DHL เพิ่มบริการ supply chain management แก่ธุรกิจส่งออกไทย


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ส่งออกไทย จากบริการเป็นที่ปรึกษาระบบ Supply Chain Management ในส่วนของ International Logistic

ปัจจุบันไม่เพียงแต่การค้าและการบริหารขององค์กรธุรกิจที่ค้าขายกันอยู่ภายในประเทศจะ เปลี่ยนไปเท่านั้น หากรูปแบบการค้าระหว่างประเทศของไทยกำลังจะเปลี่ยนโฉมใหม

ด้วย

ภาคธุรกิจส่งออกของไทย ถือเป็นความหวังหลักที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ซึ่งถ้าผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกของไทย ไม่มีการปรับตัวให้เข้าสู่โลกของการค้าในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่นับวันจะมีบทบาทมากขึ้น คงยากที่จะเห็นภาพที่สดใสของเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง

Supply Chain ถือเป็นกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญ เปรียบเสมือนหัวใจที่เชื่อมระหว่างผู้ผลิตและลูกค้า ซึ่งบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลาย ในช่วงที่ผ่านมาต้องสูญเสียทั้งเม็ดเงิน, กำลังคน และเวลาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการในส่วนนี้ไปอย่างเกินความจำเป็น ดังนั้นถึงเวลา แล้วที่ผู้ประกอบการควรหันมาคำนวณต้นทุนในเรื่องของ Supply Chain ว่าอย่างใดมีความคุ้มค่ามากกว่ากันระหว่าง การบริหารเองกับการให้มืออาชีพมาเป็นผู้บริหารให้ แล้วเอาทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งคน-เงิน-เวลามาใส่ใจกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกระบวนการผลิตและบริหารงานอย่างจริงจัง

ตลอดระยะเวลาที่ DHL เข้ามาให้บริการในประเทศไทย มุ่งเน้นแต่บริการในส่วนของ International Ex-press เท่านั้นทั้งๆ ที่ DHL ในต่างประเทศมีบริการที่หลากหลายมากกว่านั้น ฉะนั้นนับจากนี้ไป DHL ประเทศไทยจะมีทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ส่งออกไทย ด้วยบริการเป็นที่ปรึกษาในเรื่องของ

ระบบ Supply Chain Management โดยเฉพาะในส่วนของ International Logistic

"เราขอเน้นในส่วนของ International Logistic เพราะเป็นสิ่งที่เราชำนาญมากที่สุด ส่วนเรื่องภายในประเทศอาจจะเป็นขั้นตอน (step) ต่อไปในอนาคต" ดร.ดอน ภาสะวณิช Country Manager คนล่าสุดของ DHL ประเทศไทย ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเพียง 9 เดือนเท่านั้น และเป็นผู้ที่ริเริ่มเอาโซลูชั่นดังกล่าวมาให้บริการกับผู้ส่งออกไทย กล่าวพร้อมยกตัวอย่างอธิบาย ถึงกระบวนการทำงานของ DHL ในส่วนนี้ว่า

"...สมมติ มีโรงงาน 1 แห่ง เมื่อผลิตสินค้าเสร็จ ก็ต้องนำสินค้าไปเก็บไว้ที่โกดัง (Warehouse) ของโรงงาน วันดีคืนดีก็มีพ่อค้าคนกลางมาสั่งของแล้วส่งต่อไปยังต่างประเทศ ซึ่งก็ต้องจ้างบริษัทขนส่งเพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศนั้นๆ และสินค้าก็ต้องไปอยู่ใน

โกดังอีกแห่งเพื่อรอให้ตัวแทนจำหน่ายส่งต่อให้ลูกค้าปลายทางอีกทอดหนึ่ง... DHL ก็อยากจะเข้าไปทดแทนกระบวนการเหล่านั้น โดยแทนที่จะต้องมีพ่อค้าคนกลาง ต้องมีโกดังหลายๆ แห่งก็ตัดออกให้หมด เมื่อโรงงานผลิตสินค้าเสร็จก็ส่งให้ DHL ซึ่ง DHL มีโกดังอยู่ทั่วโลก มีระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่สามารถรายงานข้อมูลได้ว่า หากสินค้าถูกดึงออกไปเท่านี้ โรงงานจะต้องผลิตเพิ่มอีกเท่าไร โดยที่ผู้ประกอบ การไม่ต้องลงทุนเอง และสามารถทุ่มเทในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิต (R&D) และการตลาดได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น amazon.com เขาทำหน้าที่อย่างเดียวคือ ดูแลเรื่องของการตลาดว่าลูกค้าต้องการหนังสืออะไร และต้องพิมพ์ให้ทัน ส่วนเรื่องอื่นยกให้ DHL จัดการทั้งหมดนี่คือบริการที่เราอยากจะทำให้กับผู้ส่งออกในประเทศไทย"

