ธุรกิจ"ตระกูลหงษ์หยก"เริ่มต้นไม่ค่อยจะแตกต่างจากธุรกิจของตระกูลสำคัญในภูเก็ตมากนัก
จากการทำเหมืองแร่และสวนยางพารา แล้ว ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ไปสู่ธุรกิจพัฒนาที่ดินและตัวแทนการค้าธุรกิจ
ส่วนกลาง ด้วยภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจจึงไม่ รุนแรงนัก
งษ์หยก ก่อกำเนิดตระกูลและธุรกิจ จาก"จิ้นหงวน หงษ์หยก" ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง
อนุภาษ ภูเก็ตการ ชีวิตของเขาเริ่มต้นจากกำพร้าบิดา ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มได้ทำงานกับพี่ชายคนโต
(หลวงประเทศจีนารักษ์) ซึ่งเป็นนายเหมืองในพังงาและกระบี่ ทำงานกับพี่ชายจนมีความรู้ความสามารถ
จึงขอแยกตัวมาทำเหมืองหาบที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ตกับเพื่อนๆ แต่ได้ประสบปัญหาขาดทุนแทบหมดตัว
จากความมานะพยายามและความอดทน จึงสามารถเปิดเหมืองสูบแห่งแรกในเมืองไทย
และพยายามปรับปรุงการทำเหมืองแร่จนประสบความสำเร็จ โดยการจัด ตั้งโรงไฟฟ้า
เพื่อใช้ในกิจการทำเหมืองแร่ ทำ ให้ต้นทุนในการผลิตแร่ต่ำลง
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2473 สมเด็จ พระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์
วรพินิตได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงไฟฟ้า พร้อมกับประทานชื่อเหมืองว่า
"เจ้าฟ้า"ในช่วงแรกของการทำเหมืองแร่ดีบุก ตระกูลหงษ์หยกได้รับการสนับสนุนจาก
มิสเตอร์เฮนรี คี สก๊อต เจ้ากรมโลหะกิจของไทย ที่ควบคุมเหมืองแร่ในประเทศไทย
เมื่อธุรกิจเหมืองแร่เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ หลวงอนุภาษฯได้มีการขยายกิจการที่นอกเหนือจากเหมืองแร่ออกไปอีกมากมาย
เช่น โรงสีข้าว เพื่อสีข้าวใช้ใน เหมืองแร่ โรงเลื่อย ที่อำเภอท้ายเหมือง
จ.พังงา เพื่อทำไม้ใช้ในกิจการเหมืองแร่ โรงพิมพ์ เรือเดินทะเลระหว่างภูเก็ต-กันตัง
2-3 ลำ เพื่อขนข้าวสารจากนครศรีธรรมราชมาภูเก็ต และขยายกิจการไปซื้อสวนมะพร้าวจากบริษัทต่างชาติ
สวนยางพารา และโรงน้ำแข็ง
กล่าวได้ว่า เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา กิจการของตระกูลหงษ์หยกเจริญรุ่งเรืองที่สุด
หรือประมาณสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการติดต่อธุรกิจกับต่างประเทศที่ปีนัง
มีการขยายสำนักงานไปยังกันตัง รองรับธุรกิจเดินเรือขนส่ง มีการขยาย การทำเหมืองแร่ไปพังงาและระนอง
และได้ ตั้งบริษัทอนุภาษและบุตร จำกัด เป็นบริษัท บริหารกิจการทุกอย่างของครอบครัว
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2482
การทำธุรกิจคงจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นวงจรทางธุรกิจเมื่อเจริญมากๆ ก็ต้องหมุน
เวียนมาถึงจุดที่ธุรกิจต้องตกต่ำลงบ้าง ธุรกิจ ของตระกูลหงษ์หยกก็เช่นกัน
หลังจากที่เจริญมากๆ ในยุคเริ่มต้น ก็เริ่มที่จะถดถอย ในช่วงรอยต่อของการบริหารระหว่างยุคเริ่ม
ต้นกับยุคที่สอง
การลดขนาดในยุคที่สองของหงษ์หยก มีการตัดธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองแร่และกิจการที่ดูแลไม่ทั่วถึงหรือ
