฮัตตัน

นอกเหนือจากผู้บริหารหลักสามคนนี้แล้ว ยังมีผู้ร่วมงานทั้งไทยและต่างประเทศ อีก 5-6 คน ที่มีความเชี่ยชาญในทางการเงิน ministee จึงมีจุดเด่นในด้านความเป็นมืออาชีพ ทางการเงิน และประสบการณ์ของผู้บริหารที่โยงใยไปถึงแหล่งเงินทุนต่างประเทศด้วย

ธุรกิจของ ministee นั้น แบ่งออกเป็นสองด้านหลักคือ วาณิชธนกิจ และ venture capital ด้านวาณิชธนกิจ นั้นได้แก่ การให้คำปรึกษาและวางแผนทางการเงินในการซื้อขายกิจการ การทำวิจัยเพื่อหาข้อมูลให้แก่ลูกค้า การวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนให้กับกิจการ

ผลงานล่าสุดของ ministee ในด้านนี้ คือ เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทคิงส์ ฟิช เซอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลกระป๋องในชื่อเดิมว่า ซาฟโคล ( ประเทศไทย) manistee มีบทบขาทสำคัญในการหานักลงทุนมาซื้อหุ้น ของซาฟโคลฮดลดิ้ง ที่ยังเหลือ อยู่ในคิงศ์ฟิชเชอร์ 30% ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก ของแผนการเพิ่มทุน เพื่อขยายงานคิงส์ฟิชเชอร์

แต่ผลงานที่โดดเด่นของ ministee ในช่วงสองปีกว่านับแต่ก่อตั้งมาคือธุรกิจทางด้าน venture capital parke พูดถึงบทบาทของ manistee ว่า " เราเข้าไปเป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาหาธุรกิจที่มีอนาคต หาทางตั้งเป็นรูปบริษัทขึ้นมาด้วยการมมีนักลงทุนหลาย ๆ ฝ่ายมาเจอกัน หลังจากตั้ง

บริษัทได้แล้ว เราร่วมลงทุนด้วยและเข้าไปช่วยบริหารงาน ให้คำแนะนำ คอยแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ด้วย"

รูปแบบของการรวมทุน คือการเป็นหุ้นส่วนระหว่างนักลงทุนไทย กับต่างประเทศ เพราะ misistee วางขอบเขต ธุรกิจที่ตัวเองจะเป็นผู้เริ่มขึ้นมาอยู่แวดวงที่ต้องใช้เทคโนโลยี วิทยาการสมัยใหม่ ที่จะได้จากนักลงทุนต่างประเทศ

ปัญหาใหญ่ของ venture capital จากประสบการณ์ของ ministt คือ ธุรกิจใหม่ที่เริ่ม ขึ้นมานั้นประกอบด้วยนักลงทุนผู้ประกอบการหลายๆ กลุ่ม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของผู้ถือหุ้น เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้การตัดสินใจทางการบริหารหลังจากที่บริษัทเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แล้วเป็นไปอย่างคล่องตัว เพื่อที่จะแก้ปัญหาได้อย่างทันเหตุการณ์

"คนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น นั้นทุกคนต่างมีความคาดหวัง ว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี แตธุรกิจใหม่ ๆ นั้น หนีไม่พ้นที่จะแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องช่วยกันแก้ไข ก่อนไปถึงขั้นที่ว่าจะแก้อย่างไรนั้น ผู้ถือหุ้นจะต้องคุยกันให้รู้เรื่องเสียก่อน " สุทธิศักดิ์ กล่าว

โครงการแรก manistee เข้าไปมีส่วนเริ่มขึ้นมาคือบริษัทไทยเซอร์กิต ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงวงจรประกอบสารกึ่งตัวนำ ที่เรียกว่า printed circult board ผู้ถือหุ้นใหญ่มาจากบริษัท venture capital เช่นเดียว กับ manistee คือธนสถาปนาที่มีเฉลียว สุวรรณกิตติ เป็นหัวเรือใหญ่ บริษัทเวนเจอร์ แคปปตอล ที่ราเกซ สักเสนา เป็นกรรมการผู้จขัดการ และกลุ่มสามารถวิศวกรรม

จนถึงวันนี้ สามปีเข้าไปแล้ว ไทยเซอร์กิต ยังไม่สามารถทำการผลิตได้ " มีปัญหาหลาย ๆ อย่างในด้านเทคนิค การบริหาร อนาคต ขของมันจะเป็นอบย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน" สุทธิศักดิ์

กล่าว

แต่ปัญหาใหญ่ ในสายตาของ PERKE นั่นคือ ผู้ถือหุ้นของไทยเซอร์กิต ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนทำให้ไม่มีการตัดสินใจเพือ่แก้ปัญหาในระดับบริหารออกมาสักที เพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง

manistee ยังมีผลงานอีกสี่โครงการซึ่ดูเหมือนจะเดินหน้าไปด้วยดีกว่า โครงการแรก คือ บริษัท ไทยไมโครซิสเต็ม ผู้ประกอบแผงวงวจรไฟฟ้า

แบบพิเศษซึ่งเป็นตลาดที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม เซมิคอนดัดเตอร์ manistee มีหุ้นอยู่ 9 % ร่วมกับนักลงทุนชาวอเมริกัน สองคน ซึ่งมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม นี้มา 30 ปี ผู้ถือหุ้นรายอื่น คือ ธนสถาปนา บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย และฮัมเบิร์ท แอนด์ ควิสท์ ( H&Q)

เมื่อปีที่แล้ว Manistee จับมือกับ Tony Lambert อดีตกรรมการผู้จัดการของบริษัท เอเยนซี โฆษณา HDM ( Thailand) และ KLP ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักลอนดอน ตั้งบริษัท KLPL ( ASIA) เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีลูกค้าใหญ่ ๆ ๆ อยู่ในมือหลายวรายแล้ว คือโค็ก คอลเกต - ปาล์ มโอลีฟ โฟร์โมสต์ เครือโรงแรมเลอเมอริเดียน และจิม ทอมป์สัน

โครงการที่สี่ ของ manistee คือ ธุรกิจที่ให้คำปรึกษาและติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สำหรับโรงงาน เหมืองแร่ บ้านพัก คอนโดมีเนียม ชื่อ Pan electronic protection system ซึ่งมีอดีตนายทหารจากกองทัพบกอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยเป็นเวลา 15 ปี ในอังกฤษ และฮ่องกง เป็นกำลังหลัก

ผลงานชิ้นสุดท้าย ซึ่งสุทธิศักดิ์ บอกว่ายังเป็นเพียงแนวความคิดที่ยังไม่ลงตัว แต่กระนั้น ก็แปรรูปออกมาเป็นหุ่นจำลองเรียบรอ้ยแล้วคือ โครงการสร้างอาคารสำนักงาน จำนวนหกหลังและโรงแรมในบริเวณใกล้เคียงกับสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นแนวความคิดของการพัฒนาพื้นที่สำนักงานรอบ ๆ ในบริเวณใกล้เคียงสนามบินนานาชาติ

marshall parke และ สุทธิศักดิ์ ยืนยันจากประสบการณ์ 3 ปี ของ manstee ว่า venture capital นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนคิด การมองหาธุรกิจใหม่ ๆ และแหล่งเงินทุนนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงนัก แต่วสิ่งที่ชี้ขาดว่าจะอยู่หรือจะไปคือการแสวงหาผู้ประกอบการที่แน่ใจว่าคุยกันรู้เรื่องก่อนที่จะร่วมหัวจมท้ายกัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.