กระแสความตื่นตัวในเรื่องของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หรือการค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในปัจจุบัน
ต่ละองค์กรเริ่มมีการปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
องค์กรขนาดใหญ่
มักจะมีความได้เปรียบในแง่ของเงินทุนและเทคโนโลยี ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กต้องพยายามประคองตัวเองให้อยู่รอดในภาวะวิกฤติเช่นนี้ไปก่อน
มากกว่าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงเพื่อความแข็งแกร่งในอนาคตทั้งๆ ที่องค์กรขนาดเล็ก
ซึ่งรวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กด้วยนั้น ถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
แนวคิดเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ดีขึ้นเร็วขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลง
หรือที่เรียกว่า ECR : Efficient Consumer Response จึงเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของอุตสาหกรรมค้าปลีกของไทย
โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการศึกษาหาแนวทาง ที่จะมาใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับสมาชิกที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยแยกออกเป็น
3 ส่วนด้วยกันคือ การจัดการด้านอุปสงค์ (Demand Management) การ จัดการด้านอุปทาน
(Supply Manage-ment) และการพัฒนา และประยุกต์เทคโนโลยี (Enabling Technology)
โดยมีหลักการทำงานที่เริ่มจากการบริหารงาน ด้านความต้องการของผู้บริโภคเป็นอันดับแรกแล้วย้อนกลับไปหาผู้ค้าปลีก
ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายพร้อมทั้งตัดขั้นตอนการจัดส่งสินค้าที่ไม่จำเป็นออกไป
เช่น สินค้าคงคลัง (Inventory) และ สินค้าที่พลาดการขาย (Missed Sales) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในวงจำกัดแค่ผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น
ยังไม่ลงไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก
พิสุทธิ์ พิหเคนทร์ และ ปรีชา เวชสุภาพร สองสหายผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจค้าปลีกของเมืองไทยมานานร่วม
20 ปี เริ่มจากร่วมกันก่อตั้งห้างสรรพสินค้าไทยไดมารูกับพันธมิตรญี่ปุ่น
จากนั้นก็แยกตัวออกมาให้กำเนิดโรบินสัน กระทั่งปัจจุบันก็ได้กลับไปเป็นเจ้า
ของไทยไดมารูอีกครั้ง หลังจากที่ญี่ปุ่น ขอถอนทุนกลับแดนอาทิตย์อุทัย
ทั้งสองได้มองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจจากแนวคิด ECR ที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลักจึงเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัท
วินสโตร์ จำกัด ขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านการบริหาร กระบวนการจัดซื้อ และส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้กระบวนการ ECR เพื่อมุ่งตอบสนองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพแก่ร้านค้าปลีกและร้านค้าสะดวกซื้อทั่วประเทศ
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของวินสโตร์คือ ผู้ประกอบการค้าปลีกผู้ผลิตผู้จัดจำหน่ายขนาดกลาง
และขนาดเล็ก (SME)
ปรีชา เวชสุภาพร รองประธานกรรมการบริหารบริษัท วินสโตร์ เล่าในฐานะ
ตัวแทนของบริษัทฯ ว่าจากประสบการณ์ที่มีอยู่ในธุรกิจค้าปลีกมานานพบว่า กระบวนการจัดส่งสินค้าเป็นภาระที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผลิตภัณฑ์
ซึ่งภาระนี้จะตกแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งผู้บริโภคด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจึงพยายามหาวิธี
ีที่จะบริหารกระบวนการจัดส่งสินค้าหรือ Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่มักจะได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก
ทั้งยอดขาย, ศักยภาพด้านการบริหารรวมทั้งข้อมูลการซื้อการขาย และความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยเม็ดเงินและเทคโนโลยี
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กจะแข่งขันได้นั้นจึงแทบจะมองไม่เห็นโอกาส
"การบริหารการจัดส่งสินค้าเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ
SME ที่ด้อยทั้งในเรื่องของศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี ประสบการณ์และขนาด ฉะนั้นผมและคุณพิสุทธิ์มองว่าถ้าเราสามารถที่จะหาพาร์ตเนอร์มาร่วมให้บริการแก่ร้านค้าเหล่านี้
