ความพยายามที่จะเปิดประเทศให้นักลงทุนจากต่างปรเทศเข้าไปทำการค้าขายในลาว นั้นมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยู่
ๆ แต่ปรากฏว่า การเข้าไปของชาวต่างประเทศยังมีน้อยอยู่ เต็มทีเมื่อเทียบกับการทุ่มเทโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้นำลาวในระยะสองปีที่ผ่านมา
เพราะเหตุว่ารายละเอียดของเงื่อนไขต่าง ๆในการเข้าไปลงทุนค้าขายยังขาดความแน่นอน
ทำให้ผู้ลงทุนไม่มีความั่นใจเพียงพอ
เหตุผลใหญ่ที่นักลงทุนจากต่างประเทศทั้งหลาย ไม่มีความมั่นใจในการเข้าไปทำมาค้าขายด้วยก็คือ
ความอ่อนแอของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเงินที่จะเข้ามารองรับนโยบายดังกล่าว
ซึ่งจะว่ากันในความจริง ๆ แล้วก็คือหมายที่จะมารองรับบทบาทของรัฐ การให้สิทธิและการกำหนดหน้าที่ของประชาชนในรัฐนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นกฏหมายที่จะออกมรองรับระบบการใหม่ที่มีการผ่อนคลายแบบโลกเสรีมากขึ้น
บทบาทและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐ ธนาคารกลาง การรับรองสิทธิ และหน้าที่
ธนาคารเอกชน การผูกพันเป็นหนี้สินทางกฏหมายการที่สิทธิในทรัพย์สิน การโอนซื้อขายแลกเปลี่ยนรวมไปถึงหักประกันในเรื่องเกี่ยวกับหนี้และการยอมรับการล้มละลาย
เมื่อหนี้สินล้นพ้นตัว
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะพูดรับรองสิทธิกันมากอยู่ ๆ ย่อมไม่ได้ จำเป็นจะต้องออกมาเป็นกฏหมายรองรับ
ในปัจจุบันจึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งของการเปิดประเทศสู่ระบการค้าแบบเสรี ที่รัฐบาลลาวต้องการ
กล่าวกันว่าการที่จะเข้าไปตั้งบริษัท ขึ้นมาสักหนึ่งบริษัท เพื่อลงทุนทำมาค้าขายในประเทศลาวปัจจุบันนี้นั้น
ปรากฏว่าไม่กฎหมาย ไม่มีระเบียบ มาก่อนเลยว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
สิ่งที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นแต่เพียงว่าตั้งชื่อบริษัทขึ้นมาแล้วทำสัญญาร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นแล้วนำไปแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งนับว่า เป็นการเสี่ยงอย่างที่ที่ผู้ลงทุนถือหุ้นด้วยกัน
และผู้ที่จะเข้าไปผูกพันขายด้วย
บางคน บอกกับ " ผู้จัดการว่า กอ่น ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอนุญาตออกมานั้น
จะต้องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเมืองเสียก่อน ย่อมทำให้ล่าช้าหนักเข้าไปอีกต่อหนึ่งโดยไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
สำหรับนานาประเทศแจ้งความเป็นบริษัทไม่ใช่จะสมบรูณ์เพียงแค่นั้น ความสำคัญของบริษัทอยู่ที่บทบาท
สิทธิ หน้าที่ ระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อผู้ถือหุ้นด้วยกัน
และความผูกพัน กับบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์ ด้วย
เพียงแค่นี้ ถ้าไม่มีกฏหมายรองรับบังคับใช้แล้ว ก็คงต้องเขียนสัญญาเพื่อตั้งบริษัทออกมายาว
ๆ พอกับประมวลกฏหมายแพ่ง และพาณิชย์ของไทยทีเดียว
การรับรองสิทธิและหน้าที่ของประชาชนก็เช่นกันโดยเฉพาะสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง
ๆ โดยเฉพาะพวกที่ดิน ตึกราม บ้านช่อง เพราะในแง่ธุรกิจแล้วสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นต้นทุนและในแง่กฏหมายถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่
สามารถใช้ชำระหนี้หรือเป็นหลักประกันความผูกพันทางธุรกิจกันได้
กล่าวกันว่า ธนาคารพาณิชย์ในลาวปัจจุบันนี้นั้น เป็นแค่เพียงเครื่องมือระดมการออมเท่านั้น
แต่จะใช้เครื่องมือ ในการกระจายทุนในรูปของเงินกู้ต่าง ๆ ยังไม่สามารถทำได้ดีนัก
เพราะกฎหมาย ที่จะรองรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่มี แม้รัฐจะบอกว่าประชาชน
มีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่หากไม่อาจจะมีอะไรยืนยันสิทธิดังกล่าวนั้นได้ตามแบบสากลประเทศเขาทำกัน
