ไทยออยล์ ต้องเข้าจดทะเบียน ในตลาด หลักทรัพย์ฯ ปีนี้เพื่อ เตรียม รับมือสภาวะการแข่งขัน
อย่างรุนแรง เนื่องจากมาตรการเปิดเสรีโรงกลั่น การระดม ทุนจากตลาดหุ้น จะช่วย
เสริมฐานะ งบดุล โดยเฉพาะเงินกองทุน ของไทยออยล์ ให้แข็งขึ้น เกิดช่องทางหาเงินด้านอื่น
ๆ นอกเหนือไปจากวิธีการกู้ยืมที่ไทยออยล์ ทำมาตลอด เกษม จาติกวาณิช หวังว่าวิธีการ
นี้จะช่วยแก้ปัฐหาการก่อหนี้ ของไทยออยล์ สามารถในการรักษาต้นทุน ที่ต่ำไว้อย่างต่อเนื่อง
ทำให้มีประสิทธิภาพ ที่จะแข่งขัน ในตลาดเสรี ได้อย่างเต็มที่!!
เกษม จาติกวนิช เข้ามาบริหารไทยออยล์ ในสถานการณ์ ทางการเงินแบบไต่เส้นลวดเมื่อปี
2528 เขาสร้างหนี้ ครั้งแรก เพื่อให้ไทยบออยล์ ขายโรงกลั่น TOC3 ได้ แล้วสร้างหนี้
ครั้งต่อมา เพื่อหวังทำรีไฟแนนซ์ เงินกู้ก้อนแรก หลังจากนั้น มีการกู้ครั้งย่อย
เพื่อซื้อโรงกลั่น TOC1&2 ซึ่งเขาเรียกว่าซื้ออิสรภาพ สุดท้ายเขา กำลังนำไทยออยล์
ยื่นขอเข้า ตลาดหลักทรัพย์ มันเป็นการระดมทุน ครั้งสำคัญ ที่หวังจะช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างทาง
การเงินของไทยออยล์ได้
มูลค่าหนี้สินทั้งหมด ของไทยออยล์ ในเวลานี้ นับทั้งเงินกู้ ในประเทศ และต่างประเทศ
มีจำนวนสูง 37.4 พันล้านบาท มีสัดส่วน ของหนี้ ต่อทุนสูงถึง 15:5:1 โดยมีทุนจดทะเบียนแค่
20 ล้านบาท เท่านั้น
การที่เกษมต้องหาแหล่งระดมเงินทุน อื่น ๆ นอกเหนือไปจากเงินกู้ ซึ่งเขา
สามารถทำได้อย่างมหัศจรรย์ เพราะมีแบงก์ใหญ่ ๆ จำนวนมาก ทั้งในและต่างประเทศ
อยากจะให้ไทยออยล์ เป็นลูกหนี้ เพราะเขาต้องเตรียม ตัวรับมือกับการแข่งขันเนื่องมาจากมาตรการเปิดเสรีโรงกลั่น
ของรัฐบาล และการเข้าตลาดหุ้นก็เป็นมติของคณะรัฐมนตรี เมือ่ปี 2531 ด้วย
รัฐบาล สมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้การตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันเปิดขึ้นได้อย่างเสรี
ทำให้เชลล์และคาลเท็กซ์ ได้รับใบอนุญาตตั้งโรงกลั่น
คาดหมายว่าในปี 2539 โรงกลั่นน้ำมันของ 2 บริษัทนี้จะก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย
เริ่มทำการกลั่นน้ำมันได้
เชลล์และคาลเท็กซ์ ซึ่งเคยใช้บริการโรงกลั่น จากไทยออยล์ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันจากไทยออยล์
อีกต่อไป คงเหลือแต่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ในไทยออยล์ที่จะยังซื้อน้ำมันจากที่นี่
แม้แหล่งข่าวในวงการ น้ำมัน จะเปิดเผยว่าเชลล์และคาลเท็กซ์ มี " สัญญาสุภาพบุรุษ"
กับ เกษม ว่าจะยังซื้อน้ำมันจากไทยออยล์ ต่อไปอีก เป็น เวลา 10 ปี หลังจากที่ตัวเองมีโรงกลั่นแล้ว
แต่ไทยออยล์ ก็ยังจะต้องหาช่องทาง ระบาบสินค้าของตน เตรียมไว้ ด้วย ซึ่งช่องทาง
หนึ่งกคือการลงทุน สร้างปั๊มน้ำมัน ไทยออยล์ รวมทั้งการมองหาตลาดน้ำมันค้าปลีก
อื่น ๆ ภาบนอกประเทศ
นอกจากนี้ ไทยออยล์ ต้องแก้ปัญหาสำคัญเฉพาะหน้า ของตัวให้ได้ ก่อนต่อ โครงสร้างการเงิน
ซึ่งตลอดเวลา ที่ผ่านมา ไทยออยล์ ใช้วิธีกู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งภายใน
และต่างประเทศ
เกษม คาดหมายว่าการนำไทยออยล์เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมือ่ปี 2531 จะช่วยแก้ปัญหา โครงสร้างทางการเงินของไทยออยล์ ได้ และทำให้ไทยออยล์
รักษาต้นทุนเงินกู้ ไว้ได้ในระดับต่ำ มีความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดเสรี
ได้อย่างเต็มที่
การก่อหนี้ ของไทยออยล์ เป็นทางออก ของปัญหาแหล่งเงินทุน ที่มีการคิดและลงมือทำกันมาก่อน
ที่เกษม จะเข้ามารับงานบริหารที่นี่ เหตุที่ไทยออยล์ ต้องการเงินกู้ เข้ามาขยายงานในช่วงแรก
ก็เพราะผู้ถือ หุ้นไทยออยล์ ในตอนนั้นไม่มีใครต้องการเพิ่มทุนให้ กับบริษัทน้ำมันแห่งนี้
การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย ที่ถือหุ้น อยู่ 49% ไม่ต้องการเพิ่ม มิพักต้องพูดถึงถือหุ้นรายอื่น
ๆ ที่มีสัดส่วน น้อยกว่า
แต่ไทยออยล์ ต้องขยายงานออกไป หมายถึง การสร้างโรงกลั่น TOC3 ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของสัญญาที่เซ็นไว้
กับรัฐบาล ในโครงการขยายโรงกลั่น ครั้งที่ 2 ขั้น 1 ที่เกษม อธิบาย ว่า "
