เมื่อสิบปีก่อน สินค้าประเภท กุนเชียง หมูหยอง เป็นสินค้าที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดสด
ทั่ว ๆ ไป และอยู่ในมืออาเจ๊ก อาแป๊ะ อาม่า อาหมวย อาตี๋ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นสินค้า
ผู้บริโภคทุกครัวเรือน มักซื้อหาติดบ้านไว้เป็นประจำ เพราะความต้องการของบริโภค
เช่นนี้ทำให้ ตลาดกุนเชียง หมูหยอง มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นสูงเรื่อย ๆ จากสิบกว่าล้าน
ในช่วงเริ่มต้น เป็นหลายร้อยล้านบาทเลยทีเดียว
นอกจากความต้องการที่ เพิ่มขึ้น ของผู้บริโภคที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ให้ตลาดนี้ขยายตัว
อีกปัจจัยหนึ่ง ก็คือการพัฒนาปรับตัวของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้
การผลิตกุนเชียง หมูหยอง ในอดีตเริ่มต้น จากอุตสาหกรรม การค้าเจริญมากขึ้น
จากการผลิตภายใน ครอบครัว ก็เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ส่งสินค้า ไปขายตามท้องตลาดทั่วไป จนถึงระดับขึ้นห้างสรรพสินค้า พร้อมการพัฒนาถึงขั้นส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศในย่านที่มีคนจีนและคนไทยอาศัยอยู่
ส.ขอนแก่น นับเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาสินค้าในแนวทางนี้ ปัจจุบัน ส.ขอนแก่น
มียอดขาย 270 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปี 36 นี้จะสามารถ เพิ่มยอดขายเป็น 320 ล้านบาท
ซึ่งยอดขายดังกล่าวนี้มาจาการทำตลาดที่แบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือ รายได้ 7%
หรือมูลค่า 20 ล้านบาท มาจากช่องทางตลาด อุตสาหกรรมร้านอาหาร ส่วนที่เหลือ
93%เมื่อมูลค่า 300 ล้านบาท มาจากตลาดบริโภค ทั่วไป( consumer) ซึ่งช่องทางจำหน่ายที่ใหญ่
ๆ คือ แมคโครและซุปเปอร์มาร์เก็ต ทุกแห่ง
ต้นแบบของการขยายตัวขึ้นมา ในระดับนี้ ของ ส. แขนแก่น ก็คือ ซีพี
เจริญ รุจิราโสภณ ประธานกรรมการบริษัท อุตสาหกรรม ส. แขนแก่น จำกัด เล่า
ให้" ผู้จัดการ" ฟังว่า ความคิดริเริ่มที่ได้ทำการผลิตสินค้าสินค้าประเภทนี้
ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป ขนาดใหญ่ เช่นนี้ในปัจจุบัน เขาเรียนรู้มาจากประสบการร์เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ใน"
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์" ที่ผลิตไส้กรอกเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจริญยอมรับว่า
เขาเรียนรู้วิธีการและระบบหลายอย่างมาจากที่นี่ และนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้กับสินค้า
ของตนเอง
ในขณะที่เจริญ ทำงานอยู่ในซีพี เจริญได้สร้างความหวังให้กับตนเองว่า สักวันหนึ่งจะก้าวมาอยู่ในตำแหน่งของเถ้าแก่
มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตนเองเหมือนเช่นที่เถ้าแก่ ของซีพี อยู่ในขณะนั้นและถึงแม้สินค้าของเจาจะเป็นเพียงสินค้าชาวบ้านธรรมดาซึ่งเทียบกับไส้กรอกไม่ได้
แต่ก็จะต้องพัฒนาสินค้า ของตนเอง ให้ก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ให้ได้อย่างไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว
ความคิดเช่นนี้ ไม่ใช่เจริญคิดทางรัศมีซีพี ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรม
การเกษตร เพียงแต่ต้องการการยึดการเติบโตของซีพี ไว้เป็นต้น แบบของเขาเท่านั้น
ณ วันนี้ ส. แขนแก่น มีบริษัท ในเครือ ถึง 20 บริษัทและจะเพิ่มขึ้นเป็น
24 บริษัท ภายในปี นี้ขณะเดียวกัน บริษัทแม่ คือบริษัท อุตสาหกรรม ส. ขอนแก่น
ก็ได้รับอนุมัติให้เป็นบริษัท ในตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
แผนการของเจริญในการระดมทุน จากตลาดหลักทรัพย์ ก็เพื่อพัมนาธุกริจของ ส.
ขอนแก่น ให้เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรแบบครบวงจร โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการวัตถุดิบ
ปัจจุบัน ส. ขอนแก่น ยังไม่มีวัตถุดิบ เป็นของตนเอง ตั้งสั่งซื้อจากเล้าหมูทั่ว
ไป ซึ่งวันหนึ่ง ๆ การผลิตกุนเชียง และหมูหยอง จะต้องใช้ หมูจำนวน 200 ตัว
ในการผลิต แต่ ฟาร์มหมูของ ส. ขอนแก่น ที่เพิ่งเลี้ยงหมู มีเพียง 70 ตัวเท่านั้น
ดังนั้น แผนขั้นแรก หลังระดมทุน มาได้คือ การสร้างฟาร์ม เลี้ยงหมู ที่แก่งคอย
จังหวัดสระบุรี เลี้ยงหมูบนพื้นที่ 300 ไร่ ใช้เงินลงทุน 70 ล้านบาท จะสามารถเลี้ยงหมูได้
จำนวน 1 ใน 4 ของจำนวน ที่ใช้ผลิตต่อวันเท่านั้น หากต้องการขยายฟาร์ม ให้เพียงพอต่อความต้องการผลิตจะต้องระดมทุนเพิ่ม
คาดว่า ภายใน 1 ปี สามารถขยาย การเลี้ยงหมูเพื่อเป็นวัตถุดิบ ให้เพียงพอต่อการผลิตโดยไม่ต้องสั่งซื้อจากภายนอก
ซึ่งจะต้องลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น
โครงการใช้เงินเพิ่มทุน อีกโครงการหนึ่ง ก็คือ การสร้าง สำนักงานใหญ่ มูลค่า
30 ล้านบาท ที่ปากซอยสุขุมวิท 71
และแผนการใหญ่ก็คือ การขยายตลาดด้วยการยกระดับสินค้าประเภทหมูหยอง ใหเป็นของกินเล่น
หรือกับแกล้มสำหรับคอสุรา รวมทั้งการส่งออกไปยังต่างประเทศ
ความหวังของเจริญ มิได้หยุดอยู่ที่การสร้างอุตสาหกรรม การแปรรูปของ ส.
ขอนแก่น ให้ครบวงจร เพียงแค่หมูหยอง และกุนเชียง เท่านั้น เขายังมีความหวังที่จะบุกตลาดในสินค้าอื่น
ๆ เช่นการทำฟาสท์ฟู้ด ประเภทข้างเหนียว ส้มตำ หรือ การส่งออกผลไม้ สด และการแปรรูปไปยังต่างประเทศ
รวมทั้งการบุกเข้าไปตั้งโรงงานทำลูกชิ้นในเวียดนามอีกด้วย