มีปัญหาออกไป เช่น ขายกิจการโรงเลื่อย โรงน้ำแข็งและโรงพิมพ์ ยกเลิกธุรกิจเดินรถขนส่งสินค้าและเรือโดยสารภูเก็ต-กันตัง
เพราะช่วงนั้นเริ่มที่จะมีการคมนาคมทางถนนเชื่อมต่อกันซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางโดยทางเรือ
เหลือธุรกิจหลักไว้คือเหมืองแร่ดีบุก
ยุคใหม่ ยุคพัฒนาที่ดิน
หงษ์หยกเริ่มเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ ตั้งแต่ต้นปี 2520 โดยรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่
ที่ได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ เริ่มเข้า มารับช่วงบริหารธุรกิจต่อจากรุ่นแรกและรุ่น
ที่สองมากขึ้น เห็นว่าธุรกิจของภูเก็ตเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก ธุรกิจการท่องเที่ยว
เข้ามามีบทบาทแทนธุรกิจเหมืองแร่ และธุรกิจเหมืองแร่ที่เคยเฟื่องฟูและเป็นธุรกิจหลักของครอบครัวหงษ์หยกในขณะนั้น
เริ่มที่จะถดถอยไปตามกาลเวลา จากปัญหาราคาแร่ดีบุกตกต่ำ ที่ดินสัมปทาน เหมืองแร่เริ่มหมดไป
และภูเก็ตถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
ให้เป็นเขตคุมครองสิ่งแวดล้อม ทำให้ธุรกิจเหมืองแร่หมดไปจากเกาะภูเก็ต
แม้ว่าธุรกิจเหมืองแร่จะหมดไปจาก เกาะภูเก็ตแล้ว แต่เหมืองแร่ได้ทิ้งที่ดินมูลค่ามหาศาลให้กับทายาทหงษ์หยกในรุ่นต่อมา
หรืออาจกล่าวได้ว่าตระกูลหงษ์หยกมีแลนด์แบงก์อยู่ในมือจำนวนมาก
จากความได้เปรียบที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมหาศาลบนเกาะภูเก็ต ตระกูลหงษ์หยกได้พลิกผันธุรกิจของครอบครัวครั้งสำคัญ
เลิกทำธุรกิจเหมืองแร่และธุรกิจ อื่นๆ ของครอบครัวในยุคแรก ไม่ว่าจะเป็น
โรงเลื่อย โรงสีข้าว โรงน้ำแข็ง และเรือขนส่งสินค้า ไปพร้อมกับเหมืองแร่
เข้าสู่ยุคธุรกิจ ที่อยู่ในโลกปัจจุบันบนเกาะภูเก็ตไข่มุกแห่ง ท้องทะเลอันดามัน
เพื่อชิงความได้เปรียบทางธุรกิจในยุคที่การท่องเที่ยวเข้ามาแทนที่ธุรกิจเหมืองแร่อย่างเช่นปัจจุบัน
ธุรกิจเก่าๆ ของหงษ์หยกที่เหลือมาจนถึงปัจจุบันมีเพียงธุรกิจสวนยางพาราที่จังหวัดภูเก็ต
และพังงา ประมาณ 1,500 ไร่เท่านั้น
หงษ์หยกก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ ด้วย การขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
มีการตั้งบริษัท อนุภาษและการค้า จำกัด ขึ้น มาเป็นตัวแทนรถยนต์มาสด้า บริษัทอนุภาษ
วิวิธการ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้า ในภูเก็ต และบริษัท อนุภาษฟอร์ด
จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด ในพื้น ที่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง
พร้อมทั้งจัด ไฟแนนซ์ให้ลูกค้าผ่อนชำระกับทางบริษัท
การเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ซึ่งถือว่าเป็น ธุรกิจใหม่นั้นเหมือนเพิ่งฝึกหัด
และมีเพื่อน คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ โดยหงษ์หยก มีสายสัมพันธ์กับบริษัท กมลสุโกศล
ในลักษณะเครือญาติในกรุงเทพฯ จึงได้รับคำปรึกษาจากมาสด้าในการทำธุรกิจรถยนต์ในช่วงแรก
หลังจากที่มีประสบการณ์จากการจำหน่ายรถดังกล่าวแล้ว หงษ์หยกจึงใช้ ประสบการณ์นี้ก้าวสู่การเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าและฟอร์ดในเวลาต่อมา