ก็น่าจะช่วยให้ร้านค้าเหล่านี้อยู่รอดต่อไปได้เราจึงวางระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่ธุรกิจ
SME ภายใต้คอนเซ็ปต์ ECR แต่มิได้หมายความว่าเราจะไม่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ด้วย
เพียงแต่เราคิดว่ารายใหญ่ยังพอที่จะมีศักยภาพมากกว่าพวก SME"
บริการของวินสโตร์ประกอบด้วยบริการด้านข้อมูลผ่านระบบบาร์โค้ด, บริการด้านเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์,
บริการโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, กระบวนการสั่งซื้ออัตโนมัติ,
คลังสินค้าสำหรับสินค้าทุกอุณหภูมิ และประกันการจัดส่งสินค้าทั่วกรุงเทพฯ
และปริมณฑลภาย ใน 24 ชม.และภายใน 36 ชม.สำหรับต่างจังหวัด
กระบวนการทำงานของวินสโตร ์จะเริ่มตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ เช่น เครื่องบันทึกการขาย
(POS) เครื่องอ่านบาร์โค้ด และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ รวมไปถึงการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต พร้อมจัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมให้ด้วย
ซึ่งบริการทั้งหมดนี้วินสโตร์ไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง หากยังมีพันธมิตรรายใหญ่ที่จับมือกันมาร่วมสร้างฝันให้เป็นจริงอีกหลายราย
ได้แก่
บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และระบบการสื่อสารทั้งหมด
บริษัท ออราเคิลซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่าย และให้บริการซอฟต์แวร์ระบบบริหารฐานข้อมูลอันดับ
1 ของโลกรวมทั้งเป็นผู้นำทางด้านซอฟต์ แวร์ระบบต่างๆ สำหรับธุรกิจ E-Business
เป็นผู้รับผิดชอบด้านซอฟต์แวร์
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด รับผิดชอบด้านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต และการพัฒนา Webpage
บริษัท เดวิดส์ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบเรื่องคลังสินค้าและการกระจายสินค้า
ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบเรื่องการชำระเงินในระบบ
Supply Chain Management โดยมีบริการบริหารเงินสด (Cash Management), บริการสินเชื่อ
และบริการโอนเงินอัตโนมัติที่พร้อมให้บริการได้ทั่วประเทศ รวมไปถึงนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Internet Banking, การให้บริการ E-Commerce เป็นต้น
บริษัท ไอริส-ไอเฟค จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความชำนาญด้านการออกแบบ
พัฒนา และติดตั้งระบบ Enterprise Resource Planning (ERP), ระบบ Supply Chain
Management และระบบ E-Business
ซึ่งเทคโนโลยีของพันธมิตรแต่ละรายมีศักยภาพพร้อมให้บริการอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มอีก
และลูกค้าของวินสโตร์ก็จะเป็นผู้เข้าไปใช้บริการเหล่านั้นที่มีอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดที่สุด
และเมื่อระบบทุกอย่างติดตั้งและเชื่อมต่อกันเรียบร้อยแล้ว ปรีชาอธิบายว่า
กระบวนการสั่งซื้อของร้านค้าปลีกและร้านค้าสะดวกซื้อเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
ข้อมูลการขายของร้านค้าทั่วประเทศที่บันทึกผ่านเครื่องบันทึกการขาย จะถูกส่งไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
และเข้าสู่การประมวลผลส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจากระบบประมวลผลนี้ทั้งวินสโตร์,
เจ้าของร้านค้า, เจ้าของสินค้า ก็จะสามารถรับทราบความต้องการสินค้าแต่ละรายการได้พร้อมกัน
และเมื่อระบบประมวลผลรวบรวมความต้อง การสินค้าของแต่ละร้านค้าได้ในระดับที่จะต้องสั่งสินค้าเหล่านั้น
ระบบประมวลผลก็จะออกใบสั่งซื้อสินค้าอัตโนมัติให้กับ ร้านค้า (Automated
Store Ordering) ไปยังศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และภายใน 24 ชม.ของจะส่งถึงมือร้านค้าในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล และภายใน 36 ชม.ของจะถึงมือร้านค้าทั่วประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ร้านค้าได้รับสินค้าปริมาณและเวลา
ที่ต้องการ
ขณะเดียวกันการสั่งสินค้าจากผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายเข้าสู่ศูนย์กระจายสินค้า
ระบบประมวลผลก็จะรวบรวมความต้องการสินค้าแต่ละราย การจนได้ระดับที่เรียกว่า
"ประหยัดได้ด้วยปริมาณการสั่งซื้อ" (Economy of Scale) ระบบประมวลผลก็จะออกใบสั่งซื้อสินค้าอัตโนมัติไปยังระบบคอม
พิวเตอร์ของผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต หรือสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แม้แต่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายบางราย
หากยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ วินสโตร์ สามารถกำหนดให้เป็นการสั่งซื้อทางแฟกซ์ได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย
และภายในระยะเวลาที่กำหนด สินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายก็จะถูกส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าซึ่ง
ณ เวลาดังกล่าว ศูนย์กระจายสินค้าจะได้รับข้อมูลล่วงหน้าซึ่งพร้อมที่จะรับสินค้าทันที
"ประหยัดได้ด้วยปริมาณการสั่งซื้อหรือการสั่งซื้อของชนิดเดียวกันในปริมาณมากๆ
จะทำให้ราคาถูกลงซึ่งวินสโตร์จะส่งสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกในราคาจริงที่ได้จากผู้ผลิต
หรือผู้จัดจำหน่ายโดยวินสโตร์จะไม่บวกกำไร เพราะวินสโตร์ไม่ใช่ผู้ค้าส่ง
แต่วินสโตร์จะได้ค่าบริการจากการเป็นผู้บริหารกระบวนการจัดซื้อและส่งสินค้าตามกระบวนการ
ECR" ปรีชาชี้แจง
สำหรับวิธีการประหยัดต้นทุนของการสั่งซื้อและส่งสินค้า ปรีชาชี้แจงว่าสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ
การ สั่งสินค้าให้ได้ปริมาณเต็มคันรถ, การสั่งซื้อสินค้าโดยไม่ต้องบรรจุหีบ
แต่ห่อหุ้มด้วยพลาสติกแทน เพื่อลดพื้นที่ในการบรรทุก, การสั่งซื้อสินค้าโดยการ
ไปรับสินค้าเองจากโรงงานผู้ผลิต หรือการให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายส่งสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้าเอง
โดยไม่ต้องรอใบสั่งซื้อสินค้า
ส่วนการชำระค่าสินค้านั้นจะเป็น ไปอย่างอัตโนมัติ โดยทุกครั้งที่มีการส่งและรับสินค้า
เอกสารการตอบรับจะถูกบันทึกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และพร้อมที่จะสั่งจ่ายผ่านธนาคารด้วยระบบ
โอนเงินอัตโนมัติ (Electronic Fund Transfer) ตามเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องทวงถาม
หรือวางบิลเพื่อตรวจสอบเอกสารการสั่งจ่ายอีก โดยธนาคารจะมีระบบแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
พร้อมส่งรายการบัญชีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นร้านค้า ผู้ผลิต
และผู้จัดจำหน่ายยังสามารถรับบริการที่ทันสมัยอื่นๆ จากธนาคารผ่านเครือข่ายอิน
เตอร์เน็ตได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นวงจรที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ของวงการ
ค้าปลีกของเมืองไทย อันจะเป็นประ-โยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เริ่มจาก
ผู้บริโภคจะสามารถซื้อสินค้าที่สดใหม่และครบครันหลากหลายมากขึ้นในราคา ถูกลงกว่าเดิม
ส่วนร้านค้าปลีกเองจะมีสินค้าครบครันอยู่เสมอ จากกระบวนการสั่งซื้ออัตโนมัติ
ซึ่งจะช่วยลดภาระเรื่องสินค้าคงคลัง ได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ นอกจากนั้นการที่รับทราบข้อมูลของร้านและผู้บริโภคผ่านระบบบาร์โค้ด
อยู่ตลอดเวลาทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ได้ทันเหตุการณ์สามารถลดความสูญเสียโอกาส
ทางธุรกิจได้มาก อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย และช่วยเพิ่มยอดขายและผลกำไรให้แก่ร้านค้าได้มากขึ้น
ส่วนในฝั่งของผู้ผลิลจะได้รับข้อมูลการขายที่เป็นไปตามจริงไม่ใช่เพียงแค่การคาดเดา
ทำให้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตและการส่งเสริมการขายสินค้าได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ผลิตในการกระจายสินค้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงในเวลาที่รวดเร็ว
ผ่านศูนย์กระจายสินค้าที่มีอยู่ทั่วภูมิภาค
ร้านค้าสะดวกซื้อ 1,000 สาขา
ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งประเทศไทยมีอยู่ประมาณ
300,000 ราย แบ่งเป็นส่วนที่เป็นร้านค้าสะดวกซื้อสมัยใหม่ หรือ Modern Trade
หรือ Modern Grocery Convenience Store จริงๆ เพียง 1% คือประมาณ 3,000 รายส่วนที่เหลือยังคงเป็นร้านโชวห่วยแบบดั้งเดิม
(Traditional Trade) ดังนั้นยังมีช่องว่างอีกมากที่จะเป็นโอกาสให้วินสโตร์และพันธมิตรเข้าไปพัฒนา
ตัวเลข 1,000 รายจาก 3,000 ราย ของร้านค้าสะดวกซื้อ จึงเป็นเป้าหมายในปีแรกของวินสโตร์และพันธมิตร
โดยขณะนี้มีผู้ตัดสินใจเข้าใช้บริการของวินสโตร์ แล้วประมาณ 50% ประกอบด้วยร้านค้าสะดวกซื้อในปั๊มปตท.
