"ล็อกซ์บิท" งานถนัดของพัลลภ นาคพิทักษ์


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2536)



กลับสู่หน้าหลัก

ล็อกซเลย์ บิสสิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี ( Loxbit) เป็นบริษัทน้องใหม่ในกลุ่มล็อกซเล่ย์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเจาะตลาดไฮเทค ธนาคารโดยเฉพาะ มีพัลลภ นาคพิทักษ์ อดีตผู้จัดการตลาดการเงินและธนาคารของไอบีเอ็ม ซึ่งลาออกจากไอบีเอ็ม ในยุคสมองไหล เมื่อ ปีก่อน และมาร่วมมงานกับล็อกซเลย์ ในบริษัทฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่น( ประเทศไทย) เป็นกรรมการผู้จัดการ

ล็อกซบิท เกิดจากการร่วมกันของบริษัทฮัชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่นส์ เข้ากับบริษัทซิสเต็ม ออกาไนเซชั่น มี ทุนจดทะเบียน ทั้งสิ้น 5 ล้านบาท กลุ่มล็อกซเล่ย์ ถือหุ้น 100%

การเกิดขึ้นของล็อกซบิท และบริษัทใหม่ๆ ในกลุ่มล็อกซเล่ย์ เช่นบริษัท เทเลโฟน อีควีปเม้นทท์ แอนด์ แอคเซนส์ซอรี่ส์ หรือทีอีเอ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดโครงสร้างกลุ่มใหม่ของล็อกซเล่ย์ เพราะบริษัทๆ กำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างกล่มเพื่อยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี บงล. ภัทรธนกิจ เป็นที่ปรึกษาจัดโครงสร้างอยู่ในเวลานี้

ธงชัย ล่ำซำ อธิบายตรงนี้ว่า เป็นความพยายาม ที่จะรวมธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และมีอนาคตในเชิงธุรกิจที่ดีเข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้มีขอบข่ายการดำเนินงานที่ชัดเจนใน อุตสาหกรรมนั้น ๆ

พัลลภ เปิดเผยกับ " ผู้จัดการ" ว่า" บริษัทล็อกซเล่ย์ ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น จะหายไป แต่งานทั้งหมด ของบริษัท นี้จะมารวมที่ล็อกซบิท และฮัทชิสัน จะกลายเป็นแผนกหนึ่งในบริษัทใหม่แห่งนี้"

ทั้งนี้ มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เป็นเพราะการขยายตัวของฮัทชิสัน ในไทย และอินโดจีน ไม่ประสบควมสำเร็จหรือไม่ อัทชิสัน จึงลดบทบาทในตลาดแถบนี้ พัลลภ กล่าวว่า"

บทบาทของฮัทชิสันในบริษัทเก่าก็จะมาเป็นแผนกโครงการพิเศษในล็อกซบิท ฮัทชิสันยังสนใจในเรื่องอินโดจีน หากทางล็อกซเล่ย์มีโครงการอะไรที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม ก็อาจจะชวนว่า เขาสนใจไหม หากฮัทชิสันสนใจ ก็อาจจะมาตั้งเป็นโครงการร่วมทุนขึ้นมา"

นั่นเท่ากับฮัทชิสัน ลดขอบข่ายการทำธุรกิจลงโดยสิ้นเชิง

ล็อกซบิท ทำธุรกิจไฮเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมธนาคารโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นงานที่พัลลภ มีประสบการณ์อย่างช่ำชอง มาจากไอบีเอ็ม เขาอยู่ไอบีเอ็มมา 12 ปี ดูแลตลาดนี้มา โดยตลอด เครื่อง ATM ของไอบีเอ็มนั้น เขาก็เป็นคนเอาเข้ามาเป็นคนแรกที่ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมกับบรรณาวิทย์ บุญญรัตน์

การโยกย้ายมาเป็นหัวเรือ ใหญ่ของล็อกเซบิท จึงเป็นการกลับสู่ตลาดเก่าที่เจ้าตัวมีความชัดเจนเป็นแต้มต่อสำคัญ

สินค้าที่พัลลภตั้งใจจะวางขายในตลาดนี้ ได้แก่เครื่องนับแบงก์ เครื่องดูแบงก์ปลอม ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ราคาตัวละ 20-30 ล้านบาท และเครื่องมืออีกมากมาย ที่จะใช้ในงานทั้ง Back และ Front office พัลลภ มองว่า ยังมี aplication อีกมากมายหลายอย่างในงานธนาคาร ที่ยังไม่มีการนำมาใช้ ดยเฉพาะในส่วนงานแบ็คออฟฟิค

" ไฮ-เทคดนดลยี ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมธนาคารในเวลานี้ มีเพียง 50% เท่านั้น และส่วนมากจะใช้ในฟร้อนออฟฟิค เพราะการแข่งขันอยู่ที่ส่วนนี้ แต่ผมคิดว่า ก็ยังทำกันไม่ครบวงจรจริง ๆ หากจะทำให้ครบวงจร ของธนาคารไฮ-เทค แล้ว ต้องใช้เวลา อี ก5-10 ปี" พัลภ กล่าว

ในส่วนของธุรกิจที่เกี่ยวกับระบบ DDP หรอื Distribution Data processing นั้น จะมีการขายเครื่อง PC ด้วย ซึ่ง พัลลภ เปิดเผย ว่า " กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาว่าจะขายของใคร แต่ส่วนที่เป็นเครื่องนับแบงก์นั้น ผมขายของบริษัท Recognition Equipment in CorportateW

ต่อไปล็อกซเล่ย์ จะเป็นผู้ขายเครื่องพีซีรายใหญ่เพราะพัลลภ มองว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในเวลานี้ จะมีการใช้เครื่องขนาดเล็กมากกว่าเครื่องเมนเฟรม โดยมีเหตุผลสนับสนุนหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของราคาความสามารถของเครื่องและแนวโน้มของธุรกิจเองที่มีการกระจายอำนาจการ บริหารแก่สาขามากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าอำนาจของการบริหารข้อมูลก็ต้องถูกกระจายลงไปด้วย

นอกจากฮาร์ดแวร์ แล้ว ล็อกซบิท ยังจะขายซอฟท์แวร์ ด้วย ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของการพัฒนาขึ้นเอง หรือร่วมพัฒนากับบริษัทต่างชาติ

พัลลภฝันว่า จะมีสินค้าที่ลงทุนเพราะคนชื่อพัลลภ ซึ่งมีประสบการณ์ตลาดไฮ-เทคฯ ธนาคารจากไอบีเอ็ม เป็นเครื่องหมายรับประกันความอุ่นใจ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.