ในขณะเดียวกันหงษ์หยกใช้ความได้เปรียบที่มีที่ดินเป็นจำนวนมากมาย เข้าสู่
ธุรกิจพัฒนาที่ดิน ด้วยการจัดตั้งบริษัท อนุภาษประมวลกิจ จำกัด เมื่อปี 2532
ทุ่มทุนกว่า 100 ล้านบาท เนรมิตที่ดินที่รก ร้างจากการทำเหมืองแร่ที่แทบจะไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย
เป็นสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม บริเวณถนนเจ้าฟ้า อ.เมือง จ.ภูเก็ต ภายใต้"โครงการภูเก็ตคันทรีคลับ"
การลงทุนสร้างสนามกอล์ฟของหงษ์หยกในขณะนั้นถือว่าเป็นการลงทุนที่เหมาะเจาะกับธุรกิจสนามกอล์ฟในภูเก็ต
กำลังเฟื่องฟูมากๆ เพราะห่างจากนั้นไม่นาน ราวๆ ปี 2536 บริษัทอนุภาษประมวลกิจได้
ตัดสินใจขยายสนามกอล์ฟเฟส 2 ด้วยงบประมาณลงทุนกว่า 200 ล้านบาท บนพื้นที่
400 ไร่ บริเวณเดียวกับเฟส 1 สร้างสนามกอล์ฟ 9+1 หลุมทีออฟ 2 รอบ พร้อมด้วย
ศูนย์สันทนาการ ประกอบด้วย ห้องเกมส์ กีฬาประเภทต่างๆ ร้านอาหาร สระว่ายน้ำ
สนามซ้อมกอล์ฟ ห้องประชุมขนาด 200 คน ปัจจุบันหงษ์หยกมีสนามกอล์ฟมาตรฐาน
27 หลุม ทำเงินให้หงษ์หยกมหาศาลในแต่ละปี
ตระกูลหงษ์หยกไม่ได้หยุดพัฒนาที่ดินลงเพียงสนามกอล์ฟเท่านั้น การลงทุน
พัฒนาที่ดินในส่วนของบ้านจัดสรรก็เกิดขึ้น ตามหลังสนามกอล์ฟมาติดๆ มีการตั้งบริษัท
อนุภาษมโนรมย์ จำกัด ขึ้นมาบริหารโครงการบ้านจัดสรร 2 โครงการ คือ โครงการสวนหลวงเจ้าฟ้า
และโครงการอนุภาษกอล์ฟ วิว ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสนามกอล์ฟภูเก็ตคัน ทรีคลับเฟส
2 ประกอบด้วยบ้านเดี่ยวภาย ในสนามกอล์ฟ และที่ดินเปล่าประมาณ 200 ยูนิต ราคาตั้งแต่
1-4 ล้านบาท
ตระกูลหงษ์หยกไม่ได้หยุดแค่การพัฒนาที่ดินและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เท่านั้น
ตระกูลหงษ์หยก โดยบริษัท อนุภาษ และบุตร จำกัด ยังได้จับมือกับบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ
จำกัด (โรงพยาบาลกรุงเทพ) ร่วมทุนสร้างโรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต ขนาด 150
เตียง ด้วยงบลงทุน ประ มาณ 800 ล้านบาท บนที่ดินของตระกูล หงษ์หยกจำนวน 18
ไร่ บริเวณบ้านสามกอง
ประคองตัวอยู่ได้
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเถ้าแก่ภูธรหลายๆ
รายมาแล้ว แต่สำหรับหงษ์หยกแล้ว ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นไม่ ได้กระทบธุรกิจของหงษ์หยกมากนัก
ธุรกิจ ยังคงประคองตัวและดำเนินต่อไปได้ ท่าม กลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจ
ร.ท.ภูมิศักดิ์ หงษ์หยก กรรมการผู้จัดการบริษัท อนุภาษและบุตร จำกัด
ยอมรับว่า ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ประเทศไทย ตกอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจ ธุรกิจของ
หงษ์หยกได้รับผลกระทบพอสมควร
ธุรกิจที่กระทบมากที่สุด คงจะหนีไม่พ้นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในส่วน
ของโครงการบ้านจัดสรร โครงการสวนหลวง เจ้าฟ้า และโครงการภูเก็ตกอล์ฟวิว และรถยนต์
