สุภัทร ตันสสถิติการเขากลับมา "ใหญ่" ที่สีไอซีไอ


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

วันที่ 2 กรฏาคม ที่ผานมา เป็นวันแรกที่สุภัทร ตันสถิติกร กลับเข้าเริ่มงานในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท สีไอซีไอ ( จำกัด)

สุทรถูกทางทามจากผู้บริหารระดับสูงของไอซีไอ พีแอล ซึ่'เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มไอซีไอที่อังกฤษ โดยผ่านมาทางบริษัทอีสต์เอเซียติกส์ (ประเทศไทย) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุกิรจผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ของอีสต์เอเซียติกส์ ดูแลฝ่ายสีไอซีไอ ฝ่ายเวชภัณฑ์ ฝ่ายสินค้าสินค้าอุปโภค บริโภค และโครงการลงทุนของบริษัทและบางโครงการนอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทดูเม็กซ์อีกด้วย

นโยบายหลักประการหนึ่งของไอซีไอ คือต้องการเป็นบริษัทจริง ๆ เนื่องจากไอซีไอ มีธุรกิจค้าขายกว่า 150 ประเทศ และมีโรงงานในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เพราะฉะนั้น จึงต้องการได้คนที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจหลาย ๆ ประเทศ มาบริหารธุรกิจ ดังนั้นไอซีไอ จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ทุกระดับเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นระดับกลางและสูงให้ทำงานในธุรกิจหลากหลายของไอซีไอ หรือไปทำงานใจต่างประเทศ เพื่อสะสมประสบการณ์การทำงาน และกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในการบริหารธุรกิจของไอซีไอทั่วทุกภุมิภาคของโลก

โดยเฉพาะระยะหลังไอซีไอได้วางนโยบายที่จะบุกลงทุนในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกที่ต้องการให้คน

ท้องถิ่นในแต่ละประเทศได้มีบทบาทและอำนาจในการบริหารธุรกิจของไอซีไอ ในประเทศนั้น ๆ อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะไอซีไอเชื่อว่าคนในแต่ละประเทศย่อมเข้าใจถึงการดำเนินธุรกิจ วิธีปฏิบัติ ธรรมเนียมการค้าความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดีและใกล้ชิดกว่าชาวต่างชาตซึ่งมา

หลังทีและนโยบายนี้ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากบอร์ดใหญ่ของบริษัทแม่ที่อังกฤษเมื่อปีที่หลัง ไอซีไอ ยื่นข้อสนอให้สุภัทรไปรับงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทสีไอซีไอ( สิงคโปร์) จึงเป็นเรื่องที่อีสต์เอเซียติกส์ จะต้องเสียสละเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงให้ไปช่วยกิจการของไอซีไอบ้างในฐานะที่เป็นธุรกิจร่วมทุนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ( ซึ่งปกติแล้วที่ผ่านมาไอซีไอ จะเป็นผู้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงให้ไปช่วยกิจการของไอซีไอบ้างในฐานะเป็นนักธุรกิจร่วมทุนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ( ซึ่งปกติแล้วที่ผ่านมา ไอซีไอจะเป็นผู้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมช่วยงานด้านบริหารให้กับกิจการร่วมทุน)

สุภัทร ถูกไอซีไอ จับตามอง มราตลอด ในฐานะผู้บริหารที่ดูแลสินค้าในกลุ่มของไอซีไอ และอาจจะเป็นผลงานชิ้นสำคัญนี้ก็ได้ที่ทำให้ไอซีไอตัดสินใจเลือกสุภัทร นั่นคือความพยายามของสุภัทรในการเจรจา เพื่อรวมเอาฝ่ายการตลาด ซึ่งอยู่กับอีสต์เอเซียติกส์เข้าอยู่กับบริษัทไอซีไอ กระทั่งเป็นผลสำเร็จจนเกิดการร่วมทุนกันขึ้นระหว่างการร่วมทุนกันขึ้นระหว่างไอซีไอ กับอีสต์เอเซียติกส์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2530 โดยมีอัตราส่วนผู้ถือหุ้น 3 ต่อ 1 ซึ่งสุภัทรใช้เวลาในการเจรจาผลได้ผลเสียของการรวมกันครั้งนี้ อยู่นานถึง 4 ปี

1 ตุลาคม 2530 เป็นวันที่ สุภทร เดินทางไปรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทไอซีไอ
2
( สิงคโปร์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ที่ ไอซีไอ พีแอลซี ของอังกฤษ ถือหุ้น 100 % และตั้งนานถึง 20 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัท คัลเลอร์ ปริ้นเตอร์ สเปเชี่ยล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตแคตาล็อก สีรายใหญ่ของสิงคโปร์ ที่ส่งขายทั่วโลก และอยุ่ในเครือของไอซีไอ

ที่สิงคโปร์สุภัทร ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี ในฐานะคนที่มีประสบการร์มาแล้ว แต่มีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้และแก้ไข อย่างหนึ่งคือระบบการจัดจำหน่าย ที่สิงคโปร์ใช้ระบบการขายส่งผ่านยี่ปั้ว ซึ่งมีไม่ถึง 100 ราย ในขณะที่ เมืองไทยขยายโดยตรงให้กับซาปั๊ว เป็น 1,000 ราย ทำให้บางครั้งไม่สามารถขยายตลาดได้ อย่างที่บริษัมต้องการได้ เพราะยี่ปั๊วมีแรงจำกัด

การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ คือต้องทำงานใกล้ชิดกับยี่ปั๊ว มากขึ้น ( สีทาบ้าน, สีพ่นรถยนต์) ในขณะเดียวกัน สีอุตสาหกรรมที่ขายโดยตรงก็ต้องใกล้ชิดกับลูกค้าในลักษณะหุ้นส่วน

อีกเรื่องที่เผชิญคือ ปัญหาแรงงานขาดแคลน ค่าแรงงานสูงถ้าเทียบแล้วกว่าไทย 3 เท่าตัว คนสิงคโปร์เลือกงาน หากเป็นโรงงานที่ร้อนต้องใช้แรงงานส่วนใหญ่ในโรงงานจึงเป็นแรงงานจากภายนอกประเทศ

และถ้าจะพูดถึงตลาดสีแล้วสีที่สิงคโปร์ เล็กกว่าเมืองไทยมาก การเติบโตก็ช้ากว่า เนื่องจากสิงคโปร์เป็นเกาะเล็กมีประชากร 2.7 ล้านคน เท่านั้น การเติบโตของตลาดสีอย่างมากไม่เกิน 3% และที่โตอยู่ได้ เป็นเพราะรัฐบาลสิงคโปร์ก็มีนโยบายรักษาบ้านเมืองให้สวยงามสะอาดตลอดเวลา จึงมีการบำรุงรักษาอย่างเข้มงวด เช่น ทุก 3 , 5 หรือ 6 ปี ต้องมีการทาสีใหม่ ส่วนเรื่อกงารแข่งขันในตลาดรุนแรงมาก เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าสิงคโปร์ไม่ต้องเสียภาษีจึคงมีสีจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขัน

จำนวนมาก แต่ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสิงคโปร์คือธุรกิจส่วนใหญ่และคนที่นั่นเบนเข็มไปทางด้าน

การส่งออก โรงงานทั่วไปของสิงคโปร์ทำขึ้นมาแล้ว ขายในตลาดสิงคโปร์ทำขึ้นมาแล้ว ขายในตลาดสิงคโปร์เพียง 10% ที่เหลือ 90 % ส่งออก ให้มีการตื่นตัวทางด้านการผลิต วิธีการตื่นตัวทางด้านการผลิต วิธีการผลิตและเทคโนโลยีในตลาดการส่งออกมา เช่นเดี่ยวกับโรงงานสีของไอซีไอสิงคโปร์ ที่การผลิตส่วนหนึ่ง เพื่อการส่งออก โดยมีตลาดหลักอยู่ที่บรูไน ฮ่องกง จีนแดง นอกจากนั้น ประเทศใดต้องการซื้อก็ส่งออกหมด

และที่สิงคโปร์นี่เอง ที่สุภัทร ได้เรียนรู้และได้สัมผัสระบบการผลิตอย่างใกล้ชิดในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ต้อง เข้าไาปควบคุมทางด้านการผลิตด้วย แตกต่างจากที่อยู่ อิสตเอเชียติ๊ก ที่คุมเฉพาะฝ่ายการตลาดเท่านั้น และการที่ถูกส่งไปตลาดที่ไม่รู้จัก ไม่รู้เรื่องอะไรมาก่อนเลย ทำให้สุภัทร มั่นใจว่า นั่นคือบททดสอบถ้าสามารถทำได้ก็ผ่านการทดสอบ

ผลงานในช่วง 2 ปีเศษ ที่สุภัทร ไปบริหารในงานนั้น ปี แรก ( 2531) สามารถเพิ่มยอดขายได้ประมาณ 25% และเพิ่มกำไรให้บริษัทกว่า 50% ปี 2532 เพิ่มยอดขายอีก 17% และกำไรเพิ่มกว่า 30% จากการเติบโตของบริษัท โดยปกติจะตกประมาณ 7-8 % ( ตลาดสีของไอซีไอ ในสิงคโปร์ มีมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท ในขณะที่เมืองไทย อยู่ในราว 800 บาท)

เมื่อครบกำหนดสัญญา 3 ปี พร้อมกับการไปพิสูจน์ฝีมือให้ผู้บริหารของไอซีไอ เห็นสุภัทร จึงได้รับอนุมัติให้กลับมาบริหารกิจการของบริษัทไอซีไอ ( ประเทศไทย) นตำแหน่งกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่อยู่ในตำแหน่งนี้และเป็นผู้บริหารไทยคนแรก

ในกลุ่มธุรกิจของไอซีไอ

บทบาทในฐานะของกรรมการผู้จัดการสนอกเหนือจากการผลิตให้เติบโตตามเป้าหมายที่

ตกลงกันไว้แล้ว ยังมีความรับผิดชอบอีก 2 ประการ ที่กรรมการผู้จดัการของไอซีไอ ทุกแห่งในโลกต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ 100% นั่นคือเรื่องของ she กับเรื่องของคุณภาพ

S=safety ความปลอดภัยของพนักงาน ของผู้ใช้สินค้าและบริการของไอซีไอ

H=health สุขอานามัยของพนักงาน ของผ้ใช้สินค้าของไอซีไอ

E=Enviroment ต้องพยายามช่วยกันรักษาดุลธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมให้ปราสจากมลภาวะเป็นพิษ

ไอซีไอ ตั้งกฏไว้ว่าให้กรรมการผู้จัดการ ของไอซีไอ ทุกแห่งยึดปฏิบัติมาตรฐานของ ห้ำ ที่สูงบที่สุดที่ไอซีไอ กำหนดไว้เป็นมาตรฐานทั่วโลก หรือ ถ้ามีกฎหมาย หรือกฎเกณท์ ของประเทศที่ไอซีไอ ดำเนินธุรกิจอยู่ระบุไว้สูบกว่าของไอซีไอ ให้ใช้อันที่สูงกว่า แต่เท่าที่ปรกกฏมายังไม่มีใครสูงกว่าของไอซีไอ เลย

ทางด้านคุณภาพทำอย่างไรให้บริษัทสามารถผลิตและให้บริการสินค้าที่ลูกค้าต้องการอย่างมีคุณภาพ

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ที่สุภัทรา จะต้องถือปฏิบัติและพิสูจน์ให้เห็นฝีมืออีกครั้งหนึ่ง ที่ประเทศไทยนี้

แผนงานที่สุภัทรได้เตรียมไว้ในการเข้ามาบริหารงานจากนี้ตอ่ไปคือ ต้องการปรับคววมร่วมมือในการทำงานเป็นทีมภายในของบริษัทฯ ให้เน้น และจะขยายกำลังการผลิตให้ทันกับการเจริญเติบโตขอธุรกิจของบริษัท ในขณะเดียวกัน ก็มุ่งขยายตลาดให้กว้างไกลออกไปโดยมีเป้าหมายว่าจะต้องพยายามมุ่งไปสู่การเป็นอันดับหนึ่งให้

ได้ภายใน 10 ปี ( ค.ศ. 2000)

" การตั้งเป้าหมายไว้นาน ถึง 10 ปีเพราะการที่จะขึ้นมาสู่อันดับหนึ่งเพราะไอซีไอ ไม่ใช่เรื่องง่าย นโยบายของไอซีไอไม่เหมือนกับบริษัทอื่น คือ โตแต่ต้องกำไรด้วย ถ้าต้องการจะโตแต่ไม่เอากำไรก็อาจจะทำได้เร็ว อีกอย่างหนึ่ง คือ ไอซีไอ ต้องการทำตัวเป็นนิติบุคคลที่ดีของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ บางครั้งอาจจะทำให้บริษัทฯ เสียเปรียบ" สุภัทร อธิบายเพิ่มเติมให้ฟัง

ซึ่งการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายได้นั้น ขึ้นอยู่กับแนวความคิดหรือปรัชญาในการบริหารซึ่งสุภัทรบอกว่ามันใช้ได้ผลมาแล้ว นั่นก็คือเรื่องของการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ …พยายามสร้างให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ดี และทำอย่างไรที่จะพัฒนาให้พนักงานทุกคน ก้าวหน้าและเก่งกว่าเดิม



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.