หาไม่สร้างก็ตาย เพราะโรงกลั่น TOC 1&2 เลี้ยงตัวเองไม่ได้ ค่าเช่ากิน
หมด กำไรก็น้อยมาก เพียงปีละ 1 ล้านบาท เท่านั้น กองทุน ก็จะเล็ก เพราะกำไร
ที่เข้ามามีน้อย แล้วจะสร้าง ได้อย่างไร เมือ่ไม่มีเงินเงินสดจะสร้าง มันก็ต้องไปกู้เขามา"
นี่คือ สาเหตุการกุ้เงินครั้งแรกของเกษม
แต่สำหรับ ไทยออยล์นั้น คณะรัฐมนตรี สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ยุค "เปรม 1" ก็ได้คิดเรื่องการก่อหนี้ ของไทยออยล์ มาก่อนแล้ว
มีการแต่งตั้ง คณะบุคคลเดินทางไปเจรจา กู้เงินจากแหล่งเงินต่างประเทศ แต่ไม่ประสบความำสเร็จ
บุญมา วงศยสวรรค์ ร่วมอยู่ในคณะบุคคลชุดนี้ ด้วยในฐานะผู้แทนจากไทยออยล์
หลังจาก มีความพยายาม กู้เงินครั้ง นั้นไม่สำเร็จ เกษมซึ่งในเวลานั้น ยังไม่ได้เจ้ามาเป็นผู้บริหารในไทยออยล์
แต่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการพลังงาน ฯ ที่มี อดีตนายกฯ เปรม เป็นประธาน ได้ให้คำแนะนำ
ว่าควรจะให้ มีการประมูลการสร้างโรงกลั่น โดยผนวกไฟแนนซ์ แพคเกจ เข้าไปด้วย
เพื่อที่ว่าไทยออยล์ จะได้ไม่ต้องวิ่งหาไฟแนนซ์ให้ลำบาก
โรงกล่น TOC3 หรือ หน่วยกลั่นที่ 3 ที่จะสร้างนี้ เป็นหน่วยกลั่น ทีมีระบบเพิ่ม
คุณค่าน้ำมัน คือระรบบ "อโดรแคกเกอร์ สามารถ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการแปรสภาพน้ำ มันเตาให้เป็นน้ำมันดีเซล ซึ่งมีมูลค่า สูงว่า เพราะมี ความต้องการใช้ในประเทศ
สูงมาก
ไทยออยล์ จึงจัดให้มีการประมูล แต่ก็ต้อง ล้มการประมูล ครั้งนี้ไป ซึ่งเป็นช่วงที่เกษม
เข้ามารับหน้าที่ประธานกรรมการและคณะกรรมการอำนวยการบริษัทไทยออยล์ พอดี
เกษม ทบทวนเหตุการณ์ ครั้งนั้นกับ " ผู้จดัการ" ว่า " การล้มประมูล
ครั้งนั้น เสียงเงินไปเกือบสามพันล้านบาท เหตุที่ล้ม ก็เพราะค่าก่อสร้าง
และต้นทุนเงินแพง มาก รวมทั้งค่าที่ปรึกษาด้วย ซึ่งไทยออยล์ต้งพึ่งพวกเขาเต็มที่
เพราะเราไม่มีอะไรเลย การที่จะไปเอาเงินเขามาที่นี่ ต้องเสียเงินให้เขาเยอะมาก
ก็เลยล้มไป"
แม้ว่าจะต้องเสียเงินไปเกือบพันล้านบาท แม่ก็สามารถเอาตัวนี้ ไปหักค่าใช้จ่ายได้
ทำให้ในปี นั้เหลือแค่กำไร 1 ล้านบาท เท่านั้น
เมื่อเกษม มาเจอปัญหานี้ ได้พยายามผลักดันให้มีการจัดประมูล ใหม่โดยเร็ว
ซึ่งนับว่า เป็นโชคดี ของไทยออยล์ มากในเวลานั้น ที่ตลาดการก่อสร้าง เป็นจังหวะของผู้ซื้อ
"เราซื้อได้ถูกกว่าราคาที่ประเมินไว้ แต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับไฟแนนซ์
แพคเกจที่เอาเข้ามาด้วย ซึ่งตอนนั้น เป็นกลุ่มแบงก์ ออฟโตเกียว แบงก์ก็บีบเราทุกวัน
เพราะเขาก็ถือคล้ายกับไทยออยล์ เป็นผู้กู้" เกษม เปิดเผย
เกษม ไม่ยอมให้ธนาคารกลุ่มนี้บีบ ได้พยายาม ใช้สายสัมพันธ์ เก่า ๆ ที่เคยมีอยู่กับนายธนาคาร
เหล่านี้ สมัยบริหารงานที่การไฟฟ้า ฝ่ายผลิต แห่งประเทศ เพื่อเจรจาการตกลง
ส่วนที่แบงก์ ต้องการในตอนนั้น คือ หนังสือรับรอง จากรัฐบาล ซึ่งเป็นระเบียบ
ปกติของธนาคาร และอีกประการหนึ่ง ก็เพราะผู้กู้ อย่างไทยออยล์ เป็นผุ้ไม่มีทุนเลย
และการจดจำนองโรงงาน ที่ดินเครื่องจักร
เงื่อนไข ของแบงก์ ถือเป็นวิกฤตย่อย ๆ สำหรับไทยออยล์
แบงก์ ต้องการหนังสือ รับรองเพื่อเป็นหลักประกัน ว่ารัฐบาล จะไม่ทำไทยออยล์
และ จะให้การดูแล อุตสาหกรรม นี้เป็นอย่างดี
แต่หนังสือ รับรอง ให้ไทยออยล์ นั้นรัฐบาล เคยออกไปแล้วครั้งหนึ่ง มาครั้งนี้
เกษม ซึ่งเข้าไปรายงาน ในคณะรัฐมนตรี ด้วยได้ขอหนังสือ รับรองแบบใหม่ "
ผมขอ letter of support ที่ไม่มีเงื่อนไข อะไรเลย ฟ้องร้องไม่ได้ เพียงแต่รัฐบาล
ให้การยืนยันว่าจะไม่ nationalized ตามที่ประกาศเป็นนโยบายแล้วเท่านั้น"
เกษมต้องเข้าไปต่อสู้ใน ค.ร.ม. เพื่อให้ได้หนังสือนี้มา เขาทบทวนความหลัง
ให็เห็นว่าเป็นความลำบากมากแค่ไหน เพราะในคณะรัฐมนตรี เวลานั้น ไม่มีใครเป็นพวกด้วยเลย
นอกจาก ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งเป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ส่วน ชาญ มนูธรรม ที่ดูแลเรื่องพลังงานและดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การคลังไม่เห็นด้วยที่จะเอารัฐเข้าไปเกี่ยวข้องผูกพัน