ในเรื่องของสภาพคล่อง ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้รุนแรงเหมือนกับจังหวัดอื่นๆ
ลูกค้ายังคงมีกำลังซื้อเข้ามาเรื่อยๆ แต่ไม่หวือหวาเหมือนกับช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟูและโครงการก็ได้เปิดตัวมาก่อนที่เศรษฐกิจจะตกต่ำ
และที่สำคัญช่วงที่ธุรกิจ ขาดสภาพคล่องกันทั้งประเทศ ภูเก็ตได้ธุรกิจท่องเที่ยวที่บูมมากๆ
มาช่วยเสริมสภาพคล่อง
ส่วนธุรกิจอื่นๆ เช่นสนามกอล์ฟไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่อย่างใด กลับได้ผลดีในช่วงปี 2541 ที่เศรษฐกิจตกต่ำมากๆ เช่นเดียวกับธุรกิจโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว
เพราะช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตบูมมากจากผลพวงของการลดค่าเงินบาท
และความ ไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าภูเก็ตสูง
ซึ่งสนามกอล์ฟในภูเก็ตก็ได้รับผลพวงจากจุดนี้ด้วย เนื่อง จากลูกค้าของสนามกอล์ฟในภูเก็ต
เป็นกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศมากพอสมควร จึงทำให้ธุรกิจสนามกอล์ฟไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำ
สำหรับธุรกิจรถยนต์ ซึ่งตระกูลหงษ์หยกเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ 3 ค่าย คือ
มาสด้า ฮอนด้าและฟอร์ด ได้รับผลกระทบ บ้างจากเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ยอดขายรถ เมื่อเทียบกับทั่วประเทศแล้ว
ถือว่าผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจรถยนต์ของตระกูลหงษ์หยกน้อยมาก จากกำลังซื้อที่ได้รับผลพวงจากธุรกิจท่องเที่ยว
และขณะนี้ยอดขายรถยนต์ของทั้งสามค่ายที่รับผิดชอบอยู่ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
สำหรับสวนยางพารา ซึ่งเป็นธุรกิจเก่าแก่ของตระกูลก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคายางตกต่ำ
ร.ท.ภูมิศักดิ์บอกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่าน มาจนถึงขณะนี้ เป็นช่วงที่จะต้องประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด
และกลับเข้าสู่ภาวะ เดียวกับช่วงก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ และในขณะเดียวกันก็หาโอกาสที่จะขยายการลงทุนใหม่ออกไปอีก
ซึ่งมีแผนที่จะลงทุน ธุรกิจใหม่อยู่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการ ศึกษาความเป็นไปได้
ธุรกิจที่วางแผนลงทุน ต่อไปจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ที่ดิน
เพราะตระกูลหงษ์หยกมีจุดเด่นและมีความได้เปรียบในการลงทุนพัฒนาที่ดิน จากการเป็นเจ้าของที่ดินไม่ต้องซื้อที่ดิน
มาลงทุน ทำให้ลดต้นทุนในส่วนของที่ดินได้เยอะ
ร.ท.ภูมิศักดิ์เผยกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจในตระกูลหงษ์หยกที่สามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจว่า
การบริหารธุรกิจของตระกูลหงษ์หยก เป็นการบริหารจัดการในลักษณะครอบครัวคนจีน
หรือที่เรียกกันว่า กงสี ที่นิยมรวมกิจการทั้งหมดไว้ด้วยกัน และแบ่งให้ลูกหลานช่วยกันดูแล
ซึ่งเช่นเดียวกับธุรกิจของหงษ์หยกที่มีบริษัท อนุภาษและบุตร เป็นบริษัทแม่