ทรัพย์สินที่ดินเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะเอามาจำนำ จำนอง เป็นหลักประกันการกู้ยืมได้เลย
อย่างไรก็ตาม ความพยายามของรัฐบาลลาวก็มิได้ลดละโดยยอมรับที่เปลี่ยนแปลผ่อนคลายยระบบการเงินอัตรา
แลกเปลี่ยนและเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุน และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะข้ามาจากต่างประเทศในการขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศธนาคารโลกเพื่อการพัฒนา
ADB หรือ Asian development Bank ได้ให้การช่วยเหลือทั้งการทำแผยพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงิน
เศรษฐกิจของลาวไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้
โดยในด้านการวางแผนเศรษฐกิจนั้น ทาง ADB ได้ว่าจ้าง ดร. วีระพงษ์ รามางกูร
อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เข้าไปศึกษาและให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลลาวไปแล้ว
ส่วนทางด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงิน ซึ่งงานส่วนใหญ่เป็นเงานเกี่ยวกับการศึกษาปัญหา
และหาแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและออกฏกหมายต่าง ๆ ADB ได้ว่าจ้างสำนักงาน
เอนก เดนตัน ฮอลล์ ในราคาชั่วโมงละ 125 ดอลาร์ ซึ่งมีเอนก ศรีสนิท เป็นเจ้าของเป็นผู้
ดำเนินการอันเป็นโอกาสดีของนักกฏหมายไทยที่เปรียบเส มือนพี่น้องใกล้เคียงกันกับลาวที่จะได้มีโอกาสช่วยเหลือกันอีกทางหนึ่ง
เพราะคนไทยย่อมจะรู้ถึงความรู้สึกนึกคิด วัฒนะธรรม ประเพณี และความต้องการของพี่น้องชาวลาว
อย่างแท้จริง นับเป็นบทบาทใหม่ของนักกฎหมายคนไทยที่ได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติอย่างสูงโดยเฉพาะ
จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อย่าง ADB
สำนักงานเอนก เดนตัน ฮอลล์ จะทำงานร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญจาก crown agents
ซึ่งเป็นสำนักงานที่รัฐสภาอังกฤษตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลกฏหมายของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง
ๆ ทั่วโลกกว่า 300 ประเทศรวมทั้งลาวด้วยและ
docons ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาการบริหารโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม
ด้านกฎหมายนั้นในระยะ 3 เดือนแรก ทีมงานเอนก เดนตัน ฮอลล์ ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมายจาก
crown agents นักเศรษฐศาสตร์การเงินจาก doconds และตัวเอนกเองรวม 3 คน จะต้องเข้าไปในลาว
เพื่อเก็บข้อมูลและทำการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการใช้กฆหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
เพื่อเป้าหมายที่จะรัฐและประชาชนของลาวได้เข้าใจระบบเศรษฐกิจและการเงินการคุ้มครองและให้เสรีภาพแก่ลูกค้า
นาคาร และบทบาทขอบเขตอำนาจตามกฏหมายของธนาคารกลาง ของรัฐบาลการยอมรับข้อผูกพันและขอบเขตของกฏหมายรวมไปถึงสิทธิในทรัพย์สินทั้งหลายการโอน
การแลกเปลี่ยน และความสามารถที่จะหาหลักประกันในเรื่องหนี้สิน และการล้มละลาย
ในขั้นต่อไป ซี่งคาดว่า จะจ้องใช้เวลาติดต่อกันอีก 4 ปี ในการร่าง ต่าง
ๆ ดังกล่าวออกมาใช้ เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการให้ความมั่นใจแกนักลงทุน
ในการให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนและนักธุรกิจจากทั่วทุกประเทศในอันดับต่อไปตามแผนการฟื้นฟูและการพัฒนา
ประเทศของลาวที่กำลังได้รับความช่วยเหลือจากโลกในขณะนี้
จุดที่ทาง ADB เน้นมากที่สุดในระยะนี้ ก็คือการทำให้ระบบการเงินที่อ่อนแอของลาว
ให้ได้รับความเชื่อถือ ไว้วางฝใจ จากชาวโลกมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างระบบการเงินธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์
เมื่องานนี้สำเร็จก็เรียกได้ว่า เอนก เดนตัน ฮอลล์ ได้ทั้งเงินได้กล่องพร้อมกันทีเดียว