สำหรับแผนการทำงานในเบื้องต้นของ DHL คือต้องเร่งเพิ่มอัตรากำลังคนเพื่อรองรับบริการนี้ โดยมีแผนจะรับพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 10% ของพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 600 คน นับว่าเป็นเรื่องที่สวนกระแสทีเดียว

"ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่ที่รับเข้ามาจะเป็นวิศวกร เนื่องจากในเรื่องนี้ต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโรงงานกระบวนการผลิตและสามารถอธิบาย ความสำคัญของระบบ Supply Chain Management ให้แก่ผู้ประกอบการได้ ส่วนเรื่องการขายสามารถอบรมกันได้คือ ต่อจากนี้พนักงานขายของเราจะต้องแปลงสภาพเป็น Solution Provider ด้วย ไม่ใช่ขายของเพียงอย่างเดียว" ดร.ดอนชี้แจง

นอกจากนั้น ดร.ดอนเผยว่า DHL มีแผนที่จะสร้าง Express Logistic Center ในประเทศไทยด้วย โดยเป็นความพยายามที่จะดึงศูนย์กลางจากสิงคโปร์หรือฮ่องกงมาไว้ที่ประเทศไทย ขณะเดียวกันก็จะมี Strategic Part Center เป็นจุด ย่อยไปตามภูมิภาคที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น

"ผมว่าเราน่าจะแข่งกับสิงคโปร์ได้ เพราะต้นทุนเราถูกกว่ามาก แต่ภาพ

พจน์ของประเทศเรายังไม่เป็นที่ไว้วางใจของชาวต่างชาติ เขาจึงยังไม่กล้ามาลงทุนดังนั้นเราต้องช่วยกันพิสูจน์ว่าประเทศไทยมีศักยภาพจริง"

ส่วนในเรื่องของเทคโนโลยี ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ DHL ประเทศไทย เนื่องจาก บริษัทฯ มีศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอยู่ที่มาเลเซีย ซึ่งใกล้กับประเทศไทยมากและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่

"กล่าวได้ว่าเราสามารถให้บริการได้ทันทีเลยในเรื่องของเทคโนโลยี โดยไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะในส่วนของซอฟต์แวร์ด้านการบริหารสินค้าคงคลังที่เรามีพร้อมสมบูรณ์อยู่แล้ว ซึ่งเรารับประกันได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตอย่างแน่นอน"

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในระยะแรกนี้จะเน้นที่กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ ซึ่งในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เรื่องของ Supply Chain เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากหากมีความผิดพลาดในเรื่องของการจัดส่งของแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก ซึ่งในประเด็นนี้ "เวลา" ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหากผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งของได้ทันเวลา โอกาสก็จะเป็นของคู่แข่งไปอย่างน่าเสียดาย

ทั้งหมดนี้เป็นแผนงานที่ DHL ประเทศไทยประกาศจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีค.ศ.2000 เป็นต้นไป ซึ่งนับว่าเป็นกำลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาระบบการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ส่งออกไทย อันจะก้าวไปสู่โลกการค้าในยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจของผู้ประกอบการเองด้วยเป็นสำคัญ

"แต่ก่อนเรื่องสินค้าคงคลัง และเรื่องเวลา ไม่ใช่เรื่องใหญ่ของประเทศไทย ในขณะที่ต่างประเทศเขาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่สำคัญทีเดียว ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าพวกเขาพร้อมแล้วหรือยัง" เป็นความรู้สึกของดร.ดอน ผู้บริหารหนุ่มที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศยาวนานถึง 30 ปี



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.