และปั๊มบางจากที่มีอยู่รวมกันกว่า 500 รายทั่วประเทศ ยังไม่รวมเชนปั๊มน้ำมันที่เป็นลูกค้าของเดวิดส์
ดิสทริบิวชั่นอีก ซึ่งอนาคตคาดว่าจะเข้ามาใช้บริการเช่นเดียวกัน
"ผมคิดว่าในอนาคตร้านค้าสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน จะมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของคน
ซึ่งอาจจะขยายบริการมากขึ้น เช่น มีบริการไปรษณีย์ หรือ บริการรับชำระค่าบริการ
สาธารณูปโภค มีตู้เอทีเอ็ม หรือแม้กระทั่งบริการซักแห้ง ล้วนแต่มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น
เพราะปั๊มน้ำมันเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่คนจะแวะเข้าไป แถมไม่ต้องกังวลกับการหาที่จอดรถด้วย"
เป็นความเห็นของผู้บริหารวินสโตร์
สำหรับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ร้านค้าปลีกจะต้องลงทุนเพิ่ม สำหรับร้านที่ยังไม่มีอุปกรณ์ใดๆ
เลยจะอยู่ที่ประมาณร้านละ 100,000 บาท ส่วนร้านที่มีอุปกรณ์อยู่แล้ว แต่ต้องมีการ
Up Date ให้ทันสมัย ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงไปกว่า 100,000 บาท ซึ่งการลงทุนในส่วนนี้ทาง
IBM มีโปรแกรมเช่าซื้อระยะยาว (Leasing) ให้ด้วย และนอกจากนั้นยังมีบริการทางด้านการเงินที่ธนาคารพันธมิตรของวินสโตร์เตรียมไว้ให้บริการแก่
SME เหล่านี้ด้วย เช่น ระบบโอนเงินอัตโนมัติ, การให้วงเงินสินเชื่อกับร้านค้าปลีกตามศักยภาพของผู้ประกอบการนั้นๆ
เป็นต้น
ส่วนฝั่งของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย วินสโตร์ยังมีบริการทางด้านการเงินให้ด้วยคือบริการ
SME Financing หรือระบบการซื้อด้วยเงินสด เพื่อช่วยบริหารเงินสดแก่ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย
"ปัญหาหลักของ SME ตอนนี้คือการหมุนเงินซึ่งถ้าเป็นในระบบเดิมผู้ผลิต
ผู้จัดจำหน่ายต้องไปกู้เงินมาเพื่อผลิตสินค้า เพื่อนำมาขายและต้องตามเรียกเก็บเงินเอง
แต่ในปัจจุบันเราจะเป็นผู้ช่วยเขาโดยแบงก์พันธมิตร เราจะเป็นผู้พิจารณาวงเงินสินเชื่อให้และเมื่อเขาขายสินค้าให้เรา
เราจะจ่ายเงินสดให้เขาทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องมีภาระเรื่องการบริหารเงินอีกต่อไป"
ปรีชาอธิบาย
"ประเด็นสำคัญที่สุดที่เราสามารถให้คำมั่นสัญญากับลูกค้าของเราทั้งผู้ผลิต
ผู้จัดจำหน่ายไปจนถึงร้านค้าทั้งหลายคือ ต้นทุนสินค้าจะต้องลดลงอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ต้องทำภายใต้กระบวนการ ECR ซึ่งหมายความว่าเราจะบริหารกระบวนการจัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดส่งสินค้าด้วยวิธีนี้จะต้องคุ้มกับสิ่งที่จะประหยัดได้"
ทั้งหมดนี้คือหลักการและเป้าหมายในการทำงานของวินโตร์และพันธมิตร ส่วนกรณีของราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจะลดลงหรือไม่นั้น
ปรีชา ให้ความเห็นว่า
"ต้นทุนของผู้ผลิตและต้นทุนของร้านค้าปลีกจะต้องถูกลงก่อน จึงจะส่งผลต่อราคาหน้าร้านให้ลดลงไปด้วยแต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ว่าร้านค้านั้นๆ
จะสามารถอยู่รอดได้หรือยัง เนื่องจากในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา พวกเขาก็เจ็บหนักทีเดียว"
สำหรับตัวเลขที่ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและ ECR Thailand ได้ประมาณ การไว้ว่า
หากผู้ประกอบการทั้งหลายในประเทศไทยปฏิบัติตามแนวคิด ECR จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณ
7.7% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายมูลค่า 38,000 ล้านบาท จากต้นทุนเฉลี่ยที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ
27% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมถึงมูลค่าแฝงของยอดขายที่คาดว่าจะสูงขึ้น
เมื่อเอาแนวคิดนี้มาปฏิบัติใช้จริง และตัวเลข 7.7% นี้เองที่ทางวินสโตร์และพันธมิตรต้องการให้เกิดกับลูกค้าทุกรายที่เข้ามาใช้บริการ
ส่วนรายได้ของวินสโตร์จะมาจากค่าบริการจากร้านค้าปลีก ร้านค้าสะดวกซื้อที่ใช้บริการ
ผ่านระบบเครือข่ายของวินสโตร์ ส่วนฝั่งของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย วินสโตร์จะไม่คิดค่าบริการ
แต่วินสโตร์จะได้เป็นส่วนลดค่าสินค้า ซึ่งตัวเลขในส่วนนี้ทางผู้บริหารของวินสโตร์ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
"เก็บมากเก็บน้อยไม่ใช่สาระที่สำคัญ แต่สำคัญที่เราต้องลดต้นทุนในส่วน
27% ให้ได้มากที่สุดสมมติสินค้า 100 บาท จะมีต้นทุนในกระบวนการจัดส่งสินค้าประมาณ
27 บาท ซึ่งหากนำกระบวนการ ECR เข้ามาใช้แล้ว จะทำให้ต้นทุนในส่วนนี้ลดลงไปได้
7.7 บาท ซึ่งค่าบริการของวินสโตร์และพันธมิตร ก็เก็บจากตรงนี้เอง ซึ่งหากสามารถทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงไปได้อีก
ก็หมายถึงค่าธรรมเนียมมากขึ้น แต่หากไม่สามารถประหยัดได้จริง วินสโตร์และพันธมิตรก็ต้องยอมเจ็บตัว"
ปรีชาชี้แจง
วางแผนก้าวสู่ภูมิภาค
นอกจากกลุ่มเป้าหมายร้านค้าสะดวกซื้อภายในประเทศแล้ว วินสโตร์และพันธมิตรยังมองไกลไปถึงตลาดเพื่อนบ้านด้วยอาทิ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้เริ่มมีการพูดถึงเรื่องของ
Supply Chain Management กันบ้างแล้ว เนื่องจากศักยภาพของพันธมิตรของวินสโตร
์ล้วนแต่เป็นรายใหญ่ระดับโลก ที่มีเครือข่ายทั่วภูมิภาคกันทั้งนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องมุ่งเน้นตลาดในเมืองไทยให้แข็งแกร่งก่อน
จึงจะรุกออกไปสู่ภูมิภาค
"ผมว่าภายใน 2 ปีเราจะสามารถ ขยายบริการไปสู่ภูมิภาคได้จากเครือข่ายพันธมิตรของเราที่มีอยู่
และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถสื่อสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว"
ปรีชากล่าว
นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้หลังจากที่วินสโตร์
สามารถให้บริการแก่ร้านค้าสะดวกซื้อได้ภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า วินสโตร์
จะสามารถมีบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก ภายใต้กระบวนการ E-Business อาทิ การซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์
เน็ต, แค็ตตาล็อกสินค้าบนเว็บ และการให้เช่าพื้นที่ขายสินค้าบนเว็บ เป็นต้น
"ลักษณะที่เราทำอยู่ในตอนต้นนี้เป็นการค้าอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะธุรกิจกับธุรกิจ
(B-B) แต่ในอนาคตเราจะไปถึงตัวผู้บริโภค (B-C) ด้วย" ปรีชากล่าว
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นปัจจุบัน ของวินสโตร์ ประกอบด้วยกลุ่ม
พิสุทธิ์-ปรีชา รวมกัน 40% และกลุ่มของพงศธร-โอสถานุเคราะห์ 60% ภายใต้ทุนจดทะเบียน
1 ล้านบาท และมีแผนที่จะเพิ่มทุนเป็น 50 ล้านบาท ภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งในอนาคตปรีชาเผยว่าอาจจะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นอีกครั้ง
ซึ่งอาจจะทำให้มีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาเพิ่มอีก