กองทุนส่วนบุคคล (PRIVATE FUND)

โดย วนิดา ศักดิ์สงวนมนูญ วราพร สมบูรณ์วรรณะ
นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2536)



กลับสู่หน้าหลัก

พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ. 2513 กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลว่า บริษัทหลักทรัพย์ ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับบุคคลที่มอบหมายให้กับจัดการกองทุน หรือเรียกได้ ว่าเป็นสัญญาตกลงธุรกิจ ระหว่าง 2 ฝ่าย คือเจ้าของเงินผู้นำเงินมาให้บริหาร( investor) และผู้รับบริหารเงิน

นอกจากนี้ กองทุนส่วนบุคคลจะสามารถบริหารกองทุนให้แก่บุคคลไม่เกิน 10 คนเท่านั้น และแต่ละกลุ่มต้องมีวงเงินเกินสิบล้านบาท ส่วนการจัดการให้แก่ลูกค้าในลักษณะเดี่ยว ๆ แต่ละรายจะต้องมีวงเงินหนึ่งล้านบาทขึ้นไป ที่ทำเช่นนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับรายย่อย ซึ่งจะเป็นการช่วงชิงลูกค้า ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

อนึ่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ยังกล่าวไว้อีกว่า บริษัทหลักทรพัย์ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพยสิน หรือ custodian โดยให้นำทรัพย์สินทเป็นหลักทรัพย์หรือใบหุ้นของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลไป ฝากไว้กับ custodia ซึ่งบรรดาใบหุ้นนี้ จะลงชื่อของผู้มอบหมายใหจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตลอดจนชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ทำการแทนไว้ด้วย

โดยที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นจะมีความผิด ถ้าหากเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์นอกเหนือจากที่ได้ตก งกัน ไว้ในสัญญา ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมิได้แจ้งแก่ผู้มอบหมาย ให้ทราบล่วงหน้า หรือการค่าธรรมเนียมอื่นนอกเหนือจากต่างธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในสัญญา ตลอดจนการรับรองแก่ผู้มอบหมายว่า จะมีกำไรในอัตราที่แน่นอนหรือสัญญาว่าจะไม่มีผลขาดทุน

เหล่านี้คือสิ่งที่ถูกระบุ ไว้ใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งรายละเอียดที่นอกเหนือจากนี้ได้ถูกร่าง โดยคณะทำงานสำนักงาน กลต. และกำลังถูกนำเสนอเข้าคณะกรรมการ กลต. และกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาต่อไป

ประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อศึกษาอยู่ว่า การจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลควรจะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งสรุปออกมาได้ 2 แนวทาง คือให้ตัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่ที่จัดขึ้นมาใหม่ เพือ่จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะ ในลักษณะที่คล้ายกับการอนุญาตให้จัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดย เฉพาะ ในลักษณะที่คล้ายกับการอนุญาตให้ตัดตั้งบริษัทหลักทพรัพย์จัดการกองทุนรวม ส่วนอีกแนวทางคือ การได้ให้ใบอนุญาตในการประกอบธุกริจบริหารกองทุนส่วนบุคคลแก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการ กลต.จำเป็นต้องเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

ทั้งนี้แนวทางแรกมีวัตถุประสงค์เพือ่ให้เกิดความโปร่งใส จาการที่บริษัทหลักทรัพย์ โดยทั่วไปจะมี poritfolio ของตัวเอง ซึ่งหากรับบริหารพอร์ตให้แก่กอง ทุนส่วนบุคคล อีก อาจจะเกิดการขัดแย้ง ทางผลประโยชน์( conflict of interest) ระหว่างการการลงทุนของบริษัทและการลงทุนของลูกค้าโดยอาจมีการถ่ายเทผลประโยชน์ เช่นการเอาหุ้นที่มีผลกำไรดีเข้าพอร์ตตนเอง และเอาหุ้น ทีมีผลขาดทุน เข้าพอร์ตของลูกค้า

แต่ถ้าหากมองในแง่ของบริษัทหลักทรัพย์ โดยทั่วไป ว่ามีความพร้อม แล้วหรือไม่ เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ขึ้นใหม่ จะต้องมีทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้วไม่ต่ำวก่า 100 ล้าน บาทตามกฎหมาย และอาจจะมีปัญหาในเรื่องของบุคลากร เพราะบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้ มีไม่มากนัก จะเกิดการดึงคนได้ ความไม่พร้อมนี้ อาจทำให้อุตสาหกรรมนี้ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร จึงทำให้แนวทางที่สองมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน แต่จะต้องมีการวางเงื่อนไขให้แยกหน่วยงาน แยกบุคคลที่บริหารพอร์ตทั้งสอง และแยกบัญชีออก จากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันข้อครหาว่าเป็นการเอาพอร์ตของลูกค้ามาสนับสนุนพอร์ตของตนเอง

ซึ่งจากการเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ก็จะมีการส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตนี้ เช่น หากทางเลือก เป็นแนวทางแรก คงต้องมีการพิจารณาในส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องเป็นสถาบันการเงินที่ ไม่มีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิขค้าหลักทรัพย์ เนื่องจากจะเกิดปัญหาในเรื่องการขัดแย้งของผลประโยชน์ ขึ้นได้ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละฝ่าย ที่ต้องกำหนดให้ชัดเจน แต่ถ้าหากเป็นทางที่สอง คงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุน

แต่ไม่ว่า จะมีผลสรุปเช่นใด คาดว่า การบริหารงานกองทุนของกองทุน ส่วนบุคคลนี้ กลต. คงจะ ไม่เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด มากนัก เพราะถือว่าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจของคนทั้งสองกลุ่ม คือระหว่าง เจ้าของเงินและผู้รับจัดการดูแล และลักษณะของเจ้าของเงินเป็นผู้ที่มีฐานะดี และเล่นหุ้นอยู่แล้วเพียง แต่ต้องการให้ผู้เข้ามาบริหารพอร์ตให้ ซึ่งต่างจากบริหารกองทุนของกองทุนรวมที่ต้องเกี่ยวข้องกับรายย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน และต้องการผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน

ความคาดหวังว่ากองทุนส่วนบุคคลจะเป็นส่วนผลักดันให้เกิดนักลงทุนประเภทสถาบันเพิ่มขึ้นใน อนาคต หุ้นไทย เพื่อสร้างแรงซื้อแรงขายที่เต็มไปด้วยเหตุผล และอาศัยข้อมูลในการลงทุน เข้ามาต้านทานการ เก็งกำไร ที่มีข่าวลือเป็นพื้นฐานในการลงทุน ซึ่งเป็นแรงหนุนอย่างมาก ในปัจจุบัน นับเป็นความพยายามที่ สร้างสรรค์ แต่จะสามารถประสบผลสำเร็จตามที่หวังได้หรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีคำตอบ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.