แต่ในที่สุด เกษมทำได้สำเร็จ เขาเล่าว่า " มัน แปลกมาก เป็นเหมือนเรื่องมหัศจรรย์
คุณเปรม หลุดมาคำเดียวว่า ผมเชื่อคุณเกษม คำเดียวเท่านั้น ทุกอย่างเปลี่ยนหมด
เมืองไทยนี้มันแปลก ใครที่ เป็น Strongman สักคนบอกว่าได้ ไอ้ที่ไมเห็นด้วย
มันกลับเห็นด้วยได้อย่างกะทันหัน หลังจากนั้น letter of support ออกซึ่งทุกวันนี้
ก็ฉีกทิ้งไปแล้ว เพราะมันหมดแล้ว"
แม้จะได้ letter of support แล้ว แต่ก็ยัง ติดปัญหาเรื่องการจดอจำที่ดิน
โรงงาน เครื่องจักร ซึ่งไทยออยล์ มีปัญหา เรื่องขั้นตอน วุ่นวายมาก เพราะที่ดิน
ของไทยออยล์ ตอนนั้น ยังไม่ได้ จดทะเบียนไป ซื้อเป็น นส.3 มาบ้าง ยังวไม่มีกรรวบรวม
ส่วนเครื่องจักร ทางแบงก์ ก็ต้องการ เป็นเจ้าของ เป็นหลัก ประกัน การผิดสัญญา
หรอืขาดการชำระหนี้ ทั้งที่เครื่องจักร ใน TOC 1&2 ตอนนั้นใกล้หมดค่าเสื่อมแล้ว
เจ้าหน้าที่แบงก์ บอกกับ เกษมว่า " ทางแบงก์ คงไม่ได้ มาดำเนินการโรงกลั่น
เองหรอกหากมีการผิดสัญญา กันจจริง ๆ แต่ว่ามันเป็นระเบียบปฏิบัติของแบงก์"
เงื่อนไขต่าง ๆของแบงก์ เหล่านี้ ทำให้เกษม ถึงกับรู้สึก " แค้น"
ในวันท้าย ๆ เมือ่ใกล้จะเซ็นสัญญา เกษม จึงใช้ลูกเล่นทางสายสัมพันธ์ เก่า
ๆ โดยทำการร่างโทรเลขกันที่ห้องเทียร่า โรงแรมดุสิตธานี ในตอนค่ำ ส่งไปถึงบรรดา
president ต่าง ๆ ในแบงก์กลุ่มนี้ทั้งหมด ซึ่งโดยมากรู้จักมักคุ้นกับตัวเขา
"ผมบอกว่าจะช่วยหน่อยเถอะ ปล่อยให้ลุกน้องมาเจรจาอย่างนี้ไม่ไหว เขาตัดสินใจไม่ได้
เกษม เล่าด้วยน้ำเสียง ที่ฟังแล้วรู้สึกถึงความกึ่งโกรธฉุนอยู่ในที
นาเกยามา-ประธานของแบงก์มารูเบนี ( marubeni Bank) ซึ่งสนิทกับเกษมมาก
และเป็น leader ใน Syndicated loan ก้อนนี้เป็นคำตอบตกลงให้ความช่วยเหลือแก่เกษมเป็นรายแรก
หลังจากนั้นคนอื่น ๆ ก็ไม่มีปัญหา เกษมยังได้ติดต่อ ถามเขาอีกว่า "
แน่ใจหรือว่า จะทำสัญญากันได้เสร็จจเรียบร้อยเลย ต้องให้แน่ใจถึงจะเดินทางไปเซ็นสัญญากัน
มิฉะนั้นก็ไม่ไป" เกษม ถามทั้งที่มีการติดต่อจองซื้อตั๋วเดินทางและจองที่พัก
ในญี่ปุ่นเรีบร้อยแล้ว
ในที่สุด เกษมและคณะ จากไทยออยล์ก็เดินทาบงไปเซ็นสัญญาได้ แม้ว่ายังไม่สามารถจัดการ
ปัญหาเรื่องที่ดินได้สำเร็จ โดยทิ้งประเมินไว้ว่าเมื่อ รวบรวมโฉนดได้ครบเมื่อไหร่
สัญญาการกู้ยืมฉบับนี้จึงสมบรูณ์ แต่กระนั้น ไทยออยล์ ก็สามารถสั่งซื้อ เครื่องจักร
และดำเนินการสร้างได้ล่วงหน้าไปเลย
อย่างไรก็ดี เกษมก็ไม่สบายใจกับเงื่อนไขของแบงก์กลุ่มนี้เท่าใดนัก เพราะไม่ว่า
จะทำอะไร อย่างไร ต้องรายงานให้แบงก์ทราบทุกเรื่อง
เขาเปรียบเทียบว่า " มันมีอยู่ในข้อตกลง เหมือน World Bank ก่อนจะทำอะไร
ต้องบอกก่อนเพราะเขาเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ฉะนั้น เขาต้งอรับผิดชอบหนี้ใหม่
กู้อะไร ก็ไม่ได้"
เกษมได้พยายามวิ่งเต้น อีกครั้งเพื่อจะทำรีไฟแนนซ์ หรือ ปลดหนี้ เงินกู้
ของแบงก์ ออฟโตเกียว ซึ่งมีจำนวน 22 พันล้านเยน
แหล่งเงินทุน รายใหม่ ที่ไทยออยล์ เสาะหามาได้เป็นกลุ่มแบงก์ไทยในวงเงิน
5,000 ล้านบาท นำโดยแบงก์กสิกรไทย และได้จาก เชสแมนตันร แบงก์อีกประมาณ 2,500
ล้านบาท รวมกันพอดี เกษม จึงส่งเช็คไปให้กลุ่มแบงก์ออฟโตเกียว ที่ญี่ปุ่น
เช็คใบนี้ ออกโดยธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์ตเตอร์ เมือ่วันที่ 16 มิถุนายน
1983 (2526) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 22,250,077,900 เยน
เขางงมากที่ได้รับเงินจำนวนนี้ เขาไม่คิดว่า เราจะหาเงินได้ คนที่มีหนี้มากกว่าทรัพย์สินจะหาเงินจำนวนมากนี้มาจากไหน
เจ้าของแบงก์ออฟโตเกียว งงมาก และมันก็เป็นปัญหา ต่อเขาเหมือนกัน เพราะเขา
ต้องหาทางระบายออกไปโดยเร็ว" เกษม เล่า
สิ่งที่เกษม และคนไทยออยล์ ต้องการเป็นอย่างมาก ก้คือความเป็นอิสระในการดำเนินงาน
เขาทำรีไฟแนนซ์ โดยชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด ในคราวเดียวเพื่อแลกกับอิสระภาพ
ขอบงไทยออยล์ ขณะที่เขาก้เจรจา กับเจ้าหนี้รายใหม่ ซึ่งดุเหมือนจะคุยกันง่าย
กว่ามาก ขออิสรภาพ ในการดำเนิงานเช่นเดียวกัน
เงินกู้ก้อนใหม่จาากลุ่มแบงก์ไทยและเทืส ครั้งนี้ แม้จะเป็นจำนวนมาก แต่ก้เป็น
Clean Loan ที่ไม่มีหลักทรัพย์ประกัน
