1. โครงการที่ใช้เงินจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนเมื่อเม.ย. 2533
1.1 โครงการขยายกำลังการผลิตจากปีละ 9 แสนตัน เป็น 1.6 ล้านตันภายใน 5 ปีใช้เงินลงทุนประมาณ
140 ล้านบาท
1.2 โครงสร้างท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาบนเนื้อที่ 50 ไร่ในจังหวัดอ่างทอง
เพื่อใช้เป็นที่ กักเก็บและขนถ่ายถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเเทศ ประมาณปีละ
5 แสนตัน ใช้เงินลงทุน 80 ล้านบาท
1.3 โครงการตั้งโรงงานผลิตดินขาวที่จังหวัดระนอง ใช้เงินลงทุน 70 ล้านบาท
มีกำลังการผลิตปีละ 36,000 ตัน และปัจจุบันกำลังจะขยายขึ้นเป็นปีละ 80,000-100,000
ตัน โดยการสร้างโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
2. โครงการสำรวจ
2.1 หาแหล่งถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย เสร็จปี 2533
2.2 หาแหล่งถ่านหินในออสเตรเลีย เสร็จปี 2534
2.3 หาแหล่งถ่านหินในเวียดนาม เริ่มประมาณปี 2535
2.4 หาแหล่งดินขาวและบอลเคล์ที่จังหวัดลำปาง
2.5 หากแหล่งหินปูนที่จังหวัดสระบุรี
3. โครงการที่ยังเป็นเพียงข้อเสนอหรือแนวความคิด
3.1 โครงการร่วมทุนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งโรงงานไฟฟ้าจากถ่านหิน ที่อ่าวไผ่
จ. ชลบุรี กำลังการผลิต 1,400 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 44,000 ล้านบาท สัดส่วนการเข้าร่วม
10-15%
3.2 โครงการเปิดเหมืองหน้าดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง
3.3 โครงการตั้งบริษัทพัฒนาที่ดิน บริเวณเหมืองที่ได้ทำหมดไปแล้วให้เป็นรีสอร์ท
จากกราฟเปรียบเทียบความเคลื่อนไหวระหว่างดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯ
กับราคาหุ้นของบริษัทเหมืองบ้านปู ในช่วงระหว่างก่อนและหลังเกิดวิกฤตการณ์ในอ่าวเปอร์เซียนั้น
แสดงให้เห็นถึงความแข็งของหุ้นเหมืองบ้านปูได้อย่างชัดเจน เพราะในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นได้ตกต่ำลงมาถึง
42.9% แต่ราคาหุ้นของเหมืองบ้านปู ซึ่งถึงแม้จะลดต่ำลงมาเช่นกันก็ตาม แต่ก็เพียง
21.9% เท่านั้น