การเดินทางของซอฟต์แวร์ไทย
หมอจิมมี่ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโปรแกรมเมอร์ไทยเพียงไม่กี่ราย ที่สามารถก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จ
สร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ออกไปสู่ตลาดโลก และกลายเป็นส่วนหนึ่งของซิลิคอนวัลเลย์
งที่นายแพทย์ ภานุทัต เตชะเสน หรือหมอจิมมี่ แตกต่างไปจากจิตแพทย์คนอื่นๆ
ไม่
ใช่เพียงแค่เขาจะหันหลังให้กับอาชีพจิตแพทย์ที่ร่ำเรียนมาถึง 5 ปีเต็ม
เพื่อหันมายึดอาชีพโปรแกรมเมอร์ที่ตัวเองพบว่าชอบกว่าการเป็นแพทย์เมื่อเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี
2 เท่านั้น แต่หมอจิมมี่ยังได้กลายเป็นโปรแกรมเมอร์รายแรกๆ ของเมืองไทย ที่สามารถก้าวสู่ความสำเร็จในฐานะของผู้ส่งออกซอฟต์แวร์ไปขายต่างประเทศ
หมอจิมมี่และทีมงานได้กลายเป็นคนไทยกลุ่มแรก ที่จะเป็นเจ้าของบริษัทผลิตซอฟต์แวร์
ที่จดทะเบียนและตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ ดินแดนชวนฝันของบรรดาโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย
ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน พวกเขาเหล่านั้นยังคงเรียกตัวเองว่าเป็น
programmer group ผู้ประกอบซอฟต์แวร์อิสระ ไม่มีบริษัทเป็นรูปเป็นร่างมีเพียง
www. jimmy.com ที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ตั้งอยู่บนอินเตอร์เน็ต
มีคนไทยไม่มากนักที่รับรู้ถึงความสามารถของผู้ประกอบซอฟต์แวร์อิสระกลุ่มนี้
แต่สำหรับตลาดซอฟต์แวร์เกมของโลกแล้ว jimmy.com ไม่ใช่คนแปลกหน้าเลยซอฟต์แวร์เกมบนวินโดว์ซีอี
ถูกจำหน่ายไปทั่วโลก รวมถึงผู้ผลิตอย่างคาสิโอ ที่ซื้อไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ของหมอจิมมี่บรรจุ
(bundle) ลงในเครื่องเล่น และซอฟต์แวร์เกมของเขาก็ถูกบรรจุลงแผ่นซีดี เพื่อจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
และญี่ปุ่น
จุดพลิกผันก็เกิดขึ้นในช่วง 3-4 เดือนที่แล้ว เมื่อ venture capital
จากฮ่องกง ได้ติดต่อเข้ามาหลังจากเห็นผลงานการพัฒนาซอฟต์แวร์เกมที่หมอจิมมี่และทีมงานได้
port มาจากโปรแกรมเกม doom ให้มาทำงานได้บนโปรแกรมวินโดว์ ซีอี ของไมโครซอฟท์เป็นผลสำเร็จ
และใช้งานได้ดี
จะว่าไปแล้วกว่าหมอจิมมี่และทีมงานของเขาก้าวมาถึงจุดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน
ต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ จากหลายขั้นตอนกว่าจะมาจนถึงจุดนี้ได้
หมอจิมมี่อาจจะต่างจากโปรแกรมเมอร์อีกหลายคน ที่ไม่ได้หาความรู้จากห้องเรียน
แต่ต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเอง ทั้งครูพักลักจำ และจุดหันเหของชีวิตการเป็นหมอ
หมอจิมมี่ก็เริ่มตั้งแต่ได้สัมผัสกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก เมื่อสมัยที่เรียนแพทย์อยู่ปี
2 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"สมัยก่อนคอมพิวเตอร์แพงมาก apple II ของแมคอินทอช เครื่องหนึ่งหลายหมื่นบาท
สมัยก่อนไม่มีใครซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูก วิธีที่เราจะได้เล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ
เราต้องไปเล่นตามร้านคอมพิวเตอร์ที่เขาเปิดให้เช่าเครื่อง และ เป็นโรงเรียนสอน"