เกษม เล่าว่า " ไม่ต้องวางอะไรทั้งสิ้น ขอย่างเดียวว่าต้องรักษาสัดส่วนหนี้สินประจำ
หรือ Current Ratio ไว้ในอัตรา 1:1 และ Long Term Debt นี่ก็อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ
แต่ไม่ได้กำหนดว่าเป็นเท่าไหร่ อาจจะเป็น 3:1 หรือเท่าไหร่ก็ได้
ความสำเร็จของเกษม และไทยออยล์ ในการเจรจากับเจ้าหนี้ รายใหม่ โดยได้เงอื่นไข
ที่ดีอย่างมาก ๆ เช่นนี้ ถือเป็น เรื่องประเภทมหัศจรรย์ของโลก เลยทีเดียว
เพราะจากเดิมที่เคยมีการเดินทางไปหาเงินกู้ต่างประเทศ แต่ไม่ได้ จนกระทั่งเกษมเข้ามา
สามารถหาเงินกู้ ได้แต่ ก็ต้องมีภาระ ผูกพันมากมาย ต้องเอาหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน
แทบทุกอย่าง กระดิกตัว ทำะไรเองไม่ได้เด็ดขาด ไม่มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจกลับกลายมาเป็นอิสระ
เต็มที่ หลักทรัพย์ก้ไม่ต้องไปจดจำนองและยังไม่ได้เงินกู้จำนวนมากมาแบบ Clean
loan อีกด้วย
Deal แบบนี้ คนแบบนี้ และการเจรจา แบบนี้ไม่ให้สั่นสะเทือนวงการได้อย่างไร!!
มันเป็นประวัติศาสตร์ หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญขอไทยออยล์
มันเป็นบรรทัดฐาน ที่ไทยออยล์ ถือปฏิบัติในคราวต่อ ๆมา คืออิสรภาพ ในการดำเนินงานและการกู้แบบ
Clean Loan ซึ่งไม่ต้องวางหลักทพรัย์ ค้ำประกัน เกิดเป็นเครดิตของเกษมและไทยออล์
ร่วมกันที่สามารถกู้ในลักษณะนี้ได้
"ตั้งแต่นั้นมา เรากู้มาอีกจจำนวนมากหลายหมื่นล้าน บาทโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
เป็น Clean Loan หมด มันเป็นจุดเปลี่ยนอย่างมากของไทยออยล์" เกษม เปิดเผยด้วยความภาคภูมิใจ
แหล่งข่าว ในไทยออยล์ อธิบายว่า " เครดิต ของบริษัทฯ มาจกาการที่ธนาคาร
ผู้ให้กู้ มีความเชื่อ มั่นในการบริหารงานของบริษัทฯ ที่มีท่านประธานฯ เป็นผู้นำและมั่นใจในธุรกิจของ
บริษัทฯ"
ปัจจุบันไทยออยล์ มีโรงกลั่น ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ มีระบบ upgranding
facilities ถึง 3 ระบบ โดยเฉพาะระบบ Hyd-Rocracker ทำให้ gross refinery
margin (GRM) อยู่ในเกณสูง ประมาณ 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ กำลังกลั่น
ของไทยออยล์สูงขึ้นมาก
อีกประการหนึ่ง ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาด มีความผักผวนราคามาก แต่ราคา
product ก็จะปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่กระทบกระเทือนระดับ
GRM และทำให้เงินทุนหมุนเวียน ของบริษัท ไทยออยล์ มั่นคง ไม่ผันผวนมาก
ความสำเร็จในเรื่องเครดิต ขอไงทยออยล์ เป็นเพียง บทเริ่มต้นของธุกริจ ไทยออยล์
ยังมีแผนงานอีกมาก มีปัญหาอีกมาก ที่ต้องจัดการแก้ไข และมุ่งไปในทิศทางที่ได้มีการกำหนดเอาไว้เแล้ว
ไทยออยล์ มีจุดเริ่มต้นที่ไม่เหมือนบริษัทน้ำมันรายอื่น ๆ ในประเทศ
เชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของบริษัท ฯ เป็นผู้ก่อตั้งไทยออยล์ขึ้นเมื่อปี
2504 ในชื่อเดิมว่า บริษัทโรงกลั่น น้ำมันไทย จำกัด เขาเป็นวิศวกร ชาวไต้หวัน
ที่ตั้งบริษัทนี้ ขึ้นเพื่อเข้ารับสัมปทาน ดำเนินการสร้างและการบริการโรงกลั่นโรงแรกของประเทศ
ด้วยกำลังการผลิตชั้นต่ำ 30,000 บาร์เรล /วัน โดยมีสัญญาขั้นแรก 10 ปี จากนั้น
มีแผนจะโอนให้รัฐดำเนินการต่อ ภายใน อายุสัมปทาน ดังกล่าว เชาวน์ต้อง แบ่งผลกำไร
ให้รัฐ( profit sharing) 25%
โรงกลั่นโรงแรก ก่อสร้างเรียบร้อย และเปิดดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ได้เมื่อ
18 กันยายน 2507 โดยมีกำลังการผลิต 35,000 บาร์เรล/วัน
อีก 3 ปีถัดมา ได้มีการขยาย กำลัง การผลิต เป็นโรง TDC2 อีก 30,000 บาร์เรล/วัน
ซึ่งก่อสร้างเสร็จ และเปิดดำเนินงาน ในเชิงพาณิชย์ ได้เมื่อวันที่ 18 กันยายน
2513 ทำให้มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 65,000 บาร์เรล/วัน
ตลอดเวลา ที่ไทยออยล์ ขยายกิจการ เรื่อยมานั้น ไทยออยล์ มีภาระผูกพัน กับรัฐมาก
มาย หลายประการ เป็นภาระที่หนักมากในด้านการเงินเป็นเรื่องที่เมือเกษม เข้ามาเป็นผู้บริหารท่านแล้วอธิบายสถานการณ์ทางการเงินของไทยออยล์
กับ " ผู้จัดัการ" ว่าเป็นแบบ" ไต่เส้นลวด" บ้างหรือเป็นโครงสร้างการเงินที่
" เหลือขอ" ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมาก
ไทยออยล์ ต้องจ่ายเงินให้รัฐ 65% ของรายรับ ใน 65% นี้เป็นส่วน ของ profie
sharing 25% อีก 40% เป็น corporate income tax
แต่ปัจจุบัน ภาษีลดเหลือ 30% แล้วทว่า ส่วนแบ่งผลกำไร กลับเพิ่มเป็น 35%
แต่ปัจจุบัน หมายความว่าตัวเลข 65% ของรายรับ เป็นตัวเลขตายตัวที่รัฐจะเก็บจากไทยออยล์
ตามที่ตกลง กันไว้ในยุคต้น ๆ
เกษม เล่าให้ฟังด้วยความละเหียใจว่า " เป็นตายอย่างไร รัฐเก็บ 65%
รวด คนก็เหนื่อยเหมือนกัน ทุกเช้าต้องเดินออกไปถามเจ้าหน้าที่สถานการณ์การเงินเช้านี้
เป็นอย่างไรบ้าง เพราะปิดโรงกลั่นโรงใดโรงหนึ่ง จะเกิดตัวเลขติดลบขึ้นมาทันที
ตัวนี้มันกินไม่ว่าจะปิดหรือเดินเครื่องมันก็กินตลอด"
นอกจากนี้ ตัวเลขนี้ ยังมี fixed cost รายการอื่นอีกที่ทับถมเป็นปัญหาทำไมโรง
กลั่นไทยออยล์
จึงต้องกู้เงินมขยายการผลิตอยู่ร่ำไป โดยเฉพาะตอนที่ตัดสินใจขยาย TOC3&4
เรื่องอัตราค่าเช่า มีทั้งโรงกลั่นและที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งจอง
โรงกลั่น และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของบริษัทที่ดินที่ศรีราชา ผืนนี้ เป็นที่ราชพัสดุ
ซึ่งไทยออยล์ ทำสัญญาเช่าไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมาตามระยะเวลา
เช่าโรงกลั่น อายุสัญญาเช่าจะสิ้นสุดในวันที่ 17 กันยายน 2 หัวใจ คืออัตราค่าเช่า
จะเพิ่มขึ้น 15% ทุกปี สำหรับโรงกลั่น และเพิ่ม 10% ทุกปี สำหรับ ที่ดินเปล่า
และที่ดินมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของบริษัท ฯ รายรอบโรงกลั่น
รายงานประจำปี 2533 ของไทยออยล์ ซึ่งเป็นปีครบรอบ30 ปี ของบริษัทฯ เปิดเผยตัวเลขค่าเช่าโรงกลั่นปีแรก
2523/2523 มีอัตรา 6.294 ล้านเหรียญสหรัฐ นับมา 11 ปี ค่าเช่าในปี 2533/2534
มีอัตรา 6.294 ล้านเหรียญสหรัฐนับมา 11 ปี ค่าเช่าในปี 2533 /2534 ก็มีมูลค่า
ถึง 25.463 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,886.4 ล้านบาท
ส่วนค่าเช่า ที่ดิน ปี 2524/ 2525 เริ่าเสียค่าเช่า ในจำนวน 29,363 ล้านบาท
ครั้นปี 2534/2535 ค่าเช่าที่ดิน เดิ่มเป็นจำนวน 76,159 ล้านบาท
เกษมเล่าว่า " ปีต้น ๆ ของสัญญาเช่าโรงกลั่น นี้ ตัวเลขประมาณ 200ล้านบาท
แต่ปี ท้าย ๆ มันสูงเป็น 3,000 ล้านบาททีเดียว อย่างปีนี้ ก็ประมาณ 600-700
ล้านบาท"
นี่ก็คือมูลเหตสำคัญที่ทำให้ ลักษณะโครงสร้าง ทางการเงิน ของไทยออยล์ ไม่เหมือนกับบริษัทอื่น
ๆ
เกษม กล่าวว่า " ถ้าไม่มีการขยายทำ TDC3 &4 มันก็ไปบ้านแล้วหาเงินได้ไม่พอเสียค่าเช่า
อันนี้ต้องเข้าใจปัญหาของไทยออยล์ การที่จะทำให้บริษัทกำไร อ่างคนอื่น เขามันยากเพราะเงื่อนไขไม่เหมือนกัน"
ภาระผูกพัน อีกอย่างคือ ข้อสัญญา ที่ทำไว้กับ กระทรวงอุตสาหกรรม ในการขอขยาย
โรงกลั่น ครั้งที่ 2 เมือ่ปี 2522 ระบุว่า ไทยออยล์ ต้องทำสัญญา ก่อสร้าง
เมือ่ปี 2522 ระบุว่า ไทยออยล์ต้องทำสัญญาก่อสร้างภายใน 2 ปี ต้องสร้างหน่วยโรงกลั่นให้เสร็จเรียบร้อย
ภายใน 3 ปี หากทำไม่ได้ ไทยออยล์ ต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาทการที่ไทยออยล์
มีปัญหาต้องประมูล ใหม่ต้องปรับโครงสร้างจนการก่อสร้างไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา
รัฐไม่ถือเป็นข้อยกเว้น
ไทยออยล์เริ่มถูกปรับตั้งแต่ วันที่ 12 ธันวาคม 2527 เรื่อยมาจนกว่า TDC4
จะเสร็จสมบูรณ์ หมายถึง CCR2 ต้องดำเนินการผลิตได้เรียบร้อย ซึ่งคาดว่าอยู่ในช่วงต้นปี
2536
จนถึงสิ้นปี 2535 ไทยออยล์ เสียค่าปรับไปแล้เว 294 ล้านบาทอันที่จริง หากจะดูโครงการ
ขยายโรงกลั่นครั้งที่ 2 คือหน่วยกลั่นที่ 3 และ 4 นั้น ไทืยออยล์ สร้างเสร็จไปแล้ว
แต่หน่วย CCR 2 ที่ขอขยายเพิ่มไว้ยังไม่เสร็จ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี เมือวันที่ 15 พฤศจิกายน 2526 ได้อนุมัติตามที่ไทยออยล์เสนอแยกการขยายโรง
กลั่นครั้งที่ 2 ออกเป็น 2 ขั้นคือ หน่วยกลั่นที่ 3 และ 4 TDC3&4
หน่วยกลั่นที่ 3 คือระบบ เพิ่มคุณต่า น้ำมัน หรือ Hydrocracking ส่วนหน่วยกลั่นที่
4 ประกอบด้วย หน่วยกลั่นน้ำมัน ดิบหน่วย CCR หรือ Continuous Catalyst Regeneration
Platform พร้อมทั้งหน่วยขจัดกำมะถัน ในน้ำมัน ก๊าด และน้ำมันอากาศยาน
CCR เป็นหน่วยที่ผลิตแพลทฟอร์ม ทีมีค่าออกเทน เกิน 100 สามารถ นำมาทำน้ำมัน
เบนซิน ไร้สารตะกั่วได้
หน่วย CCR 1 สร้างเสร็จแล้วในปี 2533 ไทยออยล์มองว่า อาจไม่เพียงพอเพราะตลาดเบนซิน
ไร้สารตะกั่ว จะโตขึ้นอีกมาก จึงมีการขอขยาย CCR2 อันเป็นเหตุที่ยังถูกปรับวันละ
100,000 บาทในทุกวันนี้
เกษม เปิดเผยตัวเลขว่า " ตั้งแต่วันเซ็นมา จนทุกวันนี้ ถูกปรับปีหนึ่งตกประมาณ
30 ล้านบาท ผ่านมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ซึ่งเงินจำนวน นี้ถือว่า เล็กน้อยที่เอามาเปิดเผยเพือชี้ให้เห็นว่ามาตรการมันเยอะมาก"
ในเมื่อภาระผูกพัน มากมายขนาดนี้ ผู้บริหารไทยออยล์ ในตอนนั้น ก็ยอมตกลง
กับรับบาลได้อย่างไร
ปัญหานี้ เป็นเรื่องที่เกษม เคยหาคำตอบมาครั้งหนึ่งแล้ว เท่าที่เขาสืบมานั้พบว่า
ตัวเลขเหล่านี้เกิดมาจากสมมุติฐาน ที่ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มปีละ 10%-15% หรือราคาประมาณ
บาร์เรล ละ 40-50 เหรียญสหรัฐ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ราคาน้ำมันไม่เคยขึ้นถึงขนาดนั้นแลย ถึงกระนั้น
เกษมก็ไม่สามารถแก้ปัญหา ที่มีการเว้นกันมาไว้แล้วนี้ได้ นอกจากต้องเดินหน้าต่อไป
ในการขยายกำลังการผลิต หรือนัยหนึ่งก็คือ ตั้งหน้าตั้งตา หาเงินมาจ่ายให้รัฐได้ตามตัว
เลขที่มีการตกลงกันไว้
คณะผู้บิรหารไทยออยล์ ต้อวงถือว่ามีสายตาที่เฉียบคม มากในการคาดการณ์ภาวะธุกริจน้ำมันโดยเฉพาะ
hydro-crackng
เกษมกล่าวว่า " ระบบไฮโดรแครกกิ้ง เป็นตัวทำเงินทีเดียว ได้ตัวนี้มา
แบงก์จึงให้ผู้กู้ Clean Loan เรื่อยมาก ทั้งที่ตัวนี้มีผู้ใหญ่ในครม. ห่วงกันมากว่าจะสำเร็จมากน้อยขนาดไหน
คุณสุธี นี่กลัวที่สุด
หลังจากหน่วยกลั่นที่ 3 เริร่มทำการผลิตในปี 2532 เกษมก็เร่งงานหน่วยกลั่นที่
4 ต่อ และสามารถสร้างเสร็จกอ่นกำหนดถึง 2 เดือน
ไทยออยล์ ประสบความสำเร็จ อย่างงดงาม ตามทิศทางที่วางไวง้ การที่แบงก์ให้
Clean Loan หลายหมื่นล้าน กับบริษัทแห่งนี้ ที่มีทุนจดทะเบียน เพียง 20 ล้าน
บาทเท่านั้น เป็นเครื่อวบ่งชี้ ให้เห็ว่า งบดุล ที่เป็นตัวแสดงผลการดำเนินงานในแต่ละปีของไทยออยล์นั้นดีเยี่ยมเพียงไร
การดำเนินงาน ในไตรมาส แรกของรอบบัญชี ปี 2536 ( ต.ค 2535-ธ.ค 2535) ไทยออยล์มีกำไรเบื้องต้นประมาณ
300-400 ล้านบาท( เป็นกำไรก่อนหักภาษีและผลกำไรให้รัฐ) เพราะหน่วยกลั่นที่4
สามารถเดินเครืองได้อย่างเต็มที่ สามารถผลิตน้ำมัน เบนซิน ไร้สารตะกั่ว ที่มีราคาแพงกว่าน้ำมันชนิดอื่นขายได้
เป็นจำวนมาก จึงมีกำไรมาก
ส่วนในปี 2535 มีผลกำไรประมาณ 800 ล้านบาท ( กอ่นหักภาาษีและส่งกำไรให้รัฐ)
มากกว่าเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 500 ล้านบาท
ไทยออยล์ ไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเลย และผู้ถือหุ้น เองก็ไม่เคยมีการควักสตางค์ออกมาเพิ่มทุนในกิจการน้ำมันแห่งนี้
ผลกำไรทั้งสองที่เกิดขึ้น ถูกเก็บสะสม ไว้ทำให้บริษัมีส่วนของกำไรสะสมสูงมาก
ปประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท
ส่วนผู้ถือหุ้นยปี 2533 มีอยู่ 2,069 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 2,373 ล้านบาทในปี
2534
กิจการไทยออยล์ สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี แม้จะมีภาระผูกพันต่าง ๆ กับรัฐดังที่กล่าว
มา แต่สิ่งที่ผู้บิรหารมองกิขการของตัว เองไม่ได้ อยู่ที่ตัวงเลข การดินดนการแต่เพียงอย่างเดียว
อนาคต ของไทยออยล์ จะเป็นอย่างไรต่อไป
เกษม ชี้ว่า " สิ่วที่เราทำมานั้นก็ดีพอสมควร แต่มันไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เป็นคอขวด
(Botterneck) ในการเป็นโรงกลั่นชั้นนำได้
องค์ประกอบสำคัญของการเป็นโรงกลั่นน้ำมันในเวลานี้ ได้แก่สถานที่ตั้ง ซึ่งไทยออยล์อยู่ในทำเลที่ดีมาก
คือมีทะเลลึก ประการต่อมา คือการบริหาร โรงกลั่น ซึ่งไทยออยล์ก็ได้เปรียบบริษัทน้ำมันอื่น
ๆ ทั้งในแง่ทีมีหน่วยกลั่นประเภท Hi-Fi/Hi-Tech ซึ่งบางจาก กับเอสโซ่ ก็เทียบไม่ได้
และมีบุคลากร ทีมีคุณภาพสูง เรื่องโอเปอเรชั่น ตรงนี้จึงไม่มีปัญหาเลย
องค์ประกอบที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเป็นโรงกลั่นชั้นนำของไทยออยล์ คือปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงิน
ไทยออยล์มีทุนน้อย ทุนจดทะเบียน 20 ล้าน โรงกลั่นน้ำมัน ของไทยออยล์ คือปัญหา
เกี่ยวกับโครงสร้างการเงิน
ไทยออยล์มีทุนน้อย ทุนจดทะเบียน 20 ล้าน บาท ขนาดทรัพย์สิน ทั้งหมด 43,000
ล้านบาท เงินกู้รวม 37,400บาท ไปขอกู้สถาบันการใดย่อมต้องมีปัญหามาก ก็คือสิ่งที่มาเผชิยมากับกลุ่มแบงก์ออฟโตเกียวนั่นยเอง
อัตราส่วนหนี้ต่อทุน ( D/E Ratio) ของไทยออยล์ เท่ากับ 15.5:1 ซึ่งนับว่าสูงมาก
แต่ไทยนออยล์ได้เงินไขที่ดีจากเงินกู้สิทธิอันดับรองหรือ Suroudibnated debt
มูลค่า 165 ล้าน เหรียญสหรัฐ หรือ 4.2 พันล้าน บาทจากธนาคาร เชสแมนฮัตตัน
และธนาคารซันวา
เงินกู้ประเภทนี้มีสถานะ เกือบเหมือนผู้ถือหุ้นในแง่ของการจ่ายคืนเงิน
ในกรณีเลิกกิจการจะได้รับเงินคนเหลือจากเจ้าหนี้เงินกู้อื่น ๆ ได้รับคืนหมดแล้ว
เมื่อนับเงินกู้สิทธิอันดับรองเข้าไว้เป็นทุนแล้ว อัตราส่วนหนี้ต่อทุน
ของไทยออยล์ จะเป็น 5.3.1
แต่โครงสร้าง ทางการเงินที่มีสัดส่วนเงินกู้สูงขนาดนี้ เป็นปัญหาต่อความคล่องตัว
ในการขยายงาน ของไทยออยล์อย่างมาก ๆ
สังเกตได้ว่า ไทยออยล์ ไม่สามารถขยับตัวลงทุนในกิจการอื่น ๆ ได้นอกเหนือกิจการที่เกี่ยวเนือ่งกับการขยายกำลังการผลิต
สาเหตุอาจจะมาจากทั้งเป็นเงินไขของธนาคาร การลงทุนในกิจการอื่นแม้จะเกี่ยวเนื่องกับกิจการ
แต่ยังไม่สมารถหักผลกำไรเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ พันธกับรัฐทำให้ไทยออยล์
ไม่สามารถทำได้ฯ
เกษม ต้องรีบแก้ไขอุปสรรคสำคัญ ข้อนี้ เป็นการด่วนแนวทางที่เขาดำเนินการนั้นส่วนหนึ่งมีกำหนดไว้แล้วในมติครม.คือการนำไทยออยล์เข้า
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ไทยออยล์ต้องเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ตามมติครม. ที่เกิดขึ้นแล้ว
2 ครั้ง
รัฐบาลกำหนดให้ปิโตรเลียม เข้ามาถือหุ้น ในบริษัทฯ ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน
เมื่อปี 2522 รายละเอียดส่วนหนึ่ง ในสัญญาการร่วมทุนระบุไว้ว่า ในกรณีที่ต้อวมีการเพิ่มทุนให้ไทยออยล์
ดำเนินการขายหุ้น แก่ประชาชน ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
มติครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อไทยออยล์ ขอขยายโรงกลั่นสร้าง TDC4 อีก 100,000
บาร์เรล ครม.อนุมัติให้ไทยออยล์ ดำเนินโครงการ ขยายฯ เมือกรกฏาคม 2531 โดยระบุว่า
ให้ไทยออยล์ดำเนินกการปรับปรุงโครงสร้างทางด้านการเงินและการเพือหุ้น โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ตามมาตรฐานสากล และจำหน่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เกษมเปิดเผยว่า" วัตถุประสงค์ที่ไทยออยล์เข้า ตลาดหุ้น นอกเหนือจากการสนอง
นโยบาย รัฐบาลแล้ว อีกประการหนึ่ง คือต้องการเงินทุน และลดอันตราส่วนหนี้ต่อทุนลง
เพื่อทำให้บิรษัทฯ สามารถระดมทุนจากตลาดเพื่อขยายงานต่อไปได้ ในอนาคต ตามแผนงานระยะยาว"
ไทยออยล์ เริ่มศึกษารายละเอียดการนำบริษัท เข้าจดทะเบียนด้วยการตั้งที่ปรึกษาจากสถาบันการเงิน
4 ราย คือ ภัทรธนกิจ ธนสยาม ทิสโก้ และเอกธำรง /เอกธนกิจ
จากนั้นได้มีการยื่นเรื่องขอเข้าตลาดฯ เมื่อสิงหาคม 2533 ถัดมาอีก 3
เดือน ตุลาคมให้คำตอบ ว่าไทยออยล์ มีข้อจำกัด บางอย่าง ที่ขัดต่อ คุณสมบัติ
ของหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยเฉพาะสัญญาเช่าโรงกลั่น เหลืออยู่ 11 ปี
คำตอบของตลาดหลักทรัพย์ เป็นเหตุให้คณะผู้บริหารไทยออยล์ ต้องเร่งหาทางออกจากปัญหา
การมีฝรั่ง
เป็นกรรมสิทธิ์ ของตัวเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด ต้นปี 2534 บริษัทได้ทำเรื่องขอซื่อ
TOC 1&2 จากกระทรวงอุตสาหกรรม และขอขยายเวลา เล่าที่ดินด้วย
การเจรจา ขอซื้อโรงกลั่น ทั้งสองยืดเยื้อ เกือบ 2 ปี กว่าจะยุติ และลงมือเซ็นสัญญา
กันได้ ในสมัยที่ อานันท์ ปันยารชุน เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี หนที่ 2 เมื่อกันยายน
2535