ควบคุมการ บริหารงานทุกบริษัทในเครือ การบริหารในลักษณะครอบครัวที่ผ่านมามีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แต่ก็สามารถนำพาธุรกิจมาได้จนถึงทุกวันนี้
โครงสร้างการบริหารธุรกิจของตระกูลหงษ์หยก ปัจจุบันมีบริษัทอนุภาษและบุตร
จำกัด เป็นบริษัทแม่ มีวีระพงษ์ หงษ์หยก เป็นประธานบริษัท ณรงค์ หงษ์หยก
และ ร.ท.ภูมิศักดิ์ หงษ์หยก เป็นกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานกิจการในเครือทั้งหมด
โดยทุกบริษัทจะมีทั้ง 3 คนดังกล่าวเข้าเป็นกรรมการผู้จัดการให้บริษัทลูกทุกบริษัท
โดย ร.ท.ภูมิศักดิ์จะนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัด การ และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้กับทายาท
ในตระกูลดูแลกิจการแต่ละบริษัท ได้แก่
บริษัท อนุภาษมโนรมย์ จำกัด ซึ่ง ทำธุรกิจการพัฒนาที่ดินในส่วนของ"โครงการสวนหลวงเจ้าฟ้า"
และโครงการ"ภูเก็ต กอล์ฟวิว" มีชูชัย หงษ์หยกเป็นผู้ดูแล
บริษัท อนุภาษประมวลผลกิจ จำกัด ทำธุรกิจสนามกอล์ฟภูเก็ตคันทรีคลับ
ทั้ง 2 เฟส มี ร.ท.ภูมิศักดิ์ หงษ์หยก และทรงศักดิ์ หงษ์หยก เป็นผู้ดูแล
บริษัท อนุภาษธุรกิจและการค้า จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มาสด้า ในภูเก็ต
มีสุรศักดิ์ หงษ์หยก เป็นผู้ดูแล
บริษัท อนุภาษวิวิธการ จำกัด ตัว แทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าในภูเก็ต มี
นาย มนตรี หงษ์หยก เป็นผู้ดูแล
บริษัท อนุภาษฟอร์ด จำกัด ตัวแทน จำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดในภูเก็ต กระบี่
ตรัง มีทรงเดช หงษ์หยก เป็นผู้ดูแล
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนกับโรงพยาบาลกรุงเทพ มีปิยะนุช
หงษ์หยก เป็นผู้ดูแล
ทุกบริษัทมีบริษัทแม่คืออนุภาษฯเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ยกเว้นโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตที่บริษัทอนุภาษฯร่วมทุนกับโรงพยาบาลกรุงเทพ
"เมื่อเราบริหารระบบครอบครัว การ ตัดสินใจลงทุนกิจการใหม่ค่อนข้างที่จะล่าช้า
มีความรอบคอบในลักษณะค่อยๆ ก้าวทีละ ขั้น แต่ละครั้งที่ก้าวออกไปนั้น ต้องแน่ใจแล้วว่าสิ่งนั้นต้องมั่นคงและไม่เสี่ยงในการลงทุน
ทำให้ธุรกิจครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบมากในช่วงที่ผ่านมา"
แม้ว่าจะบริหารกิจการแบบครอบ ครัวก็ตาม แต่การบริหารได้มีการกำหนดกฎกติกาแบบบริษัทมหาชนเข้าไปเสริมจุดด้อยการบริหารแบบครอบครัว
เพียงแต่กติกาที่กำหนดขึ้นไม่ได้เข้มงวดเหมือนกติกาของบริษัทมหาชน เรายึดสายกลางใน
การบริหาร สามารถผ่อนปรนได้ตามสถาน การณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราบริหารงาน
บริษัทในครอบครัวตามอำเภอใจ มีการบันทึกการประชุม มีการประชุมประจำปี มีการรายงานผลการดำเนินงานของทุกบริษัท
และสามารถตรวจสอบได้
"สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ประสบความ สำเร็จได้มาจากทายาทรุ่นต่างๆในครอบครัว
มีความสามัคคีช่วยกันบริหารงานที่ยึดหลัก กติกาที่กำหนดและความประนีประนอม
จึง ทำให้หงษ์หยกสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ มาได้จนถึงทุกวันนี้"