หมอจิมมี่ย้อนอดีตให้ฟัง
ด้วยเหตุนี้หมอจิมมี่ใช้เวลาว่างด้วยการไปเป็นลูกจ้างอยู่ในร้านขายคอม-พิวเตอร์
รับจ้างทำความสะอาดร้าน ดูแลร้าน เพื่อแลกกับการได้เล่นเครื่องคอมพิวเตอร์
และข้อดีของการเป็นลูกจ้างในร้านขายคอมพิวเตอร์ ก็คือจะเปลี่ยนเครื่องรุ่นใหม่มาขาย
ทำให้หมอจิมมี่ได้เล่นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ตลอดเวลา
ประกอบกับในช่วงปี 2527 มีมิชชั่นนารี หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทยจำนวนมาก
และกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ของเมืองไทย และช่วงนั้นเองหมอจิมมี่ก็มีโอกาสเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร
์จากบรรดามิชชันนารีเหล่านี้ที่ขึ้นไปทำงานที่เชียงใหม่
"พวกมิชชันนารีส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ จะต้องมาซื้อของที่ร้านคอมพิวเตอร์เป็นประจำเราก็รู้ว่าเขาเก่งคอมพิวเตอร์เราก็ถาม
พอถามมากๆ เข้า เนื่องจากเราเป็นเด็กเขาก็เอ็นดู และให้เราไปบ้านสอนโน่นสอนนี่
สอนเขียนโปรแกรม สอนก๊อบปี้โปรแกรมบ้างซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีซีดีเถื่อน โปรแกรมดีๆ
หากเราไปขอก๊อบปี้จากมิชชันนารี" หมอจิมมี่ย้อนอดีตที่เป็นจุดหักเหที่สำคัญในเวลาต่อมา
หลังจากได้ความรู้จากมิชชันนารีพักใหญ่ พอขึ้นปี 3 หมอจิมมี่ก็เริ่มรับจ้างเขียนโปรแกรมให้กับบริษัทคอมพิวเตอร์
เพื่อหาเงินมาซื้อคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง และเครื่องแรกในชีวิตที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงก็คือ
เครื่องยี่ห้อ sinclair เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เวลาจะใช้ต้องต่อเข้ากับทีวีเพื่อให้ทีวีเป็นมอนิเตอร์
จากนั้นก็เปลี่ยนไปใช้แอปเปิ้ลทู ของแมคอินเตอร์ และขยับไปใช้ไอบีเอ็ม
"ช่วงนั้นผมแทบจะไม่เรียนเลย ไม่เข้าคณะเลย ขลุกอยู่กับมิชชันนารี พอตอนเรียนอยู่ปี
5 ก็คิดจะ entrance ไปเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ แต่มาคิดอีกทีอายุก็เยอะแล้วก็เลยเรียนต่อจนจบ"
หลังเรียนจนจบจิตแพทย์มา หมอจิมมีไม่ทำงานตามสาขาที่เรียนมา แต่กลับรับราชการเป็นอาจารย์สอนกายวิภาค
ก็เพราะต้องการหางานให้เบาที่สุด เพื่อจะได้มีเวลาไปเล่นคอมพิวเตอร์ พอทำได้ปีครึ่งก็ลาออกหันมาอาชีพโปรแกรมเมอร์
ที่ชื่นชอบ โดยไปเป็นผู้ร่วมบุกเบิกบริษัท 315 บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของเมืองไทย
และสามารถพัฒนาภาษาไทยสำหรับโปรแกรมวินโดว์ของไมโครซอฟท์เวอร์ชั่นแรกเป็นผลสำเร็จ
หมอจิมมี่เล่าว่า ตลอดช่วงเวลาของการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เขาจะเน้นพัฒนาโปรแกรมภาษาไทย
เพราะการพัฒนาโปรแกรมภาษาไทยจะต้องเรียนรู้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์อย่าง
ลึกซึ้งหรือเรียกว่า hack ซึ่งความหมายของคำว่า hack ของหมอจิมมี่จึงไม่ได้มีความหมายในด้านลบเสมอไป
จากผลงานการพัฒนาโปรแกรม thaiwin บนวินโดว์เป็นผลสำเร็จ หมอจิมมี่ก็ได้ว่าจ้างจากกระทรวงวิทยาศาสตร์
ของประเทศลาวให้พัฒนาโปรแกรม LAOWIN เป็นโปรแกรมภาษาลาวบนวินโดว์ และได้รับว่าจ้างจากเอกชนของพม่า
ให้พัฒนาเป็นภาษาพม่าเพิ่มอีก 1 ภาษารวมถึงการพัฒนาไมโครซอฟท์ออฟ ฟิศให้เป็นภาษาไทย
ถึงแม้จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมภาษาท้องถิ่นบนไมโครซอฟท์
แต่หมอจิมมี่กลับล้มเหลวในการประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ เนื่อง จากในช่วงนั้นปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในเมืองไทยสูงมาก
ซอฟต์แวร์ต่างประเทศมีราคาแพง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ผลพวงนี้ก็กระทบมาถึงซอฟต์แวร์เฮาส์ในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"เมื่อเราล้มเหลวจากการทำตลาด ซอฟต์แวร์ในเมืองไทย หนทางเดียวที่เราจะอยู่รอดได้
เราต้องเปลี่ยนตัวเองไปหากินกับต่างประเทศ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการที่จะเขียนซอฟต์แวร์สักโปรแกรมและส่งออกไปขายต่างประเทศ"
ประสบการณ์นับตั้งแต่นี้ไป จึงเป็นบทเรียนที่ดี และมีประโยชน์ของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย
ที่จะใช้การเรียนรู้ของเขาเป็นกรณีศึกษาของโปรแกรมเมอร์ไทย
สิ่งแรกที่หมอที่จิมมี่บอกในวันนั้นก็คือ ต้องคิดให้ต่างจากคนอื่น เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก
"เวลานั้นเราก็มาดูว่าเรามีซอฟต์แวร์อะไรในมือ มาดูว่าเราจะพัฒนาบน
platform อะไรได้บ้างปรากฏว่าเวลานั้นทุกแห่งเต็มไปด้วยพีซีที่ทำงานอยู่บน
window ถ้าเราจะเขียนซอฟต์แวร์สำหรับ window ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ก็สู้ฝรั่งไม่ได้ยิ่งถ้าไปดูใน
portal ที่ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ฟรี ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเขียนซอฟต์แวร์แข่งกับฝรั่ง
เราคนเดียวฝรั่งตั้งล้านคนไม่สามารถทำซอฟต์แวร์ไปแข่งกับเขาได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ"
ในระหว่างที่กำลังค้นหา operating software (OS) ที่จะมาเป็น platform
ในการพัฒนาโปรแกรม ช่วงนั้นเองไมโครซอฟท์ก็ประกาศนำวินโดว์ ซีอี (window
ce) เป็นระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์เทอร์มินัลขนาดเล็ก
เช่น palmpilot รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจมาก
เพราะเป็นตลาดที่กว้างมาก และเป็นเรื่องที่ยังใหม่
ขณะเดียวกันหมอจิมมี่ยึดสุภาษิตแบบไทยๆ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด การสร้างความแตกต่างควรจะต้องมองแนวโน้มของตลาดด้วย
การเป็นโปรแกรมเมอร์เล็กๆ เดินตามยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์เป็นเรื่องที่เสี่ยงน้อยกว่าการเป็นแจ๊กผู้ฆ่ายักษ์ที่มีเพียงแต่ในนิยาย
"เวลานั้นเราต้องเลือกระหว่างการพัฒนาบนโปรแกรมอะไรระหว่าง วินโดว์
95 วินโดว์เอ็นที ลีนุกซ์ หรือยูนิกซ์ หรือจะเป็นวินโดว์ซีอี ซึ่งเวลานั้นตลาดเหล่านี้ก็ยังไม่เกิดเลย
ในที่สุดก็เลือกพัฒนาวินโดว์ซีอี เราถือว่าไมโครซอฟท์ไปทางไหนก็ไปทางนั้น
ด้วยแนวคิดเหล่านี้เองก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาซอฟต์แวร์บนโปรแกรมวินโดว์
ซีอี ที่ได้กลายเป็นจุดเด่นที่สำคัญของ jimmy.com ในเวลาต่อมา
หลังจากเลือก platform ที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ได้แล้ว มาถึงช่วงที่ต้องสร้างทีม
ปรากฏว่าเมื่อไปชวนพรรคพวกโปรแกรมเมอร์ที่รู้จักกัน ทุกคนกลับปฏิเสธหมด เนื่องจากเวลานั้นตลาดยังใหม่มาก
หมอจิมมี่จึงต้องบุกเบิกเริ่มต้นโดยลำพังไปพักใหญ่ก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้ทีมงานเหล่านี้มาร่วมในภายหลัง
ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ การเป็นทีมโปรแกรมเมอร์รายเล็กๆ ไม่ได้เป็นองค์กรธุรกิจที่มีสายป่านยาวไกล
และทีมงานการตลาดที่พร้อมมูล หมอจิมมี่ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตทั้งทางตรง
และทางอ้อมเป็นเครื่องมือในการสร้างโมเดลของธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์ในโลกไร้พรมแดนนี้
เขาได้ใช้ข้อมูลจากทุกแหล่ง มาเป็นส่วนผสมของการผลิตซอฟต์แวร์เพื่อออกไปขายในตลาดโลก
และสร้างร้านค้าออนไลน์ในโลกออนไลน์ หลายต่อหลายครั้งที่หมอจิมมี่ได้เพื่อนจากเครือข่ายน
ี้ที่ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาทางเทคนิคสำคัญ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาซอฟต์แวร์
จากประสบการณ์เหล่านี้เอง หมอจิมมี่เชื่อมั่นตลอด การแลกเปลี่ยนความรู้
และข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับโปรแกรมเมอร์ เพราะสิ่งเหล่านี้คือฐานข้อมูลอันมีค่าที่โปรแกรมเมอร์จะใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตรงกับความต้อง
การของตลาดโดยไม่หลงทาง และยังช่วยแก้ปัญหาทางเทคนิค ที่เป็นอุปสรรคสำคัญให้ลุล่วงไปได้ดี
การเป็นโปรแกรม เมอร์ก็ไม่ต่างกับนักกีฬา หรืออาชีพอื่นๆ ที่ต้องฝึกฝีมืออยู่ตลอดเวลา
และอินเตอร์เน็ตก็เป็นสนามในการฝึกฝีมือที่ดี จากเสียงสะท้อนของผู้ใช้ที่ไม่ต่างจากสนามทดสอบชั้นดีก่อนที่สินค้าจะออกสู่ตลาด
เขาได้พบกับ คริสเตียน โมเลน ซี่ นักศึกษาและนักดนตรี ร็อกชาวแคนาดา
ที่หมอจิมมี่ได้อีเมลแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นประจำในวินโดว์ซีอี (window ce
talklist) ซึ่งเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลของวินโดว์ ซีอีโดยเฉพาะคล้ายกับ
newsgroup แต่นี่คืออีเมล
คริสเตียน โมเลนซี เป็นผู้สร้างโปรแกรมที่ชื่อว่า wish list เป็นโปรแกรมที่ทำขึ้นมาเพื่อสื่อกลางในการแลก
เปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้พัฒนาซอฟต์ แวร์และผู้ใช้วินโดว์ซีอี โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่รวบรวมความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการ
application จากโปรแกรมวินโดว์ซีอี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จึงไม่ต่างไปจากข้อมูลทางการตลาดให้กับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
เพราะโปรแกรมเมอร์เหล่านี้จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาเป็นโปรแกรมออกมาให้ตรงกับความต้องการ
และเมื่อพัฒนาเสร็จจะนำมาใส่ให้ผู้ใช้ดึงไปใช้ได้
และหลังจากที่หมอจิมมี่ได้คริสเตียน โมเลน่า มาสร้างเว็บไซต์ jimmy.com
รวมถึงรับฝากแม่ข่ายในการจัดการข้อมูล (server)ให้ด้วยแล้ว ก็ยังได้โปรแกรม
wish list มาใส่ในเว็บไซต์ jimmy.com และคริสเตียน โมเลนซี่ก็ยังดูแลเนื้อหาส่วนนี้อยู่จนทุกวันนี้
หลังจากทำเว็บไซต์แล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ ทำอย่างไรจะให้คนรู้จัก jimmy.com
ที่หมอจิมมี่บังเอิญไปทดลองจดโดเนมมาตั้งแต่ปี 2538 ยังเป็นเว็บไซต์โนเนมที่ไม่มีใครรู้จัก
หมอจิมมี่จึงตัดสินใจทำเป็นเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ใช้ฟรี หรือ free
ware
"จริงๆ แล้ว เราไม่รู้จะขายซอฟต์แวร์ยังไงมากกว่า ก็เลยแจกฟรีไปก่อน
เพราะเวลานั้นจะรับบัตรเครดิตก็ทำไม่ได้ ไปถามแบงก์ก็บอกไม่รู้เรื่องก็เลยเขียน
free ware แจกไปเรื่อย มีความต้องการจาก wish list เข้ามาเท่าไหร่ก็เขียนไปเท่านั้นเรียกว่า
update ทุก 3 วัน"
หลังจากแจกซอฟต์แวร์ฟรีจน jimmy.com เริ่มเป็นที่รู้จัก และคุ้นเคยกับบรรดานักเล่นวินโดว์ซีอีในต่างประเทศ
และทราฟฟิกในการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นจนเจ้าของ Host ที่เช่าอยู่ขอขึ้นราคาเมื่อมีแต่ค่าใช้จ่ายแต่ไม่มีรายได้
ความคิดในการขายซอฟต์แวร์ก็เริ่มต้นอีกครั้ง และวิธีที่ดีที่สุดในเวลานั้น
ก็คือการขายซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางเดียวที่จะเข้าถึงลูกค้าจากทั่วโลก
แต่วิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่หมอจิมมี่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ตก
การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ตในช่วงปี 2539 เป็นเรื่องใหม่มาก
แบงก์ไทยเองก็แทบจะไม่รู้จักว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไร
"ธนาคารบอกให้ลูกค้า fax ลายเซ็นมา ผมก็คิดว่าตายแล้วลูกค้าคงไม่ยอม
fax มาหรอกเพราะเราอยู่เมืองไทยผมก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็ไปติดต่อขอใช้บริการบัตรเครดิตของแบงก์ที่อเมริกา
เขาก็ไม่กล้าให้เราใช้ เพราะเขาไม่กล้า export เทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยมาที่เมืองไทยให้เราใช้ได้"
กระทั่งวันหนึ่งหมอจิมมี่ได้รับอีเมลจากโปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษ Simon
Judce ที่กลายเป็นจุดพลิกผันของการเริ่มต้นธุรกิจ
"มีอยู่วันหนึ่ง ผมได้รับอีเมลจาก Simon Judce โปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษ
เขาอีเมลมาถามว่าทำไมจึงแจกซอฟต์แวร์ฟรีอยู่ได้ ทำไมไม่ขายเพราะซอฟต์แวร์พวกนี้ขายได้
ผมก็เลยถามเขากลับว่าช่วยขายให้หน่อยได้มั้ย" ย้อน อดีตถึงที่มาในการแก้ปัญหาด้วยการหันไปใช้ธุรกรรมด้านการเงินในอังกฤษแทน
จากอีเมลไม่กี่ประโยคในวันนั้น jimmy.com ก็เปลี่ยนจากเว็บไซต์ free
ware กลายเป็นร้านค้าออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตขายซอฟต์แวร์ โดยมีระบบธุรกรรมชำระเงินอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
"ในเมืองนอกคนที่ขายซอฟต์แวร์ หรือสินค้าอะไรก็ได้บนอินเตอร์เน็ต ก็ไปติดต่อแบงก์
ทางแบงก์จะให้เครื่องรูดบัตรเครดิตมาจากนั้นก็ไป setup เครื่อง server เท่านี้ก็ให้บริการรับบัตรเครดิตได้เลยที่บ้าน
Simon เองก็ให้บริการอยู่แล้วที่บ้านเราก็เลยใช้บริการของเขาแทน"
เมื่อลูกค้ากดคำสั่งซื้อซอฟต์แวร์ผ่าน jimmy.com แล้วข้อมูลที่เป็นธุรกรรมการชำระเงินของลูกค้าจะถูกโอนถ่ายมาที่เว็บไซต์ของ
Simon ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนแบงก์ย่อยๆ ที่ตัดบัญชีโดยในการสั่งซื้อแต่ละครั้งหมอจิมมี่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ
Simon เป็นจำนวน 40% ของมูลค่าสินค้าเพื่อแลกกับบริการรับชำระเงินและสนับสนุนการตลาดให้กับ
jimmy.com
วิธีนี้เท่ากับว่าเงินรายได้ทั้งหมดจะเป็นของบริษัทในอังกฤษ ภาษีจะเสียในอังกฤษ
เพราะธุรกรรมเหล่านี้ทำในประเทศอังกฤษ แม้จะเป็นที่น่าเสียดายของแบงก์ไทย
"ผมพยายามลองไปคุยกับแบงก์ของไทยหลายรอบแล้วไม่สำเร็จ ปัญหาแรกเลยค่าใช้จ่ายตั้ง
server ก็ต้องเสียเงินเดือนละ 70,000 บาท ในขณะที่ผมจ่ายให้เมืองนอก 299
เหรียญต่อเดือน ก็ไม่รู้ว่าจะหากำไรที่ไหนมาจ่าย"
ทุกวันนี้ simon judce ยังคงรับทำธุรกรรมทางเงินให้กับ jimmy.com พร้อมๆ
กับเป็นตัวแทนขายซอฟต์แวร์ให้กับหมอจิมมี่ในทุกประเทศทั่วโลก ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ค้าส่ง
และค้าปลีกไปในตัว หมอจิมมี่ยอมรับว่าการขายซอฟต์แวร์ในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทวงเงิน ซึ่งการไม่เชี่ยวชาญในเรื่องภาษาเป็นอุปสรรคสำคัญมาก
ทำให้หมอจิมมี่ต้องพึ่งพาพันธมิตรในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายให้
ส่วนหมอจิมมี่และทีมงานก็เอาเวลาไปพัฒนาซอฟต์แวร์ และทั้งสองยังได้ขยายความร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุน
ในประเทศอังกฤษ เพื่อรับให้บริการบัตรเครดิตของ jimmy.com
หลังจากหมดปัญหาเรื่องรับชำระเงิน หมอจิมมี่ก็หันมามุ่งพัฒนาตัวสินค้า
แต่เดิมการพัฒนาซอฟต์แวร์บนวินโดว์ซีอี จะเน้นไปที่ซอฟต์แวร์ประเภท utility
(อรรถประโยชน์) และโปรแกรมที่หมอจิมมี่ทำประสบความสำเร็จในตลาดก็คือ key
map pro เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องใช้กับภาษาต่างๆ ในยุโรปได้ 35 ภาษาซึ่งซอฟต์แวร์ตัวนี้ก็ได้รับการ
bundle (บรรจุ) ลงในเครื่องเล่นคาสิโอ และเครื่องของคอมแพค ในหลายๆ ประเทศในยุโรป
แม้จะประสบความสำเร็จด้วยดี แต่คู่แข่งในตลาด utility มีอยู่มากมาย
ตลาดขยายไม่ได้มากไปกว่านี้ หมอจิมมี่จึงลงมือสำรวจตลาดอีกรอบ และเขาก็พบว่ายังมีคนที่เขียนซอฟต์แวร์เกมใช้กับโปรแกรมวินโดว์ซีอีมีอยู่น้อยมากทั้งๆ
ที่วินโดว์ซีอี ก็คือโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง และเกมเป็นสิ่งที่คู่กับคอมพิวเตอร์เสมอมา
และเกมเป็นตลาดที่ใหญ่มากนับตั้งแต่นั้น ทีมโปรแกรมเมอร์ของหมอจิมมี่ก็เบนเข็มสู่ตลาดเกมบนโปรแกรมวินโดว์ซีอีอย่างเต็มตัว
"เกมมันเป็นประเภทของโปรแกรม ที่ทำให้เห็นความแตกต่างได้ชัด สมมติเราทำเวิร์ดโปรเซสเซอร์มามันก็ไม่แตกต่างกันมาก
คุณสมบัติมันตายตัว พิมพ์งานได้เปลี่ยน font ได้แต่เกมไม่เหมือนกันเลย การจะทำให้ดีได้ต้องมีคุณภาพกราฟิกดี
ความเร็วเรื่องของเสียง ต้องมีทีมนักดนตรี ตรงนี้เป็นจุดที่จะสร้างความแตกต่างจากคนอื่นได้"
แต่การพัฒนาซอฟต์แวร์เกมไม่ใช่เรื่องง่าย องค์ประกอบในการพัฒนาแตกต่างจากโปรแกรมประเภท
utility เพราะต้องอาศัยความพร้อมทั้งในเรื่องของการเขียนกราฟิก และคุณภาพของเสียงที่จะต้องมีทั้งทีมกราฟิก
และทีมนักดนตรี และหมอจิมมี่ก็ได้อาศัยประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกับหลายครั้งที่ผ่านมา
เพื่อนที่สำคัญอีกคนหนึ่งของเขา คือ castillo inaki นักแฮกเกอร์ และนักเขียนโปรแกรมระดับโลกชาวสวีเดนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวินโดว์ซีอี
"ตอนนั้นผมติดปัญหาเรื่องจะให้เกมวิ่งเร็ว บังเอิญผมไปอ่านเจอ inaki
เขาคุยในนิวส์กรุ๊ปว่า เขาทำตรงที่ผมติดปัญหาได้ เลยอีเมลไปถามว่าทำยังไง
ก็ไม่ได้คาดหวังอะไร ปรากฏเขาตอบอธิบายมายืดยาวเลยแถมยังให้ source code
มาด้วย" หมอจิมมี่ย้อนหลังที่ทำให้เขาพบว่าโลกของอินเตอร์เน็ตเป็นโลกของการแบ่งปัน
ที่สำคัญมันเป็นส่วนหนึ่งของต้นตอความสำเร็จ ที่เขาได้รับมาจากความช่วยเหลือของนักแฮกเกอร์ระดับโลกคนนี้
เว็บไซต์ jimmy.com ก็ถูกหยิบยกเป็นตัวอย่างในที่ประชุม ไมโครซอฟท์ ดีเวลลอปเปอร์
คอนเฟอเรนซ์ ครั้งที่แล้ว
นอกจากการขายซอฟต์แวร์ไปทั่วโลกแล้ว คาสิโอซื้อลิขสิทธิ์เกมบนวินโดว์
ซีอีของหมอจิมมี่เพื่อนำไปบรรจุในเครื่องคาสิโออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือเครื่องคาสิโออี
100 ที่มีความเร็วสูง สามารถเล่นเกม mp3 ก็เป็นตัวที่สร้างชื่อให้กับ jimmy.com
อย่างมาก
ทุกวันนี้คาสิโอก็เป็นพันธมิตรสำคัญที่ให้การสนับสนุนทั้งในด้านของเทคนิค
และการตลาดในการบรรจุเกมลงในแผ่นซีดี และยังช่วยในเรื่องการตลาดเพื่อไปวางขายในสหรัฐอเมริกา
และญี่ปุ่น
หมอจิมมี่บอกว่ากุญแจของความสำเร็จส่วนหนึ่งที่โปรแกรมเมอร์จะส่งออกซอฟต์แวร์ไปต่างประเทศ
จะมองข้ามไม่ได้ก็คือ portal site หรือ เว็บไซต์รวมลิงค์ทั้งหลายโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ฟรี
ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์เสมอมา เพราะเว็บไซต์เหล่านี้นอกจากรวบรวมซอฟต์แวร์
demo vertion (ทดลอง) เข้าด้วยกันแล้ว ยังทำตัวเป็นนักวิจารณ์จัดอันดับให้ซอฟต์แวร์เหล่านี้อีกด้วย
แน่นอนว่าหากซอฟต์แวร์ไหนได้คะแนน มาดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากถูกประเมินด้วยคะแนนต่ำ
อย่าว่าแต่จะขายเลยดาวน์โหลดไปใช้ฟรีก็ยังแทบไม่มี
นอกจากนี้บรรดา portal site ประเภทนี้ก็ยังกินเนื้อที่ของการส่งผ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
(bandwich) อย่างมากอีกด้วย เพราะเมื่อลูกค้าของ portal site เหล่านี้จะดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ไปใช้
ก็จะเชื่อมโยง (link) มาที่เว็บไซต์ของเจ้าของซอฟต์แวร์รายนั้น ทำให้ความหนาแน่นในการใช้งานเพิ่มขึ้น
ต้องจ่ายเงินขยาย bandwish
"เรามองว่าไม่ยุติธรรม เพราะลูกค้าของเขาแต่มากินช่องทางจราจรข้อมูลของเราเขาทำแค่แจก
web link ไป เราต้องจ่ายเงินมากขึ้น แต่ก็ต้องให้ความร่วมมือตลอดเวลา วิธีการก็คือ
จะต้องประสานผลประโยชน์ร่วมกัน คือ ถ้าจะดาวน์โหลดก็ให้ไปที่เว็บไซต์เขา
ไม่ใช่มาที่เรา"
บรรดานักวิจารณ์ตามสื่อต่างๆ ก็เช่นกัน โปรแกรมเมอร์หน้าใหม่ต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
เพราะจะมีทั้งคุณและโทษโอกาสที่ซอฟต์แวร์จะเป็นที่นิยมหรือล้มเหลวได้ง่าย
แต่แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ jimmy.com ก็เริ่มขึ้นเมื่อทีมโปรแกรม
เมอร์ของหมอจิมมี่สามารถซอฟต์แวร์เกมที่ชื่อ doom บนโปรแกรมวินโดว์ซีอีเป็นผลสำเร็จ
ซอฟต์แวร์เกม doom เป็นของบริษัท ID software ที่พัฒนาขึ้นมาและตอนหลังได้เปิดเผย
source code เพื่อให้มีการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นี้ไปพัฒนาต่อ และปรากฏว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก
ที่นำเอาเกม doom ไปพัฒนาต่อ เช่น บู๊ซ เลวิส โปรแกรมเมอร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
ที่นำเกม doom ไปพัฒนาต่อในหลาย platform ที่สร้างชื่อให้กับเขาคือ GL doom
จากนั้นเลวิสก็พัฒนาไปสู่ window95 window NT และ window CE ที่ยังมีปัญหาทำงานได้ช้าเรื่องเสียง
และเรื่อง bug
อีกรายคือ เฮย์ วูเกนส์ ที่ port เกม doom มาพัฒนาและได้รับความสนใจมาก
แต่ยังติดขัดในเรื่องของเสียง
ผลปรากฏว่าโปรแกรมเกม doom ลงบน window CE เป็นผลงานของทีมหมอจิมมี่ได้รับการตอบสนองจากบรรดานักวิจารณ์ค่อนข้างดี
ให้เรตติ้งมากกว่าของรายอื่นๆ ได้รับความสนใจจาก venture capital ที่มองเห็นผลงานจากไอเดียนี้ที่จะกลายเป็นผลิตผลที่ทำเงินได้ในเวลาต่อมา
การมี venture capital นับเป็นประสบการณ์ใหม่ของหมอจิมมี่ เขาเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง
และยอมรับว่าการหาแหล่งเงินทุนจาก venture capital สอดคล้องกับธุรกิจพัฒนาซอฟต์
แวร์ลักษณะการลงทุน venture capital หากเห็นว่าไอเดียจะสามารถพัฒนาต่อเป็นเงินมาได้
เขาจะมาลงทุน โดยจะให้เงินสนับสนุน รวมถึงมาช่วยเสริมในเรื่องของการบริหารงานในบางจุด
และจะเข้ามาถือหุ้นส่วนน้อยให้เจ้าของไอเดีย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และบริหารงานต่อ
และเมื่อถึงเวลากิจการไปได้ดีก็ขายหุ้น ทำกำไรออกไป
แต่การหา venture capital ที่จะถูกใจกันทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เรื่องง่าย
การเป็นโปรแกรมเมอร์จากเอเชีย มีชื่อเสียงในเรื่องการควบคุมยา ไม่มีวินัย
ภาพพจน์เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการหา venture capital
"อย่าง jimmy.com ของเราอยู่ที่เชียงใหม่ ก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย เขาคิดว่าเราเป็นแรงงานราคาถูก
หลังบ้านปลูกฝิ่น ภาพพจน์เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้เขาเชื่อถือ"
ในที่สุดหมอจิมมี่ก็ได้การสนับสนุนจาก venture capital จากฮ่องกง ทั้งสองจะร่วมทุนกันจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาใช้ชื่อว่า
communus บริษัทนี้จะจดทะเบียนและตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา
เพื่อลงทุนพัฒนาซอฟต์แวร์เกมบนวินโดว์ซีอี ไปจำหน่ายทั่วประเทศ
นอกเหนือจากเงินทุนแล้ว venture capital จะหาทีมบริหารมาช่วยในเรื่องของธุรกิจ
ตั้งแต่การหา CEO (Chief executive officer) ไปจนถึงทีมการตลาด และการจัดการส่วนทีมโปรแกรมเมอร์ของหมอจิมมี่มีหน้าที่พัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์
แต่ยังคงความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท communus
หากไม่มีข้อผิดพลาดอะไร อีกไม่นานบริษัท communus inc. ที่หมอจิมมี่ และทีมงานเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มี
venture capital จากฮ่องกงเป็นผู้ถือหุ้นรองลงมา จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของซิลิคอนวัลเลย์
และนี่ก็คือการเดินทางของซอฟต์แวร์ไทยที่จะออกสู่ต่างแดน