เกษม เซ็นเช็คประวัติศาสตร์มูลค่าสูงสุด ของ แบงก์กรุงไทย คือ 8,764,245,
648.86 บาท มอบให้กับกระทรวงอุตสหากรรม เป็นค่าซื้อโรงกลั่น TOC1&2
มันเป็นเช็คเงินสด ที่เกษมประกาศว่า " ซื้ออิสรภาพให้ไทยออยล์"
ในส่วนของการเช่าที่ดินนั้น อายุสัญญาเช่า เดิมจะสิ้นสุดในปี 254 3 เมื่อไทยออยล์ขอซื้อโรงกลั่นจากรัฐบาล
ก็ต้องขอขยายระยะเวลา เช่าที่ดิน ด้วยเพื่อจะได้มีคุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
กรมธนารักษ์ ทำการประเมินราคาเช่าที่ดิน ใหม่ ราคาตารางวาละ 8,000 บาท
และ 10,000 บาท คิด รวมค่าเช่าที่ดินเฉพาะปี 2535/2536 เป็นเงิน 111.346
ล้านบาท ซึ่งไทยออยล์ ได้เซ็นเช็คจ่ายให้กรมฯ ไปในวันเดียวกับซื้อโรงกลั่นฯ
นอกจากนี้ ยังชำระค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่า ล่วงหน้า เป็นเงิน 1,220.52
ล้านบาท รวมกับเงินประกัน การเช่าอีก 111.346 ล้านบาท ในคราวเดียวกัน
รวมยอดเงินที่ไทยออยล์ จ่ายในวันประวัติศาสตร์การซื้ออิสรภาพวันนั้นสูงถึง
10,207 ล้านบาท
สัญญาเช่าที่ดิน นี้เริ่มตั้วแต่ 11 กันยายน 2535 ถึง 10 กันยายน 2565 ดดยไทยออยล์ต้องชำระค่าเช่า
ล่วงหน้า เป็นรายปี และกรธนารักษ์ จะปรับค่าช่าขึ้น 15% ทุก 5 ปี
นี่คือภาระผูกพันของไทยออยล์ ต่อไปอี ก 30 ปี ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน
และอาคารสิ่งปลูกสร้าง
ไทยออยล์ ก่อหนี้อีกประมาณ 10,000 กว่าล้าน บาทเพือ่นำมาจ่ายซื้ออิสรภาพ
เกษมเปิดเผยว่า "เงินจำนวนนี้ หากเราไม่ทำอะไรเราก็แย่ เพราะโดดเข้าไปทั้งตัวแล้ว
แต่เราต้องทนไปอีก 6 เดือน เพราะมีขั้นตอนมากมาย"
บริษัทฯ ต้องจดทะเบียน เป็นบริษัทมหาชน ก่อนเรียกประชุม ผุ้ถือหุ้น กำหนดสัดส่วน
ที่ผุ้ถือหุ้นต้อง dilute และจะต้องมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนด้วยสัดส่ววน เท่าไหร่นั้น
เกษมบอกว่ายังไม่ได้คิด
คาดหมายว่า ในส่วนของการปิโครเลียม ฯ ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหย่นั้น จะลดสัดส่วนจาก
49% เหลือ38% ซึ่งยังคงความเป็นผู้ถือหุ้นายใหญ่อยู่ ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่น
ๆ ก็ต้องมีสัดส่วนลดลงในอัตรา 25%เช่นกัน เพื่อที่จะเอาหุ้น ที่กันออกมา
25% เข้าจดทะเบียน ในตลาด
" เป้าหมายเราต้องการเงินเข้ากองทุนรประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท เพือให้อัตราส่วนหนี้ต่อทุน
ต่ำกว่า 8% ในการเสนอขายหุ้นล็อตแรก และลดลงเหลือ 5 % ในล็อตหลัง" เกษม
เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"
ทั้งนี้เกษม มองการบินไทย ฯ เป็นตัวอย่างการนำบริษัท เข้าจดทะเบียน ในตลดาหลักทรัพย์ฯ
เขากล่าวว่า " การออกหุ้นใหม่ขายต่อประชาชน ต้องคิดระยะยาว ออกครั้งเดียว
ขายตลาดอาจจะรับไม่ได้ การบินไทยฯ ต้องการมาก พอออกมา ทำให้ราคาตลาดต่ำกว่าราคาจอง
ต้องดูให้ดี"
Capital Gain ที่บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายไว้ 3,000 ล้านบาทนั้น เอาเข้าจริงจัง
ก็ยังไม่สามารถ หักกลบลบหนี้ ได้ เกษมเปิดผยว่า " เพราะเพิ่งจะมีเงินกู้ก้อนใหม่
ที่เอาไปซื้อโรงกลั่น เพิ่มเข้ามาอีก หากให้หนี้หมด จริงๆ ในปัจจุบันต้องได้
5, 000 ล้านบาท จะทำให้เราสบายขึ้นมาก"
แต่เป้าหมายในปีแรก เกษมขอแค่ประมาณ " ร้อยละ 50 ของ 5,000 ล้านบาทก่อน
เพราะต้องดูว่าตลาดจะรับได้แค่ไหน"
เกษม หรือซุปเปอร์เค ซึ่งเป็นฉายาที่ " ผู้จัดการ" กล่าวขานสะท้อนความเก่งกาจสามารถสมัยบริหารงานอยู่ที่
EGAT ได้นำพาพทยออยล์ ฝ่ามรสุม คลื่นลมสารพัดชนิด
เขาปลดพันธนาการ ให้ไทยออยล์ได้สำเร็จแล้ว และกำลังนำกิจการก้าวเข้ามาสู่จุดหัวเลี้ยว
หัวต่อสำคัญ ของการเป็นบิรษัทมหาชน จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอิสระที่จะระดมทุน
หรือก่อหนี้ตามช่องทางต่าง ๆ ที่ระบบตลาดทุนเปิดไว้ให้
เกษมเชื่อว่า วิธีนี้ จะสามารถลดต้นทุนได้ระดับหนึ่ง
อัตราส่วนหนี้ต่อทุน ที่ 8:1 เป็นระดับที่เขาพอใจและถือว่าสามารถเคลียร์ปัญหาโครงสร้างทางการเงินได้ขั้นหนึ่ง
เมือถึงตอนนั้น ไทยออยล์ ก็พร้อมที่จะแข่งขัน ในตลาดเสรี และผลักดันตนเองส่งการเป็นโรงกลั่นชั้นนำได้ต่อไป