"ช้างไทย ช่างไทย"


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

ประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ช้างเผชิญภาวะการขาดแคลนอาหารเนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง การเจ็บป่วย หรือถูกใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง องค์ กรต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนหลายหน่วยงานได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และช่วยเหลือ

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2542 ที่ผ่านมา ริเวอร์ซิตี้ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง จึงได้จัดนิทรรศการ "ช้างไทย ช่างไทย" ขึ้นเป็น กิจกรรมใหญ่ส่งท้ายปี 2542 โดยมี อา-นันท์ ปันยารชุน เป็นประธานเปิดนิทรรศการ ภายในงานได้พยายามให้ผู้คนได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของช้าง และความอลังการของช่างไทยเช่น ช้างในงานจิตรกรรม ช้างกับงานแกะสลักไม้ และช้างกับงานภาพถ่าย

ในจิตรกรรมไทย ช้างได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันอยู่อย่างเหนียวแน่น ในฐานะแม่บทของการฝึกหัดเขียนภาพจิตรกรรมไทย ดังนั้นช้างซึ่งมีความ ผูกพันกับชาวไทยจึงเข้าไปมีส่วนร่วมกับจิตรกรรมไทยเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นภาพพุทธประวัติตามวัดวาอาราม ต่างๆ หรือภาพในวรรณคดี

สำหรับจิตรกรรมร่วมสมัยของไทยมีศิลปินนำเรื่องราวของช้างมาสร้าง สรรค์จิตรกรรมไม่มากนัก นอกจากศิลปินที่สร้างสรรค์จิตรกรรมในแนวประเพณีอันมีแบบอย่างที่มาจากจิตร กรรมไทยแล้ว ศิลปินร่วมสมัยที่สร้าง สรรค์จิตรกรรมสากลเป็นเรื่องเป็นราวของช้างมีจำนวนนับคนได้ เช่น เหม เวชกร ถวัลย์ ดัชนี คำอ้าย เดชดวงตา สุชาติ ตั้งศิลปโอฬาร อัศวิน ดรุณแสง

งานในวันนั้นมีนิทรรศการผลงานจิตรกรรมจากศิลปินกว่า 70 คน เช่น ถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ วันเจริญ จ่าปะคัง สุรสิทธิ์ เสาว์คง

ทางด้านงานแกะสลักไม้ เป็นงานช่างหรืองานศิลปะแขนงหนึ่งที่นิยมใช้ช้างเป็นต้นแบบเนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปทรงค่อนข้างใหญ่ ง่ายต่อการถ่ายทอด มีอิริยาบถที่สง่างาม น่าเกรงขาม และน่ารักปะปนกัน สำหรับช่างแกะสลักไม้ที่เลื่องชื่อของไทย ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ ด้วยเป็นดินแดน แห่งป่าไม้ และถิ่นอาศัยของช้าง และปรมาจารย์งานช่างแขนงนี้คือ ครูคำอ้าย เดชดวงตา

ครูคำอ้ายได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (แกะสลักไม้) และเป็นกรรม การผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนช้าง ครูคำอ้ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้างในฐานะสัตว์คู่บารมีชาติไทย แต่ปัจจุบันช้างมีปัญหามากมาย จึงรังสรรค์งานแกะสลักไม้เป็นรูปช้างในลักษณะต่างๆ กัน ทั้งในเชิงเรียลลิสติก อีโรติก และจัดแสดงไว้ที่ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมชุมชน ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นทั้งที่ทำงาน และแสดงผลงาน รวมทั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนมาศึกษา และฝึกฝนงานไม้เพื่อเป็นอาชีพเสริม ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาเป็นโรงเรียนศิลปหัตถกรรมเพื่อการอาชีพ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสถาบันจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว

ซึ่งงานนิทรรศการในครั้งนี้ ครูคำอ้ายได้นำผลงานของตนเองและลูกศิษย์มาร่วมแสดงด้วย รวมทั้งเปิดรับบริจาคสมทบกองทุนในการจัดตั้งโรงเรียนที่ยังต้องการงบในการสนับสนุนอีกมากด้วย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.