ไทยธนาคารโชว์บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ผลตอบแทนสูงถึง 13.4% จากมูลค่ากองทุนทั้งหมดในพอร์ต
3.08 หมื่นล้าน บาท และเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 14 % ด้านสำนักวิจัยและวางแผน
ชี้การลอยตัวค่าเงินหยวนจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ในจีน
ขณะเดียว กันจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคสะดุดลงด้วย
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด เปิดเผย
ถึงการดำเนินธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2546 ว่าจากข้อมูลแสดงการจัดการกองทุนแยกตามรายบริษัทจัดการปี
2546 ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียน ณ สิ้นเดือน
ก.ย. 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 271,397.67 ล้านบาทนั้น ธนาคารไทยธนาคารมีจำนวนเงินกองทุนทั้งสิ้น
30,852.14 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดคิดเป็น 11.37% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นมาตลอดระยะเวลา
9 เดือนที่ผ่านมา
"ธนาคารสามารถบริหารกองทุนให้ได้ผลตอบแทน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 สูงถึง 13.4%
เมื่อเทียบ จากปีที่แล้วอยู่ที่ 8-10% โดยกองทุน ที่มีผลตอบแทนสูงสุดอยู่ในระดับ
17-18% จากกองทุนทั้งหมดที่ธนาคารบริหาร 50 กองทุน สำหรับ บริษัทนายจ้างที่ธนาคารรับบริหารกองทุนให้จำนวน
600 ราย ซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นสมาชิกในกองทุนจำนวน 100,000 ราย"
ทั้งนี้ จากผลประกอบการในการบริหารเงินกองทุนให้แก่ลูกค้า โดยไม่มีการรับโอนย้ายกองทุนเพิ่ม
ขึ้นในระหว่างปี จะเห็นได้ว่าไทยธนาคารเป็นธนาคารที่สามารถเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
(NAV)ได้สูงสุดในกลุ่มบริษัทจัดการกองทุน 10 อันดับแรก หรือในกลุ่มบริษัทจัดการกองทุนที่มีกองทุนอยู่ในความดูแลสูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท
ด้วยกัน โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของ NAV สูงถึง 14% เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของตลาดโดยรวม
อยู่ที่ประมาณ 10%
นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มในการบริหารกองทุนปีหน้า จะเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิมมาก
กว่าการขยายพอร์ตลูกค้า เนื่องจาก เม็ดเงินของลูกค้ามีปริมาณเพิ่มมาก ขึ้น ดังนั้น
จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มปริมาณลูกค้าใหม่อีก แต่ถ้าหากมีลูกค้าเข้ามาขอใช้บริการเพิ่ม
ธนาคารยินดีที่จะบริหารกองทุนให้ นอกจากนี้ธนาคารคาดว่าจะมีลูกค้าจดทะเบียนในกองทุน
เข้าระบบเพิ่มมากขึ้น แต่คงเป็นปริมาณที่ไม่สูงนักสำหรับลูกค้ากองทุนที่ธนาคารบริหารให้นั้น
ในส่วนของบริษัทเอกชนที่มีเม็ดเงินมากที่สุดได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
(มหาชน) และถือว่าเป็นบริษัทในกลุ่มเอกชนที่มีมูลค่ากองทุนมากที่สุดในตลาด ซึ่ง
มีจำนวนถึง 10,000 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจที่เป็นลูกค้าของธนาคารที่มีขนาดกองทุนใหญ่ที่สุด
คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. มีจำนวนกองทุน 24,000 ล้านบาท
แต่ในส่วนของธนาคารได้รับบริหาร เพียง 50% หรือคิดเป็น 12,000 ล้านบาท
"สัดส่วนในการลงทุนแต่เดิม นั้นการลงทุนในตราสารหนี้สูงถึง 90% แต่ปัจจุบันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
จึงเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนในตราสารทุนเป็น 17% แต่ทั้งนี้ ต้องออกแบบการลงทุนเพื่อนำเสนอลูกค้าสำหรับให้การตัดสินใจในการลงทุน
และพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในตราสารทุนดังกล่าว"
นายพิศิษฐ์ กล่าวในตอนท้าย
ไทยธนาคารชี้ลอยตัวเงินหยวนผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่
สำนักวิจัย และวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร ได้ทำการวิเคราะห์เรื่อง "สหรัฐฯ-จีน
: ดุล การค้าและแรงกดดันต่อค่าเงินหยวน" ว่า การลอยตัวค่าเงินหยวน จะทำให้เงินหยวนแข็งค่าและจะส่งผลกระทบหลายประการต่อเศรษฐกิจ
จีนและภูมิภาค คือ มูลค่าการส่งออกของจีนจะลดลง อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น
ภาคการเงินการธนาคารที่อ่อนแอจะมีปัญหามากขึ้น การดำเนินนโยบายในการบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก
ขณะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมปรับตัวสูงขึ้น ส่งผล กระทบต่อเสถียรภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจะทำให้จีนมีปัญหาด้าน การจัดการปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
และเป็นปัจจัยเร่งให้เกิด เศรษฐกิจฟองสบู่ หรือเร่งให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้นอย่างที่เคยเกิดกับญี่ปุ่น
ดุลการค้าของประเทศเอเชีย จะชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อภาค การผลิตทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ในภูมิภาคสะดุด สำนักวิจัยฯ จึงมองว่าไม่ควรจะมีการปรับเปลี่ยนใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอย
ตัวในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้
สำนักวิจัยฯ ประเมินว่า การขยายช่วงการเคลื่อนไหวของเงินหยวนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นมีความเป็นไปได้
การขึ้นค่าเงินหยวนและการลอยค่าเงินหยวนให้เปลี่ยนแปลงเสรีตามกลไกตลาดยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก
สหรัฐฯ จะยังคงกดดันให้จีนลอยค่าเงินต่อ ไปจนกระทั่งช่วงเลือกตั้งปีหน้า
"การลอยตัวของค่าเงินหยวน จะส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่าและผันผวนมากขึ้น
ธนาคารกลางประเทศเอเชียจะเข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าเร็ว เกินไป ธนาคารกลางในบางประเทศ
อาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อพยุงค่าเงินแรงกดดันต่อการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศ
ซึ่งเกิดจากการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนประเทศในเอเชียทั้งจาก สหรัฐฯ และกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะเพิ่มขึ้น"
ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 นั้น
หมาย ความว่า คนอเมริกันจับจ่ายใช้สอย เพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้สหรัฐฯขาด ดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่คาด
สำหรับไทย คาดว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) จะมีการแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้น เร็วจนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก
ขณะที่ภาคส่งออก จะต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
ต้องเร่งปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและยังต้องศึกษาเครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง